“กระทรวงอุตฯ”เร่งกลไกท้องถิ่น ทำความเข้าใจ“เหมืองแร่โพแทช”

“กระทรวงอุตฯ”เร่งกลไกท้องถิ่น   ทำความเข้าใจ“เหมืองแร่โพแทช”

“พิมพ์ภัทรา” ลงพื้นที่ อุดรธานี สั่งกลไกภาครัฐเอกชน และภาคประชาชนร่วมทำความเข้าใจแผนเดินหน้าต่อ“เหมือนแร่โพแทช” ชี้เป็นประโยชน์เกษตรกรพร้อมเร่งดูแลใกล้ชิดป้องผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประชาชน

ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีจึงมีสูงมากแต่ในทางปฎิบัติไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีปีละหลายล้านตัน ทั้งที่ไทยมีศักยภาพผลิตแม่ปุ๋ยจากแร่โพแทชในภาคอีสานแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ 

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งกำชับให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ (กพร.) และอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับบริษัทฯ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และยังมีคณะกรรมการในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมกำกับดูแลเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

“จากการร่วมลงพื้นที่ยืนยันได้เลยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้คิดอย่างรอบคอบ และรัดกุมที่สุดที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากประชาชน จึงขอให้กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้เข้าใจการดำเนินการครั้งนี้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์กับเกษตรกร และประชาชนในพื้นที่”

สำหรับความสำคัญของการดำเนินโครงการเหมืองแร่โพแทช ในเขต อ.ประจักษ์ศิลปาคม และ อ.เมืองอุดรธานี ประมาณ 26,000 ไร่ เนื่องจากแร่โพแทชเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ย และเป็นปัจจัยการผลิตหลักในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรจะได้ประโยชน์อย่างมากกับโครงการนี้ เช่น ซื้อปุ๋ยในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดไม่น้อยกว่า 15%

รัฐได้ค่าภาคหลางแร่ 3.5 หมื่นล้าน

นอกจากนี้จะทำให้ภาครัฐได้ค่าภาคหลวงแร่ 7% คิดเป็นเงินประมาณ 35,000 ล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 1,000 อัตรา ขณะที่ชาวบ้านรอบพื้นที่โครงการฯ จะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการส่วนที่มีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ที่เป็นห่วงว่าจะมีกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการกำชับเรื่องนี้ให้ดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน 

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้(7 พ.ย.2566)คณะรัฐมนตรี (ครม.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปเร่งรัดเรื่องโครงการเหมืองแร่โพแทชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลังจากโครงการมีความล่าช้า

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวในที่ประชุม ครม.ว่าประเทศไทยมีแร่โพแทชอยู่มากในพื้นที่ภาคอีสาน ครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ของจังหวัดอุดรธานี ชัยภูมิ ไปจนถึงนครราชสีมาตอนบน

 โดยแร่โพแทชนั้นถือว่าเป็นในหนึ่งใน 3 แร่ที่สำคัญที่ใช้ในการทำปุ๋ย หรือทำเป็นแม่ปุ๋ย ปัจจุบันในโลกนี้มีประเทศที่ผลิตปุ๋ยจากโพแทชเป็นอันดับ 1 คือประเทศแคนาดา ขณะที่ประเทศไทยมีปริมาณแร่โพแทชมากเป็นอันดับสองของโลก

“กระทรวงอุตฯ”เร่งกลไกท้องถิ่น   ทำความเข้าใจ“เหมืองแร่โพแทช”

เฟ้นรายใหม่พร้อมทำเหมืองทันที

ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผู้ได้ประธานบัตรในการทำเหมืองแร่โปแตชไปแล้ว 3 ราย แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะเปิดพื้นที่ทำเหมืองได้ โดยหนึ่งในเจ้าที่ได้สัมปทานไปนั้นได้ไปกว่า 8 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะขุดแร่ขึ้นมาได้  ส่วนอีก 2 บริษัทที่ได้สัมปทานนั้นมีการรายงานว่าบริษัทหนึ่งติดปัญหาเรื่องเงินทุนในการดำเนินกิจการ

“นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมให้ไปศึกษาดูว่าหากรายเดิมที่ได้รับสัมปทานไปแล้วไม่สามารถนำเอาโพแทชที่เป็นสินแร่ที่มีประโยชน์และเป็นที่ต้องการของประเทศและโลกนั้นขึ้นมาใช้ประโยชน์นั้น ก็ให้ไปดูว่าจะมีวิธีการที่จะมีผู้เล่นใหม่ที่มีความพร้อมเข้ามาเป็นผู้พัฒนาแหล่งแร่โพแทชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้หรือไม่”

จากการสำรวจแร่ในไทยที่ผ่านมาพบว่ามีศักยภาพในการผลิตโพแทสเซียมสูงมากคาดว่าไทยมีสำรองแร่โพแทชสูงสุดเป็นอันดับ4ของโลกอยู่ที่4แสนล้านตันรองจากแคนาดาเบลารุสและเยอรมนี

ยืน 3รายยื่นขอประทานบัตร

สำหรับผู้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่โพแทชจำนวน3รายซึ่งได้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่แวดล้อม(EIA)และผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่บริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียนจำกัด(มหาชน) จ.ชัยภูมิ เนื้อที่9,707ไร่กำลังการผลิต1.1ล้านตันต่อปี,

 บริษัทเอเชียแปซิฟิคโปแตชคอร์ปอเรชั่นจำกัดที่จ.อุดรธานีเนื้อที่26,446ไร่กำลังผลิต2ล้านตันต่อปีและบริษัท ไทยคาลิ จำกัดจ.นครราชสีมาเนื้อที่9,005ไร่กำลังผลิต1แสนตันต่อปี

อีกทั้งมีผู้ยื่นคำขอขยายอายุอาชญาบัตรพิเศษสำรวจเหมืองแร่โพแทช1รายคือบริษัทหมิงต๋าโปแตชคอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย)จำกัดโดยบริษัทเคยได้รับอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โพแทชจำนวน12คำขอเนื้อที่116,875ไร่

ไร้เสียงคัดค้านแต่ขาดเงินทุน 

โดยมี2บริษัทที่มีความพร้อมในการเตรียมเปิดการทำเหมืองได้แก่บริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียนจำกัด(มหาชน)และบริษัทไทยคาลิจำกัดซึ่งได้ปิดประกาศตามพ.ร.บ.แร่2510 โดยไม่มีการร้องเรียนคัดค้านและมีการนำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งไม่มีเสียงคัดค้านรวมทั้งได้ลงพื้นที่ชี้แจงประชาชนแล้ว

แต่ทั้งสองบริษัทยังติดปัญหาไม่สามารถระดมทุนเพื่อประกอบกิจการได้ตามแผนที่กำหนดซึ่งทางเอกชนออกความเห็นว่ารัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่าเห็นด้วยและต้องการสนับสนุนโครงการดังกล่าวเพื่อให้เกิดการลงทุนได้เร็ว

ส่วนอีกแห่งพบแหล่งน้ำใต้ดินจึงไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ซึ่งจากการสำรวจแร่ถือว่าเป็นพื้นที่มีแร่โพแทชคุณภาพต่ำโดยมีสัดส่วนแร่1ส่วนต่อเกลือ6ส่วนขณะที่บริษัท เอเชียแปซิฟิคโปแตชคอร์ปอเรชั่น จำกัด อยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนที่1สำรวจพบสัดส่วนแร่1ส่วนต่อเกลือ2ส่วนและถือเป็นโครงการที่มีกำลังการผลิตสูงสุดในจำนวนคำขอทั้งหมด