'ไทย' เข้าเกียร์เดินหน้าทำ FTA หวังแซงเวียดนามขึ้นเบอร์ 1 อาเซียน

'ไทย' เข้าเกียร์เดินหน้าทำ FTA หวังแซงเวียดนามขึ้นเบอร์ 1 อาเซียน

เทียบฟอร์ม "เอฟทีเอ" ไทยกับเวียดนาม ไทยแพ้ขาด ทั้งน้อยกว่าจำนวนฉบับและประเทศที่คลอบคลุม ขณะที่เวียดนามครองอันดับ 1 มีเอฟทีเอมากที่สุดในอาเซียน 15 ฉบับ คลอบคลุม 55 ประเทศ ไทยใส่เกียร์เดินหน้าเปิดเจรจาเอฟทีเอใหม่ ปิดดีลเอฟทีเอค้าง หวังเบียดเวียดนามขึ้นแท่นอันดับ 1 แทน

“เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ณ กรุงนิวยอร์ก สหรัฐฯ โดยประเด็นหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์คือ แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลที่แล้วไม่ได้ให้ความสนใจในการลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีมากนัก ทำให้ไทยยังตามหลังเวียดนาม ซึ่งต้องเร่งเดินหน้าเจรจากรอบความตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ( FTA)เพื่อเปิดตลาดการค้าใหม่ ซึ่งการทำเอฟทีเอเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้ต่อรัฐสภา

โดยในประเทศกลุ่มอาเซียน ประเทศเวียดนามถือเป็นเบอร์ 1 ของอาเซียนที่ทำเอฟทีเอมากที่สุด โดยเวียดนามมีเอฟทีเอ รวม 15ฉบับ คลอบคลุม  53  ประเทศ (ทั้งระดับพหุภาคีและทวิภาคี) ได้แก่

1.ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน  

2. อาเซียน-จีน 

3.อาเซียน-เกาหลีใต้ 

4. เวียดนาม-ญี่ปุ่น 

5.เวียดนาม-เกาหลีใต้ 

6.อาเซียน-อินเดีย

7.อาเซียน- ออสเตรเลีย –นิวซีแลนด์

8.เวียดนาม-ชิลี 

9.เวียดนาม-เกาหลีใต้

10.เวียดนาม-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย

11.ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP

12. อาเซียน-ฮ่องกง 

13. ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (The EU-Vietnam Free Trade Agreement: EVFTA)

14.เวียดนาม-อังกฤษ

15.RCEP

นอกจากนี้ยังมีเอฟทีเอที่กำลังเจรจา อีก 2 ฉบับ คือ

1. เวียดนาม-สมาคมการค้าเสรียุโรป ออสเตรีย  นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์และไอซ์แลด์ 

2.เวียดนาม-อิสราเอล (VIFTA) 

\'ไทย\' เข้าเกียร์เดินหน้าทำ FTA หวังแซงเวียดนามขึ้นเบอร์ 1 อาเซียน

ขณะที่ไทยมีเอฟทีเอเพียง 14 ฉบับ 18 ประเทศ ซึ่งน้อยทั้งจำนวนน้อยกว่าประเทศอื่นประเทศเพื่อนบ้านทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย  เวียดนาม ทั้งจำนวนฉบับและประเทศที่คลอบคลุม   โดยเอฟทีเอไทย 14 ฉบับ ประกอบด้วย 

1.อาเซียน 9 ประเทศ

2. อาเซียน-จีน

3. อาเซียน-ญี่ปุ่น

4.อาเซียน-เกาหลีใต้

5.อาเซียน-ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

6.อาเซียน- อินเดีย

7.อาเซียน-ฮ่องกง

8.ไทย-ออสเตรเลีย

9.ไทย-นิวซีแลนด์

10.ไทย-ญี่ปุ่น

11.ไทย- เปรู

12.ไทย-ชิลี

13.ไทย-อินเดีย

14.ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)  ซึ่งเป็นเอฟทีเอเป็นฉบับล่าสุดของไทย

โดยผลจากการมีเอฟทีเอทำให้การค้าของไทยกับ 18 ประเทศ  ในปี 2565 มีมูลค่า 359,542.4 ล้านดอลลาร์ เพิ่ม 5.1% โดยไทยส่งออกไปประเทศคู่ FTA มูลค่า 171,789 ล้านดอลลาร์ และนำเข้าจากประเทศคู่เอฟทีเอ มูลค่า 187,753.3 ล้านดอลลาร์ โดยมีสัดส่วนการค้ารวมประมาณ 60.9 %  โดย ตั้งเป้าในปี 2570 จะมีสัดส่วนการค้าเพิ่มเป็น 80 % 

อย่างไรก็ตามกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานหลักในการเจรจาเอฟทีเอ ระบุว่า กำลังเร่งเปิดเจรจาเอฟทีเอใหม่และเร่งปิดการเจรจาเอฟทีเอที่คั่งค้าง  โดยเอฟทีเอใหม่ที่เปิดเจรจารอบแรกไปแล้วคือ เอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปหรืออียู ตั้งเป้าปิดดีลให้ได้ภายในปี  2568 พร้อมเร่งสรุปผลการเจรจา FTA ที่ค้างอยู่ 4 ฉบับ คือ 

1.EFTA ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์

2. Asean- แคนาดา

3.เอฟทีเอ FTA ไทย - ตุรกี

4.เอฟทีเอ ไทย -ศรีลังกา

ทั้งนี้ให้จบโดยเร็วภายในปี 2567 นอกจากนี้ยังมีแผนเร่งศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA กับคู่ค้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคณะมนตรีความร่วมมือรัฐประเทศอ่าวอาหรับ หรือ GCC (ประกอบด้วย 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต โอมาน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก หรือ Pacific Alliance (ประกอบด้วย 4 ประเทศคือ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และเปรู) และกลุ่มประเทศแอฟริกา 55 ประเทศ เพื่อหาตลาดใหม่ที่จะช่วยขยายโอกาสการค้าไทย  

เมื่อเทียบเอฟทีเอกันตัวต่อตัวระหว่างไทยกับเวียดนาม ไทยเสียเปรียบทั้งจำนวนและประเทศที่คลอบคลุม   จึงทำให้มูลค่าการส่งออกของเวียดนามเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดปี2565มีมูลค่าสูงถึง 12.25 ล้านบาท เพราะเอฟทีเอเป็นเครื่องมือในการสร้างแต้มต่อทางการค้าและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้ยังดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศหอบเงินลงทุนเข้าเวียดนาม เนื่องจากจะมีความได้เปรียบจากเอฟทีเอในการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะภาษีในประเทศที่ส่งสินค้าออก  

สอดคล้องกับความเห็นของ “สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าไทย และประธานกิติมศักดิ์สภานักธุรกิจไทย-เวียดนาม กล่าวว่า  ปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนไทยสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดค้าปลีกด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และกำลังเติบโต ต้นทุนแรงงานต่ำ และนโยบายที่เป็นมิตรต่อธุรกิจ เวียดนามยังได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีหลายฉบับ รวมถึง CPTPP และ EVFTA ซึ่งช่วยเปิดตลาดใหม่สำหรับธุรกิจเวียดนามและดึงดูด การลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะนักลงทุน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย

การที่นายก”เศรษฐา”มีนโยบายเร่งเปิดเจราเอฟทีเอ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะจะเป็นการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของไทยท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจโลก และหากว่าไทยสามารถ”ปิด”เอฟทีเอได้ตามแผนที่วางไว้ ก็จะทำไทยแซงเวียดนามขึ้นแท่นอันดับ 1 เอฟทีมากที่สุดในอาเซียนด้วย