99 นักวิชาการ ค้าน ‘กาสิโนถูกกฎหมาย’ ชี้กระทบเศรษฐกิจ-สุขภาพ-สังคม ระยะยาว

99 นักวิชาการ ค้าน ‘กาสิโนถูกกฎหมาย’  ชี้กระทบเศรษฐกิจ-สุขภาพ-สังคม ระยะยาว

99 นักวิชาการหลายสาขาทั้งเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ แพทย์ รัฐศาสตร์ เข้าชื่อค้านกาสิโนถูกกฎหมาย ชี้ส่งผลกระทบต่อประเทศในระยะยาวหลายด้าน ไม่ช่วยเรื่องเศรษฐกิจยั่งยืน สร้างความเหลื่อมล้ำ เกิดปัญหาสุขภาพ เพิ่มการทุจริต หวังรัฐบาลทบทวนก่อนเดินผิดทางต้องแก้ปัญหาตามหลัง

ความเคลื่อนไหวล่าสุดหลังจากสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการ เปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้าน เศรษฐกิจของประเทศ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา และจะมีการนำเสนอรายงานเพื่อขอมติต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อดำเนินการในลำดับต่อไปในวันนี้ (9 เม.ย.)

ล่าสุดนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาวิชา ทั้งเศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข แพทย์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ รวม 99 คน เช่น ศ.สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.ณัชพล จิตตรัตน์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,แพทย์หญิง มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ความห่วงใยและข้อเสนอแนะของคณาจารย์นักวิชาการ ต่อการผลักดันกาสิโนถูกกฎหมายของรัฐบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 

 ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการ เปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้าน เศรษฐกิจของประเทศ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา และจะมีการนำเสนอรายงานเพื่อขอมติต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อดำเนินการในลำดับต่อไป

คณาจารย์ตามรายนามด้านท้าย ขอแสดงความห่วงใยและเสนอแนะความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีและ คณะรัฐมนตรีต่อเรื่องนี้ดังต่อไปนี้

1. ในทางเศรษฐศาสตร์การพนันไม่ถือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดผลผลิต เพราะเป็นเพียง การยักย้ายถ่ายโอนเงินจากกระเป๋าของผู้แพ้พนันไปสู่กระเป๋าของผู้ชนะพนัน ซึ่งในกรณีของกาสิโนนี้ผู้ชนะคือเจ้าของ สถานกาสิโน

การส่งเสริมให้มีกาสิโนจึงเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มทุนดูดซับเงินจากภาคครัวเรือน โดยเฉพาะ ครัวเรือนชั้นกลาง ผู้ใช้แรงงาน ผู้มีรายได้น้อย และชนชั้นล่างของสังคม แม้คณะกรรมาธิการฯ จะเสนอให้เริ่มต้นที่ ไซส์ XL ก่อน

แต่รายงานของคณะกรรมาธิการฯ ก็เปิดช่องให้สามารถมีแหล่งพนันที่มีขนาดเล็กรองลงมา ที่น่าจะเข้า มาเปิดใกล้ชุมชนมากขึ้น และลดกฎเกณฑ์ความเข้มงวดให้คนไทยได้เข้าเล่นง่ายขึ้น ถึงวันนั้นกาสิโนจะเป็นสิ่งถ่าง ขยายความเหลื่อมล้ำในสังคมให้มากขึ้น และซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่รัฐบาลพร่ำบอกมาตลอดว่ากำลังอยู่ ในภาวะวิกฤต

แม้รัฐบาลอาจมองเห็นว่า การมีกาสิโน รวมถึงสถานบันเทิงครบวงจรอื่น ๆ จะก่อให้เกิดการจ้างงาน การ กระจายรายได้และการหมุนเวียนของเงินตราในระบบเศรษฐกิจ แต่หากนับเฉพาะส่วนของกาสิโนที่คณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่ามีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของกิจการทั้งหมด กิจการกาสิโนจึงอาจก่อให้เกิดผลดีต่าง ๆ ที่กล่าวมาได้ไม่มาก แต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมที่รุนแรงมากกว่า การได้ไม่คุ้มเสียจึงเป็นข้อห่วงใยที่สำคัญ และกิจการอื่น ๆ ที่ เป็นส่วนประกอบของสถานบันเทิงครบวงจร อาจจะเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่รัฐบาลพึงคาดหวังมากกว่า โดยอาจ ไม่จำเป็นต้องมีกาสิโนก็ได้

