ผ่า นโยบาย 5 พรรคสายเปย์เทงบปรับโครงสร้างเกษตร

ผ่า นโยบาย 5 พรรคสายเปย์เทงบปรับโครงสร้างเกษตร

5 พรรคการเมืองวางนโยบายปรับโครงสร้างการเกษตร เปย์เงิน หนุนขยายตลาดนำการผลิต ตั้ง KPIประเมินข้าราชการ ดันจีดีพี โต5-10 % ต่อปี

นายอลงกรณ์ พลบุตร พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยในการ เสวนา ฟังรอบทิศนโยบายภาคการเกษตรของพรรคการเมือง ผ่านสื่อมวลชน ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล ชั้น 1 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ว่า ไตรมาสแรกปีนี้ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร(จีดีพี.เกษตร) โต5.5%สร้างเงินเกือบ2แสนล้านบาทเพราะราคาพืชผลเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี เป็น บทพิสูจน์แล้ว4ปีที่ผ่านมาที่พรรคประชาธิปัตย์ดูแลกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้ยุทธศาสตร์”ตลาดนำการผลิต เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด”

 

ผ่า นโยบาย 5 พรรคสายเปย์เทงบปรับโครงสร้างเกษตร

สามารถสร้างเงินสร้างรายได้ให้ประเทศและเกษตรกรจากการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ กว่า 5 ล้านล้านบาท เฉลี่ยปีละ 1.39 ล้านล้านบาท ทำให้ได้เปรียบดุลการค้าภาคส่งออกนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ 8.6 แสนล้านต่อปี แม้ต้องเผชิญกับวิกฤติโควิดและสงครามรัสเซีย-ยูเครน

พรรคประชาธิปัตย์จะสานต่อด้วย นโยบายเกษตรทันสมัยภายใต้วิสัยทัศน์ เกษตรฐานราก เกษตรฐานโลก 2030 ปฏิรูปภาคเกษตรกรรมครบวงจรยกระดับประเทศไทยจากเมืองเกษตรเป็นเมืองอาหารตามแนวทางเกษตรมูลค่าสูงเพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรสร้างเงินให้ประเทศอย่างยั่งยืนและนำประเทศไทยสู่มหาอำนาจอาหารท็อปเทนของโลก

โดยจะตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร มุ่งเป้าสินค้าที่ตลาดต้องการ และอาหารแห่งอนาคต เชื่อมโยงกับภาคเอกชนที่มีข้อมูลด้านการตลาด ปัจจุบันได้ตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center หรือ AIC) รวม 83 ศูนย์ ใน 77 จังหวัด เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้บริการ แหล่งอบรมบ่มเพาะเทคโนโลยีทางการเกษตร ภูมิปัญญาด้าน การเกษตร และนวัตกรรมทางการเกษตร และเป็นศูนย์กลางในการให้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยง ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเกษตรจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และ เกษตรกร

นอกจากนี้ทางพรรคยังมีนโยบาย ยกเลิกระบบการใช้ค่าเอฟที เพื่อลดค่าไฟ พร้อมทั้ง ปฏิรูปเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายตั้ง 1 หมู่บ้าน 1โรงแก๊ส ด้วย

น.สพ.ชัย วัชรงค์ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ภาคการเกษตรเป็นกลุ่มประชาชนที่มากที่สุดของไทยและเป็นกลุ่มที่มีการใชที่ดินมากที่สุดถึง 140 ล้านไร่ แต่มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพี เพียง 8.5 % เท่านั้น จีดีพี ที่ต่ำขนาดนี้มีสาเหตุมาจากภาคการเกษตรของไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย

1. เกษตรกรผลิตสินค้าโดยไม่ใช้ตลาดนำ เป็นสินค้าที่ตลาดไม่ต้องการ อีกทั้งยังละเลยสินค้าที่ตลาดต้องการ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง ที่ทุกปีต้องอาศัยการนำเข้า โคเนื้อตลาดมีความต้องการมากปีละ 4-5 ล้านตัวแต่ไทยไม่มีนโยบายเพิ่มผลผลิต แม้เกษตรกรจะมีศักยภาพแต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุน 

