"สภาพัฒน์" แถลงGDP ไตรมาส 3/66 ขยายตัว 1.5% คาดจีดีพีปี66 ขยายตัวได้ 2.5%
"สภาพัฒน์" แถลงจีดีพีไทยไตรมาส 3/2566 ขยายตัวได้ 1.5% 9 เดือนเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 1.9% คาดเศรษฐกิจปี2566 ขยายตัวได้ 2.5% มองเศรษฐกิจปีหน้าขยายตัวได้ 2.7-3.7% จากการส่งออกฟื้นตัว
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 3/2566 ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวได้ 1.5% ชะลอลงจาก1.8% ในไตรมาสที่ 2/2566
ปรับปัจจัยฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3/2566 ขยายตัวะ 0.8% จากที่ขยายตัว 0.2% ในไตรมาสที่ 2/2566 (QoQ_SA)
โดยเศรษฐกิจในไตรมาสที่3 ปีนี้เป็นผลจาก การส่งออกรวมชะลอลง จากการส่งออกสินค้าที่ลดลง ขณะที่บริการรับขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายรัฐบาลยังคงลดลง ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง ขณะที่การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวต่อเนื่อง และการลงทุนของภาคเอกชนที่เร่งขึ้น ส่งผลให้ 9 เดือนปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9%
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อเนื่องจากขยายตัวร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่ 2/2566
โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 1.0 เร่งตัวจากไตรมาสที่ 2/2566 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 หมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.2 หมวดบริการขยายตัวร้อยละ 15.5 และหมวดสินค้าคงทนชะลอตัว การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 4.9 จากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นผลจากการโอน เพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ 38.6 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 0.5
อย่างไรก็ตาม ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 0.2 จาการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2/2556 การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 2/2566 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.1 เร่งขึ้น จากขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการขยายตัวทั้งด้านการก่อสร้าง และด้านเครื่องจักรเครื่องมือ
ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง ร้อยละ 2.6 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการลดลงทั้งด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจ าปี ลดลง 186.5 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำคัญที่ลดลง
ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล เครื่องประดับอัญมณี พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เภสัชภัณฑ์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง สำหรับสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และเนื้อสัตว์ปีกสด แช่เย็นและแช่แข็ง ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 129.4 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 191.8 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 62.5 พันล้านบาท
ทั้งนี้ สศช.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ประมาณ 2.5% ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวได้ 2.6% ในปีที่ผ่าน ส่วนปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7-3.7%
เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาส และต่ำกว่าร้อยละ 1.06 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 1.23 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (1 18.5 พันล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 อยู่ที่ 2.1 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11,131,634.20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.1 ของ GDP
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2566
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2567
ในส่วนของแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 - 3.7 (ค่ากลางของการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 3.2) โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจาก
- การกลับมาขยายตัวของการส่งออก
- การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน
และ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 และ ร้อยละ 2.8 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.8 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 - 2.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP