'กกพ.' รื้อเกณฑ์ค่าฟ้าบนเกาะ ต้องสะท้อนตันทุนการผลิต

'กกพ.' รื้อเกณฑ์ค่าฟ้าบนเกาะ ต้องสะท้อนตันทุนการผลิต

สำนักงาน กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับโครงการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่เกาะ ย้ำต้องสะท้อนต้นทุนการผลิต ตั้งแต่วันที่ 8 – 22 ก.ย. 2566

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในการประชุมครั้งที่ 39/2566 (ครั้งที่ 867) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ได้พิจารณา (ร่าง) หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับโครงการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่เกาะ ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลการเข้าถึงบริการไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน หลักเกณฑ์ที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายใช้การขยายเขตไฟฟ้า 

ตลอดจนผลการศึกษาเพื่อรองรับการกำหนดนโยบายค่าไฟฟ้าให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 153) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่กำหนดให้อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทต้องเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศ (Uniform tariff) ยกเว้นเช่นกรณีที่เป็นการซื้อขายไฟฟ้าบนพื้นที่เกาะ ซึ่งได้ผ่านการกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการกำกับการกำหนดอัตราค่าบริการเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ความเป็นมาของการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน

1.1 กพช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 153) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2564 - 2568 และกรอบแนวทางการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าโดยมอบหมายให้ กกพ. พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (พระราชบัญญัติฯ) ซึ่งในส่วนของหลักการทั่วไปในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้ากำหนดให้อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทต้องเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศ (Uniform tariff) ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี

(1) กรณีที่เป็นการตกลงซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (2) กรณีที่เป็นการซื้อขายไฟฟ้าบนพื้นที่เกาะ (3) กรณีที่เป็นการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ (4) กรณีที่เป็นกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการคุณภาพหรือบริการด้านไฟฟ้าที่แตกต่างจากปกติ หรือ (5) กรณีอื่น ๆ โดยให้ กกพ.นำเสนอต่อ กพช. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป

1.2 กกพ. ได้ออกประกาศ กกพ. เรื่อง กรอบหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า (Electricity Tariff Regulatory Framework) พ.ศ. 2564 ซึ่งสอดคล้องกับมติ กพช. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564

1.3 ในปี 2565 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีการให้บริการไฟฟ้าโดยขยายเขตระบบไฟฟ้าให้มีการเข้าถึงระบบไฟฟ้าร้อยละ 99.90 ของพื้นที่บริการทั้งหมด โดยมีแผนงานในการขยายเขตระบบไฟฟ้าผ่านโครงการลงทุน เพื่อการให้บริการที่ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ ด้วยคุณภาพที่มั่นคงเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ 74 จังหวัด ของประเทศไทย ตลอดจนมีหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการดำเนินงานสำหรับการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่บนบกแล้ว

ทั้งนี้ สำหรับการขยายเขตไปยังพื้นที่เกาะที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ณ เดือนกันยายน 2565 กฟภ. ได้เชื่อมโยงระบบไฟฟ้าไปสู่เกาะต่าง ๆ เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่รับผิดชอบของ กฟภ. ที่อาศัยอยู่บนเกาะต่างๆ รวม 61 เกาะ จากเกาะทั่วประเทศทั้งหมดประมาณ 936 เกาะ และมีเกาะบริษัทเอกชนผลิตไฟฟ้าเพื่อขายไฟ และผลิตใช้เอง ประมาณ 21 เกาะ โดย กฟภ. มีแผนจะดำเนินการโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้พื้นที่เกาะต่างๆ 12 เกาะ ได้แก่ เกาะจิก (จังหวัดจันทบุรี) เกาะขาม(จังหวัดชลบุรี) เกาะหมากน้อย เกาะไม้ไผ่ (จังหวัดพังงา) เกาะพยาม เกาะช้าง (จังหวัดระนอง) เกาะกระเต็น เกาะนกตะเภา (จังหวัดสุราษฎ์ธานี) เกาะโหลน (จังหวัดภูเก็ต) เกาะปอ เกาะฮั่ง (จังหวัดกระบี่) และเกาะหลีเป๊ะ (จังหวัดสตูล) 