2. ในทางการแพทย์ การอยู่ในสถานพนันเป็นเวลาต่อเนื่องครั้งละนาน ๆ กับกิจกรรมพนันที่รู้ผลแพ้- ชนะรวดเร็ว และเมื่อเสียก็เปิดโอกาสให้แก้มือได้ในทันทีทันใด จะมีผลต่อการกระตุ้นอารมณ์ให้เกิดการเล่นพนันจน เกินขีดความเหมาะสม และนำมาสู่การเล่นพนันจนเป็นปัญหาที่ขยายผลไปสู่การเป็นผู้เสพติดการพนัน ซึ่งเท่ากับการ เป็นผู้ป่วยที่ยากต่อการบำบัดรักษาด้วยตนเอง และจำเป็นต้องอาศัยการรักษาทางการแพทย์ที่ต่อเนื่องเป็นปีจึงจะหาย ผู้ป่วยจะตกอยู่ในภาวะที่ทุกข์ทรมานในการต่อสู้กับอาการอยากเล่นพนัน ที่พยามยามจะฝืนทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนได้ เล่นพนันแม้จะไม่มีเงินก็ตาม และเกิดเป็นภาระต่อครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ประสบปัญหาตลอดช่วงของการ รักษาเยียวยา กาสิโนจึงอาจเป็นสาเหตุของการเซาะกร่อนบ่อนทำลายสุขภาพของสังคมโดยรวม

 

3.ในด้านการบังคับใช้กฎหมาย เป็นที่ทราบกันดีว่ากิจกรรมการพนันสามารถถูกใช้เป็นช่องทางการ ฟอกเงินของธุรกิจผิดกฎหมาย รวมทั้งเป็นช่องทางทำมาหากินของเจ้าหน้าที่รัฐหรือนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่น สถานกาสิโนจึงอาจโยงใยกับการกระทำความผิด การฝ่าฝืนกฎหมาย และการประพฤติมิชอบได้มากมาย โดยเฉพาะ ในประเทศที่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ความหวังที่ว่าการนำธุรกิจใต้ดินขึ้นมาอยู่บนดินจะ ทำให้ธุรกิจผิดกฎหมายและการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐมีน้อยลงจึงอาจไม่เป็นจริง และกลับกลายเป็นการสร้างโอกาส ให้เหล่าผู้กระทำความผิดมีช่องทางใช้ประโยชน์ที่มากขึ้น ตราบใดที่หน่วยงานการบังคับใช้กฎหมายยังอ่อนแอและ ไม่ใสสะอาด คงเป็นการยากที่จะให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตได้หากมีแหล่งอบายมุข ขนาดใหญ่มาอยู่ใกล้ชุมชนและบุคคลในครอบครัวของตนมากขึ้น

ด้วยเหตุผลที่กล่าวอ้างมา จึงนำมาสู่ข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

1. รัฐบาลควรเร่งเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น โดยการ ปฏิรูปองค์กรตำรวจ และการปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจัง เพราะนี่คือด่านท้าทายที่สำคัญหากรัฐบาลมีแนวทาง จะเปลี่ยนกิจการผิดกฎหมายต่าง ๆ ให้มาอยู่บนดินได้ทั้งหมด

2. รัฐบาลควรมีข้อเสนอที่ชัดเจนต่อสังคมถึงสิ่งที่ตนต้องการผลักดัน ทั้งขนาดและจำนวนของกาสิโน พื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย และอื่น ๆ และทำการศึกษาอย่างรอบด้านให้ครบทุกมิติ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ ทางธุรกิจ การศึกษาผลกระทบทางสังคม การวางมาตรการและกลไกในการกำกับดูแลผู้ประกอบการกาสิโนอย่าง ละเอียด รอบคอบ และรัดกุม การกำหนดมาตรการและกลไกในการป้องกันปัญหาและผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมที่ ชัดเจน โดยไม่เร่งรัดหรือเข้าแทรกแซงกระบวนการศึกษา และให้มีการเผยแพร่ผลการศึกษาในทุกด้านอย่างเปิดเผย อย่างไรก็ตาม การศึกษาทุกเรื่องที่กล่าวมาล้วนต้องใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อย ฉะนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ การมีจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนตั้งแต่แรก

 3. เมื่อทำการศึกษาครบถ้วนทุกมิติ รัฐบาลควรนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการประชามติ เพื่อรับฟัง ความเห็นของประชาชนทั้งประเทศ โดยสนับสนุนการรณรงค์ให้ความรู้ของทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายที่เห็นต่าง ด้วยความตระหนักว่าการมีสถานกาสิโนหรือบ่อนพนันถูกกฎหมายเป็นแหล่งรวมอบายมุขที่มีความสลับซับซ้อน จึงมิ อาจใช้วิธีรับฟังความเห็นจากประชาชนเพียงบางส่วนได้ การหวังพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยธุรกิจอบายมุข เป็นแนวนโยบายที่พึงตรึกตรองอย่างรอบคอบให้ กว้างไกลกว่าการคำนึงถึงเพียงมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานของความถูกต้องและ ชอบธรรมทางสังคมอย่างยากจะถอดถอนให้กลับมาดังเดิมได้ รัฐบาลจึงพึงสังวรณ์และตัดสินใจบนฐานความเชื่อมั่น ที่มากพอ จึงเรียนมาเพื่อแสดงความห่วงใยและเสนอแนะความเห็นประกอบการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีและ คณะรัฐมนตรี เพื่อความสงบสุขของประเทศต่อไป

 

รายชื่อคณาจารย์ และนักวิชาการ ร่วมแสดงความห่วงใย

 1. รศ.แล ดิลกวิทยารัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 2. ศ.สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

 4. ศ.สุภา เพ่งพิศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 5. รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. แพทย์หญิง มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

7. ผศ.ดร.ชิดตะวัน ชนะกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 8. รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

9. รศ.จุมพล รอดคำดี นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์

10.ผศ ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

11.ดร.ธีรารัตน์ วงศ์ธนะเอนก นักวิชาการอิสระด้านนิเทศศาสตร์

12.ดร.อัญญมณี บุญซื่อ นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนาเด็ก

13.ดร.นิตินันท์ พันทวี นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการพิเศษ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

14.ผศ.ดร.ณัชพล จิตตรัตน์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

15.ผศ.ดร.มานะ ลักษมีอรุโณทัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

16.ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

17.ผศ.ดร.จรินทร์ สารทอง คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง

18.ผศ.ดร นฤมล จันทร์มา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

19.ผศ.ภัทรพร แจ่มใส โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

20.รศ.ดร.ณัฐนันท์ ศิริเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

 21.ดร.ภาคภูมิ ปุผมาศ นักวิชาการอิสระด้านสังคม

22.ผศ.ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

 23.ดร.เอกราช ดีนาง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

 24.ผศ.ดร.ไพฑูรย์ สอนทน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

 25.ผศ.ดร.จิตรา ชนะกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 26.ทพญ.ณิรญา ก้อนสมบัติ คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

27.ดร.ซู้หงษ์ ดีเสมอ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 28.ทพ.ประเสริฐ จิรสรรพคุณากร ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย

 29.พันตรีหญิงบุศรินทร์ คงอุทิพย์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

30.ผศ.ดร.สุเทพ เดชะชีพ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

31.รศ.ทญ.ดร.สุทธาทิพย์ กมลมาตยากุล คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

32.ผศ.เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราขภัฏนครราชสีมา

33.ผศ.วรวุฒิ อ่อนน่วม วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

34.ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

35.ผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

 36.ผศ.เจริญเนตร แสงดวงแข คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

 37.นางอรทัย อนุรักษ์วัฒนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 38.อาจารย์ชิดชนก สิทธารศักดิ์ สำนักพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

 39.ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

 40.รศ.ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

41.ผศ. ยุทธนา บุญอาชาทอง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

42.พญ.วริษา อุทาโย นักวิชาการอิสระ

43.นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป นักวิชาการอิสระ นักเขียนและนักเล่านิทานเพื่อเด็ก

44.ผศ.พ.ต.หญิงดร.นภาเพ็ญ จันทขัมมา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

45.ผศ.ดร.นิภากร กำจรเมนุกูล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

46.พญ.ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา นักวิชาการอิสระ

 47.ดร.ปิยะพล รอดคำดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

48.นพ.พิชญะ ตันทะอธิพานิช นักวิชาการอิสระ

 49.รศ. ดร.ณัฐวิภา สินสุวรรณ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 50.อาจารย์เมธาพร มูสิกะปาละ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

 51.นางวรุณพันธ์ จริยาเอกภาส นักวิชาการอิสระ

52.รศ.ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 53.ดร.ภัทราพร เจริญรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

54.ผศ.ดร.วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

 55.อาจารย์เปรมินทร์ หงษ์โต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

 56.ทพญ.จารุวรรณ ตันกุรานันท์ ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย

57.ดร.ณัชญากัญจน์ รัตนวรกานต์ ประธานสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

58.ผศ.สิริวิมล เทพหัสดิน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

 59.นางปัทมา จรทะผา นักวิชาการอิสระ

60.ดร.รจนา พึ่งสุข คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

61.ผศ.ดร.สุพักตรา สุทธสุภา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 62.นายอาลาวีย์ ฮะซานี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย

63.ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เครือนวน คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

64.พ.อ.หญิง วโรชา สุทธิรักษ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

65.ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

66.ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย เพชรช่วย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 67.อ.ปิยณัท วงศ์ยอด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

68.ดร.รับขวัญ ภูษาแก้ว อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 69.ศ.ดร.รัตติกร ยิ้มนิรัญ ที่ปรึกษาอธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี

70.ดร.ชุติมันต์ เหลืองทองคำ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

71.ดร.ณิชา ฉิมทองดี รองผู้อำนวยการ โรงเรียนรัตนศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี

72.นางสาวศุภานัน เจนธีรวงศ์ นายกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ฯ

73.นส.สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

74.อาจารย์วนิทรา ตะเภาทอง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

75.ผศ.มุจรินทร์ อิทธิพงษ์ นักวิชาการอิสระ

 76.นายณัฐพงค์ แย้มเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

77.นางสุภัทรียา จิตรกร นักวิชาการอิสระ

 78.นายสุรพงษ์ กองจันทึก นักวิชาการอิสระด้านสิทธิมนุษยชน

 79.ผศ.ดร.ปิยะดา จุลวรรณา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

80.ผศ.ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 81.อาจารย์ฒวีพร โตวนิช หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

 82.อาจารย์ พิทักษ์พงศ์ พงษ์พิพัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

83.ผศ.เบญนภา พัฒนาพิภัทร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

84.อาจารย์สุธิดา ชิโนดม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

85.อาจารย์พสุนาท สร้อยสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

86.ผศ.ปาจารีย์ ปุรินทวรกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

87.รศ.ดร.นพ.กลวิชย์ ตรองตระกูล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 88.รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 89.อาจารย์มนัสกานต์ อินทร์สังข์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

90.นายอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ

 91.ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 92.นส.ภูษา ศรีวิลาส นักวิชาการอิสระ

93.รศ.ธราดล เก่งการพานิช นักวิชาการอิสระด้านอนามัยชุมชน

 94.ผศ.ดร.ศศิพรรณ บิลมาโนชญ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

95.ผศ.ดร.วรรณภา นาราเวช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

96.อาจารย์วัฒนา เจริญชัยนพกุล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

 97.พญ.นัชนันท์ ปุณณรัตนกุล นักวิชาการอิสระ

 98.ผศ.ดร.อังสนา บุญธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 99.ผศ.ดร.ปัณฑิตา สุขุมาลย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี