2 เดือนแรก ปี 66 ไทยส่งออกลดลง 4.6 % ขาดดุลการค้ากว่า 5.7 พันล้านดอลลาร์
กระทรวงพาณิชย์ ระบุ2 เดือนแรกปี 66ไทยส่งออก 42,625.8 ล้านดอลลาร์ ลดลง 4.6 % ขาดดุลกว่า 5.7 พันล้านดอลลาร์ เหตุภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าย่ำแย่ ผจญภาวะเงินเฟ้อ แต่ยังหวังครึ่งปีหลังจะดีขึ้นทำการส่งออกทั้งปีขยายตัว
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนก.พ. 2566 มีมูลค่า 22,376.3 ล้านดอลลาร์ หรือ 730,123 ล้านบาท
หดตัว 4.7% ไม่รวมน้ำมัน สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ที่หดตัวเพียง 0.05% เนื่องจากฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว กระทบต่อความต้องการสินค้า โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงหดตัว รวมทั้งสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน โดยเฉพาะเม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ และทองคำ มีการปรับลดลงจากปัจจัยราคาเป็นหลัก
อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาขยายตัวในรอบ 5 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนต่อการส่งออกสูงยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ และเครื่องปรับอากาศ แม้ว่าการส่งออกไปตลาดหลัก คือ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ยังคงหดตัว แต่การส่งออกไปตลาดเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญในปี 2566 เติบโตดี โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลาง และอินเดีย อีกทั้งการส่งออกไปฮ่องกงที่เป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย กลับมาขยายตัวในรอบ 10 เดือน ทั้งนี้ การส่งออกไทย 2 เดือนแรก หดตัว 4.6% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 1.4%
มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์ เดือนก.พ. 2566 การส่งออก มีมูลค่า 22,376.3 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,489.7 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 1.1% ดุลการค้า ขาดดุล 1,113.4 ล้านดอลลาร์ ภาพรวม 2 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 42,625.8 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.6 %เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 48,388.8 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 3.3% ดุลการค้า 2 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 5,763.1 ล้านดอลลาร์
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนก.พ. 2566 การส่งออก มีมูลค่า 730,123 ล้านบาท หดตัว 5.3% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 776,425 ล้านบาท ขยายตัว 0.5% ดุลการค้า ขาดดุล 46,301 ล้านบาท ภาพรวม 2 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 1,430,250 ล้านบาท หดตัว 3.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 1,647,855 ล้านบาท ขยายตัว 5.0% ดุลการค้า 2 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 217,605 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 3.6% (YoY) กลับมาขยายตัว
ในรอบ 5 เดือน โดยเป็นการขยายตัวทั้งหมวดสินค้าเกษตร ขยายตัว 1.5% และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 5.6% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย ขยายตัว 21.4% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน ในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา มาเลเซีย และลาว
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 5.2% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน ในตลาดจีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย เนเธอร์แลนด์ และลาว ข้าว ขยายตัว 7.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ในตลาดอิรัก อินโดนีเซีย เซเนกัล โมซัมบิก และแอฟริกาใต้ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว 95.0% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ฮ่องกง และอินโดนีเซีย
ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว 171.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน ในตลาดอินเดีย เมียนมา เคนยา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัว 61.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน ในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ยางพารา หดตัว 34.0% หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน ในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และตุรกี แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย ไต้หวัน โรมาเนีย และปากีสถาน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัว 9.1% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และอียิปต์ แต่ขยายตัวในตลาดลิเบีย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล และเปรู
อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัว 23.4 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และอิตาลี แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และเกาหลีใต้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัว 23.9% หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย กัมพูชา และเนเธอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดจีน ลาว สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมียนมา และซาอุดีอาระเบีย ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว0.6%
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 6.2% (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน แม้ว่าการส่งออกภาพรวมของหมวดจะหดตัว แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว3.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม อัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ ขยายตัว 81.7% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน ในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฝรั่งเศส
