เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์

เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์

DITP กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัว “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP สู่ตลาดสากล” ปีที่ 8 จับมิอ 8 นักออกแบบแนวหน้ ลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย พร้อมชูกลยุทธ์ Soft Power ดันอัตลักษณ์ท้องถิ่นไทย ให้โดนใจตลาดโลก

ข้อมูลจาก Frost & Sullivan ระบุว่าภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกสินค้าไลฟ์สไตล์ในประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า (2564-2569) คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับ 20.4% ต่อปี ตามทิศทางเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากปัจจัยจากการเปิดให้บริการของศูนย์การค้า  โรงเรียนและสถานที่ทำงานอย่างเต็มรูปแบบ

รวมถึงภาคการท่องเที่ยวซึ่งปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทยอยกลับมาเที่ยวที่ประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (Economic Sentiment) กำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยบวกแก่ตลาดค้าปลีกสินค้าไลฟ์สไตล์ได้รับผลประโยชน์จากปัจจัยและกลไกสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวไปด้วย รวมถึงการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ที่ส่งผลให้กำลังซื้อของชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นอีกด้วย

เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

พาณิชย์ เร่งปั้นผู้ส่งออกท้องถิ่นรุ่นใหม่เสริมทัพการค้าระหว่างประเทศ

ผลสำรวจชี้ 'ผู้บริโภคไทย' ฮิตใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คซื้อ ‘สินค้าความงาม’

ธุรกิจโรงภาพยนตร์ช้ำ - โควิด-19 เปลี่ยนวิถีผู้บริโภค

 

พัฒนาส่งเสริมการตลาดสินค้าโอท็อป สู่ตลาดสากล ปีที่ 8

วันนี้ (21 ก.พ.2566 )สำนักงานส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) ได้จัดกิจกรรมสัมมนา “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP สู่ตลาดสากล ปีที่ 8” 

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์(DITP) กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อป เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากจุดเด่นด้านอัตลักษณ์ ฝีมือ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

โดยเป็นหนึ่งใน Soft power ที่ช่วยสร้างทัศนคติ  และภาพลักษณ์ที่ดีแก่สินค้าและธุรกิจบริการของไทย อย่างไรก็ดี ในการยกระดับสู่การค้าระหว่างประเทศ ยังมีความจำเป็นต้องพัฒนาสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่าง ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ และเทรนด์โลก โดยเฉพาะ BCG รวมถึงพัฒนาศักยภาพ เชิงธุรกิจผู้ประกอบการ

เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์

“กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินโครงการ OTOP Premium Go Inter มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าโอท็อปอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการสร้างโอกาสทางการค้าอย่างเป็นระบบ โดโครงการในปีที่ 8 นี้ มีความพิเศษกว่าทุกครั้ง ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาแบบ customized ที่เจาะลึกและเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมีชื่อเสียงระดับสากล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ และยกระดับศักยภาพทางธุรกิจ” นายภูสิต กล่าว

เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์

 

ต่อยอดพัฒนาสินค้าโอท็อป บ่มเพาะผู้ประกอบการ

นางนิศาบุษป์ วีรบุตร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์  กล่าวเสวนา “เป้าหมายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการดำเนินโครงการ” ว่าโครงการดังกล่าวมีการจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เข้าสู่ปีที่ 8 ซึ่งมีความพิเศษกว่าทุกๆปี เพราะนอกจากเป็นการปรับปรง พัฒนาจากปีที่ผ่านมาให้ดีขึ้นกว่าเดิมแล้ว ยังเป็นการต่อยอดเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าโอท็อป ซึ่งมีอัตลักษณ์ มีคุณค่าให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เป็นตลาดนำการผลิต หรือตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

“สินค้าโอท็อป มีกลุ่มลูกค้า ผู้ซื้อเป้าหมายอยู่แล้ว เพียงแต่การที่ผู้ประกอบการโอท็อปได้มาเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มเติมลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงมากขึ้น โดยเป็นการนำอัตลักษณ์ สินค้ามาต่อยด ปรับให้เข้าไลฟ์สไตล์ เทรนด์ แฟชั่น ความต้องการของลูกค้าทั้งในเมืองและชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า รวมถึงพัฒนา บ่มเพาะผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปให้มีศักยภาพ มีความโดดเด่น และได้ 8 นักออกแบบมาร่วมออกแบบ สร้างสรรค์ให้โดดเด่น น่าสนใจ และเป็นการสร้างเครือข่ายในการผลิต ทำให้สินค้าโอท็อปไทยก้าวสู่สินค้าพรีเมียมระดับสากลมากขึ้น” นางนิศาบุษป์ กล่าว

ผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปไทยมีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญ และผลิตสินค้าได้อย่างสวยงาม เพียงแต่ยังขาดทักษะในบางเรื่องที่ต้องมีการเตรียมพร้อม พัฒนาให้สามารถผลิตสินค้าตอบโจทย์ลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น และส่งออกไปยังต่างประเทศได้

เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์

4 ขาดที่ผู้ประกอบการโอท็อปต้องเติม

นางนิศาบุษป์ กล่าวต่อว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปยังขาดนั้น จะมี 4 ประเด็นสำคัญ คือ

1.ขาดการเตรียมพร้อมข้อมูลในการนำเสนอสินค้าโอท็อป หรือไม่มีข้อมูลด้านการตลาด ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการกลุ่มเป้าหมายอย่างไร

2.ขาดความรู้ในการทำตลาด

3. ขาดนักออกแบบ ซึ่งจริงๆ มีนักออกแบบจำนวนมากแต่ไม่ได้มีจับคู่หรือยังมีจุดอ่อนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยังไม่มีเทคนิคการทำงาน 

