สทนช.เอ็มโอยู 4 กระทรวง ผนึกเทคโนโลยี-นวัตกรรมเพิ่มขีดความสามารถจัดการน้ำ

สทนช.เอ็มโอยู 4 กระทรวง ผนึกเทคโนโลยี-นวัตกรรมเพิ่มขีดความสามารถจัดการน้ำ

สทนช. จับมือ 4 กระทรวง 7 หน่วยงาน ลงนามเอ็มโอยูร่วมกันบูรณาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูมิสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ

ดร.สุรสีห์  กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลัง ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ  ร่วมกับ 7 กระทรวงพร้อม บรรยายพิเศษ  ในหัวข้อ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยอย่างยั่งยืน ว่า 

 

สทนช.เอ็มโอยู 4 กระทรวง ผนึกเทคโนโลยี-นวัตกรรมเพิ่มขีดความสามารถจัดการน้ำ

การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

จัดขึ้นเพื่อพัฒนา ส่งเสริมและประยุกต์ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูมิสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับบาทบาทและภารกิจของหน่วยงาน พร้อมทั้งร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากร เสริมสร้าง การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภูมิสารสนเทศในด้านการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง และให้ประชนทั่วไปทุกพื้นที่ของประเทศสามารถเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ

ทั้งนี้  สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลัก ในการบูรณาการบริหารทรัพยากรน้ำ ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรภาคีกว่า 40 หน่วยงาน โดยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับสภาพปัจจุบันและแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแสวงหาความร่วมมือ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบด้านน้ำที่อาจเกิดขึ้น

“การร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภูมิสารสนเทศร่วมกับอีก 4 กระทรวง 7 หน่วยงาน ในครั้งนี้ ทุกฝ่ายจะได้ร่วมกันพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูมิสารสนเทศ ภาพถ่ายดาวเทียม งานวิจัย และข้อมูลทางวิชาการ เพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ และบริหารจัดการน้ำสำหรับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญ ซึ่งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจะประสบผลสำเร็จได้ ต้องอาศัยพลังความร่วมมือที่มีศักยภาพของทุกภาคส่วน และเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำ เครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำ และประชาชน ซึ่งเป็นเป้าหมายขยายผลการเสริมศักยภาพความเข้าใจและเข้าถึงข้อมูล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ เครือข่ายที่มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำต่อไป”