EA เผยไตรมาส 2/66 กำไรสุทธิ 2.16 พันล้าน พุ่ง 97% รับธุรกิจรถอีวี-โรงไฟฟ้าโต
“อีเอ” อวดกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 66 แตะ 2.16 พันล้าน พุ่ง 97% หนุนงวด 6 เดือนแรกกำไร 4.48 พันล้าน รับอานิสงส์ธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์และธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่สูงขึ้น
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA รายงานผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า มีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 2 ปี 2566 จำนวน 2,160.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,064.83 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 97.21% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิรวม 1,095.43 ล้านบาท
สำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 4,480.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน2,018.28 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 81.99% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิรวม 2,461.74 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากผลดำเนินงานของธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์และธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่สูงขึ้น
โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมสำหรับไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 7,956.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,502.19 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 45.88% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 5,454.07 ล้านบาท และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้จำนวน 16,860.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,589.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 64.16% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 10,270.63 ล้านบาท
หากพิจารณาเฉพาะรายได้จากการดำเนินงาน บริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจตามปกติของบริษัทฯ สำหรับไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 7,880.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี2565 จำนวน 2,484.61 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 46.05% และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 16,775.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 6,638.87 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 65.50% โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน รวมถึงธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
1.รายได้กลุ่มธุรกิจไบโอดีเซล : สำหรับไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้ลดลงจำนวน 1,088.55 ล้านบาท หรือลดลง 47.97% และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้ลดลงจำนวน 1,690.17 ล้านบาท หรือลดลง 39.34% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยสรุปได้ดังนี้
1.1 ส่วนงานผลิตและจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล รายได้สำหรับไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ลดลงจำนวน 435.79 ล้านบาท หรือลดลง 39.70% และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน2566 ลดลงจำนวน 1,180.90 ล้านบาท หรือลดลง 44.97% โดยสาเหตุหลักมาจากราคาวัตถุดิบน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ของปี2566 ในตลาดโลกและภายในประเทศลดลงมากถึง 40% เมื่อเทียบกับปี 2565 อย่างไรก็ตามคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ประกาศคงสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็น บี7 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 จึงทำให้ความต้องการใช้น้ำมันไบโอดีเซล (B100) ยังคงใกล้เคียงกับปี 2565
1.2 ส่วนงานผลิตและจำหน่ายกลีเซอรีนบริสุทธิ์ รายได้สำหรับไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ลดลงจำนวน 47.54 ล้านบาท หรือลดลง 59.00% และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน2566 ลดลงจำนวน 160.48 ล้านบาท หรือลดลง 67.42% โดยสาเหตุหลักมาจากราคากลีเซอรีนในตลาดโลกและภายในประเทศปรับตัวลดลง ซึ่งสอดคล้องกับราคาน้ำมันไบโอดีเซลที่ลดลง เนื่องจากกลีเซอรีนบริสุทธิ์เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ของการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
1.3 ส่วนงานผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ รายได้สำหรับไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ลดลงจำนวน 636.03 ล้านบาท หรือลดลง 68.76% และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ลดลงจำนวน 370.52 ล้านบาท หรือลดลง 31.71% เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายที่ลดลงในไตรมาสที่ 2/2566 สาเหตุจากความต้องการใช้ในประเทศลดลงทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและกลุ่มไบโอดีเซล (อ้างอิงตามกรมการค้าภายใน)
ส่วนปัจจัยด้านราคาน้ำมันปาล์มดิบในไตรมาสที่ 2/2566 และงวดหกเดือน ปี 2566 ลดลง เนื่องจากราคา SPOT ของมาเลเซียมีราคาต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่นทางภาคใต้ของไทย ทำให้โรงกลั่นไม่สามารถส่งออกน้ำมันปาล์มดิบได้ ส่งผลให้ผู้ส่งออกกลับมาแย่งชิงการขายให้กับโรงกลั่นภายในประเทศ จากสาเหตุข้างต้นจึงทำให้ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ในประเทศปรับตัวลดลง
1.4 ส่วนงานผลิตและจำหน่าย PCM รายได้สำหรับไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ลดลงจำนวน 38.85 ล้านบาท หรือลดลง 77.07% และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ลดลงจำนวน 36.97 ล้านบาท หรือลดลง 60.28% เนื่องจากปัจจัยหลักด้านปริมาณการขายที่ลดลงในไตรมาสที่ 2 และงวดหกเดือน ปี2566 จากลูกค้ารายหลักในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีมีความต้องการใช้ลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงรักษาระดับราคาจำหน่ายได้ใกล้เคียงกับปีก่อน
1.5 ส่วนงานผลิตและจำหน่าย Green Diesel บริษัทฯ ได้ดำเนินการผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์กรีนดีเซล (Green Diesel หรือ GD) หรือ Bio Hydrogenated Diesel (BHD) โดยมีรายได้สำหรับไตรมาสที่ 2สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 134.70 ล้านบาท ซึ่งได้รับอานิสงค์จากความต้องการใช้ของกลุ่มประเทศยุโรป (ทั้งนี้บริษัทฯ ได้เริ่มจำหน่าย Green Diesel ครั้งแรกในไตรมาสที่ 4/2565)
1.6 ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้รายได้ สำหรับไตรมาสที่ 2สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ลดลงจำนวน 65.04 ล้านบาท หรือลดลง 56.33% และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ลดลงจำนวน 76.00ล้านบาท หรือลดลง 37.44% เนื่องจากปัจจัยหลักทางด้านราคาขายของเมล็ดในปาล์มที่ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับราคาขายน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่ลดลง (เมล็ดในปาล์มเป็นผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ)
2. รายได้กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน : สำหรับไตรมาสที่ 2สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 3,175.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 314.72ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11.00% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 2,860.60 ล้านบาท และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 6,678.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,195.46 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 21.80% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 5,482.60 ล้านบาท
3. รายได้กลุ่มธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ : สำหรับไตรมาสที่ 2สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 3,499.68ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,466.53ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 33.15 ล้านบาท และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 7,500.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 7,327.64 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 172.66 ล้านบาท (บริษัทฯ ได้มีเริ่มจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ปี 2565) และสำหรับงวดหกเดือน ปี 2566 บริษัทฯ ได้จำหน่ายรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,445 คัน
4. รายได้กลุ่มธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน : สำหรับไตรมาสที่ 2สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 1,598.22ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,383.40ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 214.82 ล้านบาท และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 2,964.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,664.82 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 299.81 ล้านบาท
เนื่องจากการจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่เพิ่มขึ้น (บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเพื่อใช้ประกอบรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ในไตรมาสที่ 2/2565) โดยปัจจุบันสามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต ทั้งนี้เพื่อรองรับการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ของกลุ่มบริษัท
5. รายได้กลุ่มธุรกิจอื่น : สำหรับไตรมาสที่ 2สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 186.42ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 103.16ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 83.26 ล้านบาท และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 294.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 167.21 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 127.38 ล้านบาท โดยหลักมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
6. รายได้อื่น : สำหรับไตรมาสที่ 2สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 75.67ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 17.58ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 58.09 ล้านบาท และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีรายได้จำนวน 85.15 ล้านบาท ลดลงจำนวน 49.08 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จำนวน 134.23 ล้านบาท