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบฯ ขยายตัว 22.2% กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือน ในตลาดฮ่องกง แอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา จีน และฟิลิปปินส์ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว 15.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน ในตลาดญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัว 60.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย แคนาดา และตุรกี หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัว 39.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมนี เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัว 53.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 24 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัว 20.6% หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินเดีย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ลาว และโอมาน) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัว22.9% หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ มาเลเซีย ไอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และเวียดนาม เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ หดตัว 12.9% หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดจีน เมียนมา ลาว เยอรมนี และสิงคโปร์ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.8
ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกไปยังตลาดสำคัญในภาพรวมส่วนใหญ่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปหลายตลาด อาทิ จีน ญี่ปุ่น และ CLMV หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อน ตลาดตะวันออกกลางขยายตัวดีต่อเนื่อง รวมถึงฮ่องกงที่กลับมาขยายตัว ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 5.9 หดตัวในสหรัฐฯ 9.5% จีน 7.9 %ญี่ปุ่น 2.5% CLMV 4.9% และอาเซียน 6.4% ขณะที่สหภาพยุโรป ขยายตัวต่อเนื่อง 0.1 %
ตลาดรอง ขยายตัว 2.4% โดยขยายตัวในตลาดฮ่องกง 28.6% ตะวันออกกลาง 23.8% และทวีปแอฟริกา 11.2% แต่หดตัวในตลาดเอเชียใต้ 9.4% ทวีปออสเตรเลีย 9.2% ลาตินอเมริกา 4.7% รัสเซียและกลุ่ม CIS 26.0% และสหราชอาณาจักร 3.5% ตลาดอื่น ๆ หดตัว 67.1% อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัว 80.7%
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาภาวะของตลาดแต่ละแห่งจะพบว่า ตลาดสหรัฐฯ ที่หดตัว 9.5% นั้นเป็นการหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 7.2 %
ตลาดจีน หดตัว 7.9% ตัวต่อเนื่อง 9 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และยางพารา เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 9.6%
ตลาดญี่ปุ่น หดตัว 2.5% ต่อเนื่อง 6 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และไก่แปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้
2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 5.9%
ตลาดอาเซียน หดตัว 6.4% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย และข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 2.4
ตลาด CLMV หดตัว 4.9% ตัวต่อเนื่อง 4 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก
อัญมณีและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566
หดตัว 7.9%
ตลาดสหภาพยุโรป ขยายตัว 0.1% ตัวต่อเนื่อง 2 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัว 1.1%
ตลาดเอเชียใต้ หดตัว 9.4% ต่อเนื่อง 7 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 7.0%
ตลาดฮ่องกง ขยายตัว 28.6% กลับมาขยายตัวในรอบ 10 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่
อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ และน้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นต้น ทั้งนี้
2 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัว 0.3%
ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัว 9.2% (หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และอาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 8.2%
ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัว 23.8% ตัวต่อเนื่อง 13 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ข้าว ยางพารา และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัว 23.7%
ตลาดทวีปแอฟริกา ขยายตัว 11.2% ต่อเนื่อง 2 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัว 12.8 %
ตลาดลาตินอเมริกา กลับมาหดตัว 4.7% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 1.9%
ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัว 26.0%ต่อเนื่อง 12 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญ
ที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 36.8%
ตลาดสหราชอาณาจักร หดตัว 3.5% ซึ่งหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัว 0.9%
การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป
การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวก การส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ การผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตร กระทรวงพาณิชย์เดินหน้าทำตลาดข้าวผ่านงานแสดงสินค้านานาชาติ ตั้งเป้าการส่งออกปี 2566 ที่ 7.5 ล้านตัน ด้วยปัจจัยหนุนจากอินเดียและเวียดนามมีนโยบายเก็บสต็อกข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการบริโภคข้าวในอินโดนีเซีย บังกลาเทศ และตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้น
การเดินหน้าสร้างความร่วมมือระดับท้องถิ่น ด้วยการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Mini FTA) ระหว่างไทยและเซินเจิ้น ตั้งเป้าการค้าระหว่างกันอีก 43,000 ล้านบาท
ในปี 2566 - 2567 เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของจีน รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง และมีขนาดเศรษฐกิจเกือบเท่าไทย
การเร่งเปิดเจรจา FTA คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดยหลังจากนี้จะเข้าสู่กระบวนการเปิดการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้นำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนของไทยร่วมประชุมกับฝ่ายยูเออี เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน และเปิดโครงการไทยซุค (Thai Souq) ที่เป็นแหล่งรวมและกระจายสินค้าและบริการของไทยในเมืองดูไบ ทั้งนี้ ยูเออีเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและจะเป็นประตูเข้าสู่การค้าของกลุ่มประเทศอาหรับต่อไป
แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ประเทศคู่ค้าหลักยังคงเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดีคาดว่าช่วงหลังของปี การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงตามแนวโน้มราคาพลังงาน และปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกที่ทยอยคลี่คลาย นอกจากนี้ แรงหนุนจากการเปิดประเทศของจีน และการฟื้นตัวของ
ภาคบริการและการท่องเที่ยวจะช่วยหนุนอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าในระยะต่อไป