ทั้งนี้ จะพิจารณาทางเลือกในการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้เกาะต่างๆ ได้แก่

(1) ขยายเขตระบบจาหน่ายไฟฟ้าจากแผ่นดินใหญ่ เพื่อจ่ายไฟให้กับเกาะด้วยการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าด้วยสายเคเบิ้ลใต้น้า (Submarine Cable)

(2) จ่ายไฟให้เกาะแยกอิสระจากระบบไฟฟ้าบนแผ่นดินใหญ่ ด้วยโรงจักรไฟฟ้าดีเซล (Diesel Power Plant) และ

(3) จ่ายไฟให้เกาะแยกอิสระจากระบบไฟฟ้าบนแผ่นดินใหญ่ ด้วยโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Microgrid)

2. (ร่าง) หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับโครงการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่เกาะ กกพ. ได้พิจารณาเห็นชอบการกำหนด (ร่าง) หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการสาหรับโครงการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่เกาะ เพื่อเป็นแนวทางให้การไฟฟ้าใช้ในการดำเนินการจัดทาข้อเสนออัตราค่าบริการไฟฟ้า ดังนี้

2.1 การพิจารณาโครงการลงทุนเพื่อให้บริการไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลบนเกาะ ควรดำเนินการพิจารณาตามหลักการเงินลงทุนในการดำเนินการต่ำสุด (Least cost method) รวมทั้ง ให้การไฟฟ้าจัดทำแผนงานที่ชัดเจนและรับฟังความเห็นจากผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่อย่างรอบด้าน ต่อแนวทางในการพัฒนารูปแบบของโครงการและชี้แจงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

2.2 อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับการให้บริการไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลบนเกาะ ควรสะท้อนต้นทุนของการไฟฟ้าในการวางแผนระบบผลิต การวางแผนขยายระบบส่งและระบบจาหน่ายไฟฟ้า ตามหลักการของต้นทุนส่วนเพิ่มระยะยาว (Long-run Incremental Cost) หลักการต้นทุนส่วนเพิ่มระยะยาวเฉลี่ย (Long-run Average Incremental Cost) หรือหลักการต้นทุนหน่วยสุดท้ายระยะยาว (Long-run Marginal Cost)

2.3 การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับการให้บริการในพื้นที่ห่างไกลบนเกาะใหม่ ซึ่งมีต้นทุนจากการลงทุนระบบผลิตในพื้นที่ หรือการก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าผ่านเคเบิลใต้น้ำสูงกว่าการลงทุนปกติมาก ให้การไฟฟ้านำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากเงินลงทุนปกติไปคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าพิเศษ (Surcharge) เพื่อเรียกเก็บค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ใช้ไฟฟ้าบนเกาะได้ โดยกำหนดเพดานราคาสูงสุด (Price cap)

2.4 การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับการให้บริการในพื้นที่ห่างไกลบนเกาะที่มีการจ่ายไฟฟ้าไปแล้ว เห็นควรให้มีการเรียกเก็บตามอัตราค่าไฟฟ้าปกติไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่สะท้อนต้นทุนในการวางแผนขยายระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าบนเกาะ

2.5 การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยบนเกาะอาจแตกต่างจากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นได้ ในกรณีที่ภาครัฐมีนโยบายยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าพิเศษ หรือกรณีที่ภาครัฐ พิจารณาจัดสรรงบประมาณในการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย

3. ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
(กกพ.) 
ในการประชุมครั้งที่ 39/2566 (ครั้งที่ 867) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับโครงการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่เกาะ ตามข้อ 2 และให้สำนักงาน กกพ. นำไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อนาประกอบการพิจารณาของ กกพ. และนำเสนอภาคนโยบายเพื่อพิจารณาในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

สำหรับผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ (ร่าง) หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับโครงการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่เกาะ มายังสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตั้งแต่วันที่ 8 – 22 กันยายน 2566