ค่าเงินอ่อน 1 บาท ดันต้นทุนนำเข้า 'น้ำมันสำเร็จรูป' เพิ่ม 70 สตางค์/ลิตร
"เงินบาท" ที่อ่อนค่าทะลุ 38 ต่อดอลลาร์ ครั้งแรกรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 16 ปี 2 เดือน นับจากวันที่ 26 ก.ค.2549 "พลังงาน" ย้ำ ทุก 1 บาท ส่งผลต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูป 70 สตางค์ต่อลิตร
จากสถานการ์ เงินบาทอ่อนค่า ส่วนหนึ่งยังคงมาจากเงินดอลลาร์แข็งค่า โดยดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้นมาสู่ระดับ 114 จุด ส่งผลให้ค่าเงินสกุลต่างๆ อ่อนค่าลงตามไปด้วย โดยนักลงทุนจับตาดูผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย 0.25% ต่อปี ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐถ่างกันมากขึ้น ส่งผลต่อค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงตามไปด้วย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับอ่อนค่าทำให้กระทรวงพลังงานต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีผลต่อต้นทุนราคานำเข้าน้ำมันที่ส่วนใหญ่จะต้องนำเข้า และจะกระทบต่อสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 24 ก.ย.2566
- กองทุนน้ำมันฯ มีสินทรัพย์รวม 36,855 ล้านบาท
- หนี้สินกองทุนฯ 101,274 ล้านบาท แบ่งเป็น ติดลบจากบัญชีน้ำมัน 19,570 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 44,849 ล้านบาท รวมติดลบ 64,419 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงาน ต้องเตรียมแผนรองรับไว้เสนอภาคนโยบาย และเฝ้าติดตาม สถานการณ์ค่าเงิน อย่างใกล้ชิด ซึ่งยอมรับว่า ปัจจัยเงินบาทอ่อนค่า แม้จะกระทบต่อต้นทุนน้ำมัน แต่ไม่เท่ากับราคาน้ำมันตลาดโลกที่โดยเฉลี่ยหากมีราคาปรับขึ้น 1 ดอลลาร์จะกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศไทยที่ 20 สตางค์
นายวัฒนพงษ์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทอ่อนค่าขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.34 บาทต่อดอลลาร์เฉลี่ย 35.5853 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ต้นทุนน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 0.23 บาทต่อลิตร และต้นทุนน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.36 บาทต่อลิตร ส่งผลต่อค่าการตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของน้ำมันกลุ่มเบนซิน และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ระดับ 2.28 บาทต่อลิตร โดยหากอัตราแลกเปลี่ยนหากมีการเปลี่ยนแปลง 1 บาท จะส่งผลต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 0.70 บาทต่อลิตร ดังนั้น เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงจากเดิมระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ ขยับเป็น 38 บาทต่อดอลลาร์ จะส่งผลต่อต้นทุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปประมาณเพิ่มขึ้นอีก 2.1 บาทต่อลิตร
ทั้งนี้ สนพ.ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มผันผวน จากความกังวลว่าอุปทานน้ำมันโลกจะเผชิญภาวะตึงตัวต่อเนื่องหลังซาอุฯ ขยายเวลาลดกำลังการผลิต และรัสเซียขยายเวลาลดการส่งออกน้ำมันถึงสิ้นปี 2566
อย่างไรก็ตาม ตลาดยังกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจยุโรปที่มีแนวโน้มชะลอตัวหลังคณะกรรมาธิการยุโรปลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของยูโรโซน ในปี 2566 มาอยู่ที่ 0.8% โดยชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในยุโรปยังอยู่ระดับสูง อีกทั้งต้องจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่ง Reuters Polls คาด ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ อีก 0.25% จากระดับปัจจุบัน มาอยู่ที่ 4.00% เพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อให้มาอยู่ที่เป้าหมายที่ 2%
สำหรับภาพรวมสถานการณ์ราคาน้ำมันโลก วันที่ 4-10 ก.ย.2566 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัสเฉลี่ยอยู่ที่ 90.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และ 87.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 3.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และ 4.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
ด้านสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย.2566 ปรับลดลง 6.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 416.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.6 ล้านบาร์เรล
ทั้งนี้ ราคากลางน้ำมันสำเร็จรูป ในตลาดภูมิภาคเอเชีย แบ่งเป็น
ราคาน้ำมันเบนซิน ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และ 91 (Non-Oxy) เฉลี่ยอยู่ที่ 109.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 103.35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และ 106.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทรงตัวจากสัปดาห์ที่แล้ว
ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงาน ปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์สหรัฐ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย.2566 ลดลง 2.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 214.7 ล้านบาร์เรล ขณะที่อุปสงค์ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.25 ล้านบาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 9.32 ล้านบาร์เรลต่อวัน ด้าน International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ก.ย.2566 เพิ่มขึ้น 0.91 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ 13.84 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันดีเซล ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (10 PPM) เฉลี่ยอยู่ที่ 121.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยตลาดคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันดีเซลทั่วโลกอาจปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 500,000 บาร์เรล/วัน ในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ จากฐานตัวเลขอุปสงค์ของกลุ่มประเทศซีกโลกเหนือและจีน ซึ่งอยู่ระดับต่ำเมื่อปีที่แล้ว
รวมทั้ง Platts ประเมินปริมาณส่งออกดีเซลของรัสเซียจากท่าทางตะวันตกในทะเลบอลติกและทะเลดำ เดือน ก.ย.2566 ลดลง 130,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 470,000 บาร์เรลต่อวัน จากโรงกลั่นขนาดใหญ่ 12 แห่ง ในประเทศปิดซ่อมบำรุง