ปศุสัตว์ ตั้ง การ์ดขั้นสูงสุด ป้อง ‘ไข้หวัดนก’ ข้ามแดน

ปศุสัตว์ ตั้ง การ์ดขั้นสูงสุด ป้อง ‘ไข้หวัดนก’ ข้ามแดน

“ปศุสัตว์”ยกระดับมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนกตามแนวชายแดนขั้นสูงสุด หลังพบผู้ป่วยในกัมพูชา พร้อมชะลอการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์ปีก เตือนเกษตรกรเข้มความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์มป้องกันโรค

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า  แม้ไทยยังไม่มีการระบาดของไข้หวัดนก แต่จากที่ กระทรวงสาธารณสุขกัมพูชาออกแถลงการณ์ยืนยันการตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิด A สายพันธุ์ H5N1 โดยผู้ป่วยและเสียชีวิตเป็นเด็กหญิงวัย 11 ปี จำนวน 1 รายนั้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะระบาดมาถึงไทยได้ เนื่องจากระหว่างไทยและกัมพูชามีพรมแดนติดกัน

ปศุสัตว์ ตั้ง การ์ดขั้นสูงสุด ป้อง ‘ไข้หวัดนก’ ข้ามแดน

ปศุสัตว์ ตั้ง การ์ดขั้นสูงสุด ป้อง ‘ไข้หวัดนก’ ข้ามแดน ปศุสัตว์ ตั้ง การ์ดขั้นสูงสุด ป้อง ‘ไข้หวัดนก’ ข้ามแดน ปศุสัตว์ ตั้ง การ์ดขั้นสูงสุด ป้อง ‘ไข้หวัดนก’ ข้ามแดน

    ดังนั้นกรมปศุสัตว์จึง ได้สั่งการเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังโรคสัตว์ปีกตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวด   โดยได้เตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังและป้องกัน ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกอย่างใกล้ชิด สุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกในพื้นที่เสี่ยงเช่น พื้นที่ตามแนวชายแดน พื้นที่นกอพยพ พื้นที่นกวางไข่ พื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกหนาแน่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังเข้มงวดการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ปีกภายในประเทศ รวมถึงให้ชะลอการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์ปีกจากประเทศที่เกิดโรคไข้หวัดนก

สำหรับการเลี้ยงสัตว์ปีกในระบบฟาร์ม ให้เข้มงวดความปลอดภัยทางชีวภาพขั้นสูงสุดเช่น การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือนและบริเวณโดยรอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มต้องรักษาระบบความปลอดภัยภายในฟาร์ม ควบคุมการเข้า-ออกฟาร์ม ให้ฉีดพ่นยานพาหนะทุกคัน เป็นต้น รณรงค์ทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ตลอดจนผลักดันระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกให้เข้าระบบมาตรฐาน GAP หรือ GFM รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

“เมื่อมีรายงานการพบโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน กรมปศุสัตว์จึงยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างเข้มงวด พร้อมขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสังเกตอาการสัตว์อย่างใกล้ชิด หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ อย่านำสัตว์ปีกไปจำหน่ายจ่ายแจก หรือนำไปประกอบอาหารโดยเด็ดขาด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ลงพื้นที่ตรวจสอบและดำเนินมาตรการควบคุมโรคทันที” 

นายวิบูลย์ ศรีมั่นคงธรรม หัวหน้าด่านกักกันสัตว์สระแก้ว และ หัวหน้ากลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่ 2 ภาคตะวันออก  กล่าวว่า  ด่านกักกันสัตว์สระแก้วได้ยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้หวัดนกขั้นสูงสุด  ในการสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าสัตว์ปีกมีชีวิตหรือซากสัตว์ปีกเข้าประเทศ เข้มงวดการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะทุกชนิดที่ผ่านเข้า - ออกระหว่างประเทศ รวมถึงตรวจค้นสัมภาระที่นำเข้าประทศอาจซุกซ่อนนำผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกเข้ามาตลอดแนวชายแดนจังหวัดสระแก้วที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา

ทั้งนี้ประเทศไทยพบการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 และสามารถกำจัดโรคนี้ให้หมดจากประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย- ตาย 68%  ถือว่ารุนแรงมาก ณ ปัจจุบันยืนยันประเทศไทยปลอดจากโรคไข้หวัดนก จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงพบว่าโรคไข้หวัดนกจะแพร่ระบาดเข้ามาในประทศไทยได้จากการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกรวมถึงยานพาหนะที่ผ่านเข้าออกตามแนวชายแดนระหว่างประเทศ

ด่านกักกันสัตว์สระแก้วได้เข้มงวดมาตรการ เฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้หวัดนก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้

1. พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะทุกชนิดที่ผ่านเข้า - ออก ตามแนวชายแดน,

2.ตรวจคันสัมภาระของผู้เดินทางเข้าประเทศ ป้องกันการลักลอบนำผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกเข้าประเทศ

3. บูรณาการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงานตลอดแนวชายแดน เฝ้าระวังป้องกันโรคไข้หวัดนก

4. ตั้งจุดตรวจควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ (ภายในจังหวัด 4 จุด/จุดผ่านแดน 5 จุด)

5. แลกเปลี่ยนข้อมูลหาข่าวร่วมกับเจ้าหน้าที่ตามแนวชายแดน,

6. บูรณาการร่วมกับอำเภอชายแดนพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจุดเสี่ยงตามแนวชายแดน

7. จัดขุดเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็วลาดตระเวนตามแนวชายแดน ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคง

8. ป้องกันการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์,และ

9. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์พร้อมบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน กรณีพบการระบาดของโรคไข้หวัดนก

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้าน  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สคบ.) กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร. 063-225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application : DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา