คืบหน้าส่งเสริมใช้ 'EV' ในหน่วยงานราชการ เปิดราคา - ระเบียบ เช่า - ซื้อรถไฟฟ้า

คืบหน้าส่งเสริมใช้ 'EV' ในหน่วยงานราชการ เปิดราคา - ระเบียบ เช่า - ซื้อรถไฟฟ้า

มาตรการการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย นอกจากการส่งเสริมให้ประชาชนเป็นผู้ใช้รถ EV แล้ว อีกด้านหนึ่งคือการตั้งเป้าหมายให้หน่วยงานราชการในประเทศมีการใช้รถ EV มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ตลาดรถ EV ในประเทศเติบโต ทำให้ตลาดรถ EV คึกคักมากยิ่งขึ้นในระยะยาว

ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2564 รัฐบาลได้มีการตื่นตัวในการใช้รถ EV ในหน่วยงานราชการ โดยมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2564 เห็นชอบในหลักการให้ทุกส่วนราชการพิจารณาดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างรถยนต์ EV มาใช้ในราชการแทน โดยให้พิจารณาใช้รถ EV โดยรถยนต์เดิมที่หมดอายุการใช้งาน หรือที่จะต้องจัดซื้อหรือจัดจ้างขึ้นใหม่ เพื่อรองรับภารกิจใหม่หรือผู้ดำรงตำแหน่งใหม่

โดยในระยะแรกให้ส่วนราชการที่มีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ถือปฏิบัติตามแนวทาง ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด และให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ติดตามและประเมินผลการใช้รถ EV แล้วให้รายงานผลต่อ ครม.รับทราบเป็นระยะ

อย่างไรก็ตาม ณ เดือนกันยายน 2566 มีหน่วยงานราชการรายงานข้อมูล 7,743 หน่วยงาน (จาก หน่วยงานราชการทั้งสิ้น 15,242 หน่วยงาน) มีรถราชการ 73,805 คัน โดยมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ประเภท HEV จำนวน 41 คัน PHEV จำนวน 2 คัน และ BEV จำนวน 9 คัน ซึ่งยังเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมากนัก

นอกจากนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้ทำการศึกษาแผนการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้ารายพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้มีการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้เพียงต่อการใช้งานในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งได้พัฒนา EV Data Platform เชื่อมโยงข้อมูลรถ EV เพื่อใช้ในการติดตามการใช้งานรถ EV และบริหาร จัดการระบบไฟฟ้าให้เกิดความมั่นคง

ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้จัดประชุมและรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานให้คณะกรรมการฯรับทราบแล้ว โดยความคืบหน้ามีการดำเนินในส่วนที่สำคัญๆแล้วดังนี้

1. การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการประจุไฟฟ้าสามารถดำเนินการได้ตามระเบียบของ ทางราชการ ให้กระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงพลังงานสำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติเฉพาะ

ความเหมาะสมของค่าใช้จ่าย และแนวทางการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการเช่ารถ EV โดยเร็ว อนุมัติเป็นหลักการว่า ให้ทุกส่วนราชการสามารถจัดซื้อจัดจ้างรถยนต์ (รถตู้หรือ รถกระบะ) สันดาปภายใน หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบบ HEV หรือ PHEV ไปพลางก่อนได้

สำหรับระเบียบการเช่า หรือซื้อรถ EV ในหน่วยราชการตามบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ อ้างอิงจากสำนักงบประมาณที่ประกาศในเดือน ธ.ค.2565 และอ้างอิงจากหนังสือกระทรวงการคลังเดือน มิ.ย.2566 ระบุว่า รถยนต์ไฟฟ้าประเภทผสมหรือไฮบริด (HEV) ราคาตามบัญชีมาตรฐาน (รวมมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ราคาซื้อไม่เกินคันละ 939,000 บาท ส่วนราคาเช่าอยู่ที่ไม่เกิน 21,900 บาท/เดือน/คัน

ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (BEV) ขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ขึ้นไป และกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 150 กิโลวัตต์ กำหนดราคาซื้อไม่เกิน 90,700 บาทต่อคัน (รวมมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนราคาเช่าอยู่ที่ไม่เกิน 19,900 บาท/คัน

 

2. การสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 คณะรัฐมนตได้มีมติเห็นชอบเรื่องการสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ โดยได้กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้

1) จัดซื้อจัดจ้างรถ EV มาใช้ในราชการแทนรถยนต์เดิม ที่จะหมดอายุการใช้งาน หรือที่

2.จะต้องจัดซื้อจัดจ้างขึ้นใหม่ (ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ)

3.เร่งพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับเปลี่ยนรถสาธารณะทุกชนิดเป็นรถ EV โดยให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง) ก่อสร้างโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการใช้งานรถ EV

4. ศึกษาและกำหนดนโยบายและมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายในมาเป็นรถ EV  โดยให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) และส่งเสริมให้เกิดห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศอย่างครบวงจร โดยเฉพาะ การผลิตชิ้นส่วนสำคัญ เช่น แบตเตอรี่ และระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้า มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

ขณะที่กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลการใช้ รถราชการ โดยได้จัดทำระบบฐานข้อมูลในการติดตามการใช้รถราชการและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในหน่วยงานราชการ รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้าของหน่วยงานราชการ ในเว็บไซต์โครงการลดการใช้พลังงานในภาครัฐ e-eport.energy.go.th เพื่อประเมินการประหยัดงบประมาณ