2. เกษตรกรยังมีวิถีการทำการเกษตรแบบดั่งเดิม ไม่ใช้เทคโนโลยี 

3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้งบประมาณ มากถึง2 แสนล้านบาท ไม่รวมงบอุดหนุนอื่นๆ แต่จีดีพีเกษตรในปี 65 ขยายตัวเพียง 0.8 % เท่านั้น ไม่สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ 

4. ระบบนิเวศไม่เอื้ออำนวยต่อการ ทำการเกษตร จำเป็นต้องทำระบบชลประทานให้ทั่วถึงแต่ปัจจุบันพื้นที่ชลประทานครอบคลุมเพียง 22 ล้านไร่เท่านั้นจากพื้นที่การเกษตรมากถึง 140 ล้านไร่

ทั้งหมดนี้พรรคเพื่อไทยจะปรับโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน กำหนดนโยบายผ่าตัดโครงสร้าง โดยใช้ตลาดนำการผลิต สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกร เริ่มจากการส่งเสริมการผลิตสินค้าที่ตลาดต้องการ ลดการผลิตสินค้าที่มีมากเกินไป อย่างข้าว แต่เป็นไปตามความสมัครใจ ตั้งโรงปุ๋ย รวมทั้งตั้งเกณฑ์ KPI เพื่อประเมินการทำงานของข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ จีดีพีเกษตรต้องขยายตัวปีละ 5-10 % หากไม่ได้ตามนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรฯอธิบดีแต่ละกรมต้องรับผิดชอบ

นอกจากนี้จะ ตั้งกองทุนรองรับปัญหาโลกร้อน โดยการตั้งงบประมาณแก้ปัญหาที่โรคใหม่ๆที่เข้าทำลายสินค้า ชนิดละ 1,000 ล้านบาท ทั้งหมดนี้ เพื่อเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกร 3 เท่าใน 4 ปี

นายฉลองเ ทพวิทักษ์กิจ พรรคไทยสร้างไทย  กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีปัญหาหลัก 5 ด้าน คือ1. ราคาสินค้าตกต่ำ เพราะการผลิตไม่ระหว่างสมดุลอุปสงค์และอุปทาน   ดังนั้นพรรคไทยสร้างไทยจะปรับโครงสร้างให้เกิดการสมดุลโดยจะดูพืชเศรษฐกิจหลัก ๆ เริ่มจากข้าว ที่สร้างผลกระทบกับเกษตรกรมากที่สุด เพราะซัพพลายเหลือจากการส่งออกมากถึง 3-4 ล้านตันต่อปี  ถ้าลดผลผลิตข้าวลงได้ ราคาข้าวจะเป็นไปตามกลไกตลาด ในขณะที่ต้องขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ขยายทั้งปริมาณและชนิดสินค้าให้เพิ่มขึ้น

2. ปัญหาน้ำแล้ง  จะเห็นได้ว่าแต่ละปีไทยต้องทิ้งน้ำฝนมากถึง 2 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ปล่อยให้ไหลลงทะเลหมด เพราะไม่มีที่จัดเก็บ  ดังนั้นพรรคไทยสร้างชาติจะทำบ่อเพื่อเก็บน้ำสำหรับทุกครอบครัว ให้ได้น้ำเพิ่ม รวมทั้งขุดบ่อบาดาล ประปาหมู่บ้าน ติดโซลาร์เซลเพื่อสูบน้ำ   ดำเนินโครงการโขง เลย ชี มูล ด้วยงบประมาณ  2 แสนล้าน เพื่อเติมให้กับภาคอีสาน

3. เกษตรกรขาดเงินทุน พรรคไทยสร้างไทย จะทำกองทุนเพื่อคนตัวเล็ก เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุน  เพื่อทำโซลาร์เซล และเทคโนโลยีทางการเกษตร ภายใต้เงื่อนไขเกษตรกรต้องเรียนรู้ก่อน

4. ขาดที่ทำกิน ซึ่งที่ดินในเขตปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรม (ส.ป.ก.) พรรคไทยสร้างไทย จะเปิดให้สามารถ จำหน่ายจ่ายโอนได้  ที่ดินภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5)  จะพิจาการณษการใช้ประโยชน์ตามพื้นที่  โดยจะโซนจัดสรร โซนแปลงใหญ่ ปลูกป่า และเพื่อการท่อเที่ยวเชิงระบบนิเวศ ตามความเหมาะสม และ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 

 และ 5 .การขาดนวัตกรรม จำเป็นต้องส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้น ต้องเพิ่มขยายตลาดต่างประเทศ ผู้นำประเทศและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ต้องเป็นเซลล์แมน หาตลาดให้ได้ทั้งตลาดเก่าและตลาดใหม่ 

ดร.บุรินทร์ สุขพิศาล พรรคพลังประชารัฐ  กล่าวว่าที่ผ่านมาโครงการของรัฐเป็นเพียงการประกันความเสี่ยงให้กับเกษตรกร แต่ต่อไปเราต้องเปลี่ยนโครงสร้างภาคการเกษตรเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม โดยการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเพิ่มมูลค่า โดยเฉพาะด้านพลังงานที่ได้จากพืชผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลก และเชิื่อมโยงการขับเคลื่อน  เช้นอ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง  ทั้งหมดนี้เพื่อยกระดับราคาสินค้าเกษตร ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มรองรับตลาดกรีน 

ควบคู่ไปกับการลดหนี้ให้เกษตรกร ด้วยการเติมเงินลงทุนให้เกษตรกรครัวเรือนละ 30,000บาท เพื่อสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดต้นทุนและได้สินค้าที่มีคุณภาพ  

มีการตั้งโรงงานปุ๋ยตามแนวท่อแก๊ส ผลิตปุ๋ยยูเรีย ก่อนกระจายทั่วประเทศ สนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยสั่งตัด  กำหนดเมาตรการปุ๋ยคนละครึ่ง เพื่อให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยเองใช้ในประเทศ  เป็นต้น 

นายเดชรัต สุขกำเนิด พรรคก้าวไกล  กล่าวว่า การปัญหาภาคการเกษตรของไทยต้องแก้จาก กระดุมเม็ดแรก คือเรื่องที่ดิน ต้องแก้ให้ได้ก่อน ทั้งที่ดิน ส.ป.ก.และที่ดินทับซ้อน  ซึ่งพรรคก้าวไกลจะ มีกองทุนพิสูจน์สิทธิที่ดิน วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท  ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน กองทุนนี้จะผลักดันให้การทำงานพิสูจน์สิทธิ์และจัดสรรที่ดินประเภทต่างๆได้เร็วขึ้น  ซึ่งงบ1 หมื่นล้านบาทนี้จะเร่งทำให้เสร็จภายใน  4 ปี 

หลังจากนั้นปลดหนี้ให้เกษตรกร  โดยช่วยแอร์คัด หนี้ 50 % หรือ จะเช่าที่ดิน 50%ที่ติดจำนองอยู่  เพื่อปลูกไม้ยืนต้น ภายใต้เงื่อนไขรัฐบาลจะเคลืยร์หนี้ให้ และคืนที่ดินให้ หลังจากนั้น 20 ปี  มีการลงทุน โซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า 

ด้านน้ำ จะต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้มากขึ้นและทั่วถึงทุกจุด  ส่วนการระบายน้ำท่วม สร้างพื้นที่ระบายน้ำ นั้นจะปรับกติกา สำหรับพื้นที่รับน้ำ กำหนดระยะเวลา การจ่ายเงินชดเชย และทำให้ท่วมน้อยลง  รวมทั้งดูแลเรื่องปุ๋ยสั่งตัด  ซึ่งจะเก็บข้อมูลทุกพื้นที่นำมาวิเคระห์และใช้ปุ๋ยให้ตรงกับความต้องการของดิน และสนับสนุนเรื่องเครื่องจักรทางการเกษตร อัตราดอกเบี้ย 0 %