'อีอีซี' ดัน 'EEC Fundraising Venue' กลไกระดมทุน หุ้น-บอนด์ - สินทรัพย์ดิจิทัล
'สกพอ.' ผนึก 'กลต'.-'ตลท.'-'ธปท.'ดันกระดานหุ้น สร้างกลไกตลาดทุนสำหรับอีอีซี ระดมทุนทั้งหุ้น พันธบัตร รูปแบบสกุลเงินดอลลาร์ เล็งเฟสต่อไปทำสกุลเงินหยวน พร้อมระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล ดึงกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น 2000 ราย ระดมทุน
นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า สกพอ.ร่วมกับตลาดหลักรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งระดมทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) หรือ “EEC Fundraising Venue” เพื่อเป็นการสร้างระบบนิเวศสำหรับการลงทุนใน ตลาดเงินและตลาดทุนของไทยโดยรวมมีความหลากหลาย โดยนักลงทุนจะสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน ระดมทุน และเข้าถึงบริการการเงินด้วยความคล่องตัวและในต้นทุนที่เหมาะสม
สำหรับความร่วมมือดังกล่าวมุ่งเป้าหมายที่กลุ่มผู้ประกอบการไทยขนาดใหญ่ กลุ่ม SME และกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีการส่งเสริมการลงทุนใน EEC กลุ่มบริษัทข้ามชาติ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เข้ามาลงทุนหรือขยายการลงทุนในเขต EEC ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ และการออกพันธบัตร
ทั้งนี้ สกพอ.และ ตลท.โดยความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และ ธปท.จะร่วมกันจัดทำ Feasibility Study เพื่อพัฒนาแหล่งระดมทุน ดังกล่าว โดยพัฒนาระบบรองรับการระดมทุน และการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับกลุ่มผู้ระดมทุน บนโครงสร้างพื้นฐาน (Platform) ของ ตลท.เพื่อรองรับนักลงทุนที่มีการทำธุรกรรม มีรายได้ในรูปแบบสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐทำให้เกิดความคล่องตัว โดยมีแนวคิดพัฒนา 2 ส่วน ได้แก่
1.แหล่งระดมทุนเดิม (Traditional Path - SET) พัฒนากระดานระดมทุน EEC ที่ระดมทุนด้วยเงินตราต่างประเทศเป็นหลัก จะเริ่มด้วยเงินดอลลาร์เป็นลำดับแรก เพื่อจะอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจที่ต้องการจะระดมทุนและจัดทำงบการเงินหรือใช้เงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินหลัก สามารถทำธุรกรรมกู้ยืมระดมทุน และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ได้โดยสะดวก
ทั้งนี้ ตลท.จะพิจารณาแนวทางการพัฒนาระบบซื้อขายและแพลตฟอร์มของตลาด โดยในระยะต่อไปจะศึกษาการซื้อขายด้วยสกุลเงินหยวน และเงินดิจิทัลด้วย ขึ้นกับดีมานต์ของนักลงทุน ระดมทุนสินทรัพย์ดิจิทัล
2.แหล่งระดมทุนรูปแบบใหม่ (Digital Path) ระดมทุนในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ในศูนย์ซื้ออขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (Thai Digital Assets Exchange - TDX) ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ในการระดมทุนสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจที่มีมูลค่าสูง (High value added) ที่ต้องการระดมทุนในรูป Project Finance รวมถึงกลุ่ม Start-Up และกลุ่มธุรกิจที่เป็น Innovation
“ปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติที่ลงทุนในอีอีซีประมาณ 2,000 ราย ซึ่งมีศักยภาพในการใช้รูปแบบการระดมทุนในลักษณะนี้ หรือว่านักลงทุนไทยที่ต้องการระดมทุนเพื่อลงทุนในอีอีซีก็สามารถทำได้ ซึ่งต่างจากการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน"
นอกจากนี้ สกพอ.เชื่อมั่นว่าการพัฒนาแหล่งระดมทุน EEC ใหม่นี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการสนับสนุน บริการการเงินในตลาดทุและตลาดเงินของประเทศ ตอบสนองความต้องการของนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างประเทศ เพิ่มทางเลือกให้กับธุรกิจในการระดมทุนในสกุลเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มทางเลือกในการให้บริการการเงินรูปแบบ ด้วยเทคนโลยีดิจิทัลที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรมทุน สามารถดึงดูดเงินลงทุนจากทั้งในและต สนับสนุนกิจกรรมในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมทั้งในพื้นที่อีอีซีและประเทศไทยเพิ่มทางเลือกให้บริษัทไทย
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดกาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การพัฒนาแห่ล่งระดมทุน EEC (EEC Fundraising Venue) จะเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ระดมทุนทั้งบริษัทไทยและต่างประเทศ เงินตราต่างประเทศเป็น functional currency ให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเป็นทางเลือกให้แก่บริษัทไทยที่ไปจดทะเบียนในต่างประเทศให้มีทางเลือกในการระดมทุนมากขึ้น และจะเป็นการเพิ่มเครื่องมือทาง การเงินที่แตกต่างให้กับผู้ลงทุนในตลาดได้
ทั้งนี้ ตลท.พร้อมสนับสนุน EEC ให้มีการระดมทุนในรูปแบบนี้ เนื่องจากในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเณฑ์เข้าจทะเบียนในรูปแบบ New Economy Track ด้วยสกุลบาท ซึ่งเป็นเก กลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษของ EEC สามารถเข้าจดทะเบียนได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (SET) และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการทำกระดาน US underlying dollar น่าจะช่วยดึงดูดนักลงทุนที่ ไม่ได้อยากรับความเสี่ยงด้านเงินตราต่างประเทศแต่สนใจหลักทรัพย์ ไทยเป็นสำคัญหนุนถือสินทรัพย์ต่างชาติ
นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวว่าการพัฒนาโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของ ธปท.ที่สนับสนุนให้คนไทยลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนไทยที่ ต้องการถือสินทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศให้มีทางเลือกในการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกระดมทุนในประเทศไทย เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศด้วย โดยการระดมทุนในรูปแบบเงินตราต่างประเทศ สกุลเงินดอลลาร์นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนแต่อย่างใด
นางสาวจอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า แหล่งระดมทุนใน EEC จะอำนวยประโยชน์ให้กับทั้งผู้ออกหลักทรัพย์และนักลงทุนในการเลือกสกุลเงินที่จะระดมทุนและนำบริษัทเข้าจดทะเบียน EEC Fundraising Venue และยังคงยึดถือกฎเกณฑ์ เงื่อนไขการเข้าจดทะเบียน ซึ่งอิงหลักการเดิมของการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคและนักลงทุน
โครงการนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของ ก.ล.ต.ที่สนับสนุนเรื่องการลงทุนและการระดมทุนของ New Economy เพื่อเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์