'อีเอ' เปิดแผนธุรกิจอีวีครบวงจร ลั่น! 'ธุรกิจโดยคนไทย' ต้องสู้ต่างชาติได้
'อีเอ' เปิดแผนธุรกิจอีวีครบวงจร จ่อทุ่มเพิ่มกว่า 5,500 ล้าน ขยายกำลังการผลิตโรงงานแบตฯ เป็น 2 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ก่อนขยายเป็น 4 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปีในปี 68 ตั้งโรงงานรีไซเคิลเบตเตอรี่ เดินหน้าพัฒนานิคมฯ บลูเทค ดึงการลงทุน ลั่น! ธุรกิจโดยคนไทยต้องสู้ต่างชาติได้
นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวระหว่างพาผู้บริหาร กองบรรณาธิการ เนชั่น กรุ๊ป เยี่ยมชมกิจการ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด ว่า อมิตา เทคโนโลยี ถือโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจรที่ทันสมัยและมีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์เต็มตัว เพื่อสร้าง New S-Curve ประเทศ EA อยากให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถทำอุตสาหกรรมนี้ได้ดีเหมือนต่างประเทศ
ทั้งนี้ อมิตา เทคโนโลยี เป็นโรงงานแบตเตอรี่แห่งแรกที่มีกำลังการผลิตสูงถึง 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สนับสนุนประเทศไทยขึ้นแท่นพร้อมเป็นแหล่งผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงานไฟฟ้าในระดับภูมิภาค บนเนื้อที่ 8 หมื่นตารางเมตร ในนิคมอุตสาหกรรม บลูเทค ซิตี้ เนื้อที่ 2,500 ไร่ รองรับขนาด 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปีในอนาคต
อย่างไรก็ตาม เมื่อเสร็จขั้นตอนการผลิตแบตเตอรี่ตั้งแต่ระดับเซลล์ โมดูลและแพ็คแล้ว ก็จะส่งไปยัง บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด โรงงานประกอบอีวี อาทิ รถบัส รถบรรทุก ที่เสร็จขั้นตอนการทำโครงยานยนต์ไฟฟ้าไว้แล้วตั้งแต่การนำเหล็กมาเชื่อมโครง การทำความสะอาด การชุบสารกันสนิมผ่านบ่อชุบใหญ่ที่สุดในอาเซียนรวม 12 บ่อ ลงทุนบ่อละ 20 ล้านบาท ก่อนส่งไปเทสประสิทธิภาพต่าง ๆ ก่อนส่งมอบรถให้กับลูกค้า
"ภาพรวมปัจจุบันเรามีรถบัสอีวี รถหัวลากอีวี รถบรรทุกขนาดเล็ก เรือไฟฟ้า ปัจจุบันให้บริกการอยู่ประมาณ 32 ลำ ในขณะที่นิวโปรดักส์ให้คือหัวรถจักรรถไฟอีวี ที่วิ่งระยะทาง 200 กิโลเมตร หากนำแบตเตอรี่ติดไปด้วยจะสามารถวิ่งได้ 400 กม. และสามารถถอดแบตเพื่อเปลี่ยนได้ทันที ดังนั้น สิ่งที่ EA ทำคือ ไม่ได้ผลิตอะไรที่เหมือนชาวบ้าน วันนี้เลยคิดอินโนเวชัน คิดสิทธิบัตรเป็นหลัก อยากให้เห็นว่าเราเป็น เมคอินไทยแลนด์ตัวจริงที่สามารถสู้กับต่างชาติได้" นายสมโภชน์ กล่าว
นายฉัตรพล ศรีประทุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อมิตา เทคโนโลยี กล่าวว่า EA เป็นเจ้าแรกๆ ในไทยที่ทำแบตเตอรี่ เพราะเห็นโอกาสแม้มาร์จิ้นจะต่ำในช่วงเริ่มต้น การจะทำให้ธุรกิจเป็นคอมเมอร์เชียล EV อีโคซิสเต็ม ประกอบด้วย EA อยู่ข้างบน ส่วนข้างล่างจะมี 4 กลุ่มที่เกี่ยวโยง คือ
1. โรงงานผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งอีก 3 เดือน จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เงินลงทุนราวกิกะวัตต์ละเฉลี่ย 1-2,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี และปีหน้าจะค่อย ๆ ขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติมตามการเติบโต EA ถือเป็นรายแรกรายเดียวในไทยที่ผลิตตั้งแต่ระดับเซลล์แบตเตอรี่ซึ่ง 60-70% ของต้นทุนคือเซลล์ ต่างจากการลงทุนระดับโมดูลหรือแพ็คที่น้อยมาก ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จึงให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนระดับเซลล์แบตเตอรี่มากกว่า
2. โรงงานประกอบยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายใต้ บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด ซึ่ง EA ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ เพราะการที่มาก่อนและจะให้คอมเมอร์ชเชียลในเรื่องของการลดการปล่อยคาร์บอนดีที่สุด ดังนั้น เมื่อมีเรื่องของภาษีเข้ามา บริษัทฯ สามารถโมดิฟายต้นทุนที่ออกมาได้ เพราะผลิตในประเทศ อีกทั้ง รถอีวีเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยมีจำนวน 1.4 ล้านคัน เปลี่ยนใหม่ 1 แสนคันต่อปี เป็นจำนวนที่มหาศาล ตลาดใหญ่ ปัจจุบันคาร์ปาซิตี้โรงงานอยู่ที่ 9,000 คันต่อปี ซึ่งปีที่แล้วผลิตในระดับ 3,000-4,000 คัน
3. สถานีชาร์จ EV ปัจจุบันมี 500-600 สถานี 4,000 หัวจ่าย จากเดิมที่มีส่วนแบ่งตลาดในประเทศ 80% วันนี้อยู่ที่ 40% แต่ปริมาณไฟที่ชาร์จ 80-90% ของประเทศ เพราะซัพพอร์ทอุตสาหกรรมไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งรถและเรือ เป็นต้น ซึ่ง EA มีมีเทคโนโลยี Ultra-Fast Charge รองรับการชาร์จยานยนต์ EV ขนาดใหญ่ในเวลาเพียง 15 นาที พร้อมรองรับการชาร์จได้สูงถึง 3,000 รอบ เหมาะสำหรับรองรับการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด
4. ไทยสมายกรุ๊ป ซึ่งได้ใบอนุญาติเดินรถ 140 เส้นทาง ถือว่าครอบคลุมทั้งรถ เรือ ถือว่าครบอีโคซิสเต็ม
“ธุรกิจแบตฯ ถือเป็นตลาดใหญ่ทั้งด้านพลังงาน และขนส่ง ประเทศต้องการลดการปล่อยคาร์บอนปี ค.ศ. 2030 ลง 40% หรือ 222 ล้านตันคาร์บอน จำเป็นต้องลด 70% จากภาคพลังงานและขนส่ง ตรงนี้จะตอบโจทย์ แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลอย่างไรเรื่องนี้จะต้องทำต่อ ซึ่งเรามีรถบัส EV กว่า 2-3 พันคัน เรือ 30-40 ลำ ปีที่แล้วขายกระบะ EV รองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซีได้เยอะขึ้น” นายฉัตรพล กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจได้รับความเดือนร้อนใน 3 เรื่องหลัก คือ 1. มาตการ CBAM ที่เน้นให้ลดการปล่อยคาร์บอน โดยเฉพาะจากภาคพลังงานหรือภาคขนส่ง 2. บริษัทใหญ่ต่างมีเป้าหมายช่วยซัพพอร์ทซัพพลายเชน 3. พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่จะค่อยๆ บังคับใช้ ซึ่งภาคขนส่งเริ่มได้เลย เพราะมีสายส่งแข็งแรง ขยายสถานีชาร์จง่าย พลังงานเหลือเกิน
นายฉัตรพล กล่าวว่า EA มีแผนตั้งโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ จากการที่นิคมอุตสาหกรรมบลูเทคมีพื้นที่ราว 2 พันไร่ สามารถแบ่งพื้นที่มาทำอุตสาหกรรมที่ไม่มีเครื่องจักรได้ ซึ่งปัจจุบันก็ใช้รถขนดินเป็น EV ทั้งหมด จึงจะขยายทั้งซัพพลายเชนการบริษัทที่ใช้เครื่องจักรไทย ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศ เบื้องต้นอาจจะเริ่มจากการลงทุนโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ NMC ก่อนเพราะรถ EV ส่วนใหญ่เป็น NMC จึงขอเวลาศึกษาอีก 2 เดือน เพราะการทำโรงงานรีไซเคิ่ลมีดีเทลค่อนข้างเยอะ
นายฉัตรพล กล่าวถึงความคืบหน้าในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมบลูเทค ซิตี ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนค่อยๆ ขยายโดยจะรับทั้งนักลงทุนรายอื่นให้เข้ามาอยู่ร่วมกันได้ คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จใน 2 ปีนี้ โดยใช้งบพัฒนาทั้งเฟสกว่า 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ พยายามดึงซัพพลายเออร์จากต่างประเทศให้มาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยด้วย ต้องเข้าใจว่าทีมงานบีโอไอมีทั่วโลก