4. ขาดความตั้งใจจริง และมุ่งมั่น เพราะบางครั้งการผลิตสินค้าโอท็อปมีเพียง 2 คนทั้งที่ความต้องการสินค้านั้นมีจำนวนมาก ทำให้หลายครั้งที่ผู้ประกอบการก็ไม่ได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตสินค้านั้นจริงๆ เมื่อมีผู้ต้องการขายแต่กลับไม่มีสินค้า

ทั้งนี้ โครงการในปีที่ 8 นี้ ได้ทำงานร่วมกับ 8 นักออกแบบ ได้แก่ ยุทธนา อโนทัยสินทวี  นักออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์ เจ้าของธุรกิจ Upcycling แบรนด์ The ReMaker , ธีระ ฉันทสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์  เสื้อผ้า ผ้าทอและผ้าบาติกร่วมสมัย  

เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์

ดร.กรกต อารมย์ดี Creative Director เจ้าของแบรนด์ Korakot ศิลปินศิลปาธร สาขาออกแบบ ปี 60 ,ศุภชัย แกล้วทนงค์ เจ้าของแบรนด์ TIMA ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ Designer of the Year สาขา Product Design ,เอก ทองประเสริฐ แฟชั่นดีไซเนอร์และสถาปนิกชั้นนำระดับสากล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ EkThongprasert  Sculpture Studio

ศรัณย์ เย็นปัญญา Designer และ Artistic Director แบรนด์ 56th นักออกแบบผลิตภัณฑ์ระดับแนวหน้าที่ใช้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์ระดับสากล ,วลงค์กร เทียนเพิ่มพูน เจ้าของแบรนด์ PATAPIAN ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติสู่สินค้าไลฟ์สไตล์  และปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ นักออกแบบสิ่งทอและศิลปินระดับสากล เจ้าของแบรนด์ Patipat Design Studio และ Designer of the Year สาขา Textile and Fabric Design

เติมทักษะผู้ประกอบการโอท็อปขยายสู่ตลาดสากล

ดร.กรกต อารมย์ดี Creative Director เจ้าของแบรนด์ Korakot ศิลปินศิลปาธร สาขาออกแบบ ปี 60 กล่าวว่าเราเป็นนักออกแบบที่ได้ทำงานเกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน และได้รับการติดต่อทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในการเข้ามาช่วยพัฒนาสินค้าโอท็อปให้แก่ผู้ประกอบการและชาวบ้าน ในโครงการดังกล่าว ซึ่งเรามีตลาดต่างประเทศ มีทักษะ มีความเป็นช่างฝีมือ หรือช่างคราฟ ที่ทำงานด้านการออกแบบ พัฒนาวัสดุท้องถิ่นอยู่แล้ว เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงเพิ่มขีดความสามารถโอท็อปของไทย

“เราอยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสินค้าโอท็อปให้มีมูลค่า และเข้าสู่ตลาดสากลได้มากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการสินค้าโอท็อป ชาวบ้านที่ทำงานโอท็อป จะต้องปรับตัว ประยุกต์ พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยยังคงรักษาอนุรักษ์ความดั่งเดิม แต่ต้องมีส่วนหนึ่งที่ออกแบบสร้างสรรค์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าในหลากหลายกลุ่ม และลูกค้าต่างชาติมากขึ้น” ดร.กรกต กล่าว

โครงการดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้น และการสร้างเครือข่าย ขณะเดียวกันนักออกแบบที่ทำงานสู่ตลาดสากลได้ให้คำแนะนำ หรือสนับสนุนให้ผู้ประกอบการโอท็อป สินค้าโอท็อปเข้าสู่ตลาดสากล อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่สินค้าโอท็อป ให้ผู้ประกอบการมีรายได้ตลอดสัปดาห์ ตลอดเดือน ตลอดปี ไม่ใช่มีเพียงการขายอยู่ในตลาดใดตลาดหนึ่ง ต้องมีการขยายตลาดมากขึ้น

เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์

การดำเนินโครงการต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 8 นั้น มีผู้เข้าร่วมโครงการมามากกว่า 3,000 ราย ได้ผ่านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเชิงลึกกว่า 300 ราย และสร้างสรรค์สินค้าต้นแบบใหม่มากกว่า 1,200 รายการ ช่วยพัฒนาและยกระดับสินค้า OTOP ให้มีมูลค่าเพิ่มและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น ในปี 2566 นี้ โครงการดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการโอท็อป อาทิ กิจกรรม Mini Trade Show กิจกรรมการเจรจาธุรกิจกับคู่ค้า และพิเศษการมอบรางวัล Premium Star Awards ชิงโล่และเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท

หลังจากการเปิดตัวโครงการ OTOP Premium Go Inter by DITP ปีที่ 8 ในวันนี้ ณ กรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการที่สนใจในส่วนภูมิภาค สามารถสมัครเข้าร่วมอบรมสัมมนาและร่วมรับการคัดเลือกได้ในอีก 5 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ 

  • จ.นครศรีธรรมราช : วันที่  3  มีนาคม  2566   โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน นครศรีธรรมราช
  • จ.อุดรธานี :  วันที่ 10 มีนาคม  2566   โรงแรม เดอ ปริ้นเซส โฮเทล 
  • จ.อุบลราชธานี : วันที่ 13 มีนาคม  2566   โรงแรมเซ็นทารา อุบลราชธานี
  • จ.น่าน : วันที่ 29 มีนาคม  2566   โรงแรมน่านบูติค รีสอร์ท
  • จ.เชียงใหม่ : วันที่ 31 มีนาคม  2566   โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่

เจาะตลาดโอท็อป สู่ตลาดพรีเมียมโกอินเตอร์