สปก. MOU ธ.ก.ส. เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร ทะลุ 4.9 แสนล้านบาท

สปก. MOU ธ.ก.ส. เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร ทะลุ 4.9 แสนล้านบาท

เกษตรฯ จับมือ ธ.ก.ส. เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร ทะลุ 490,000 ล้านบาท ขยายสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ยอมรับเพื่อเพิ่มมูลค่า พร้อมแสวงหาพันธมิตรใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโฉนดเพื่อการเกษตร เสริมสร้างความผาสุกของพี่น้องเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การให้ผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขอรับสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  ว่า  

สปก. MOU ธ.ก.ส. เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร ทะลุ 4.9 แสนล้านบาท สปก. MOU ธ.ก.ส. เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร ทะลุ 4.9 แสนล้านบาท

กระทรวงเกษตรฯ โดย ส.ป.ก. ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เพื่อสร้างโอกาสในการมีอาชีพ รายได้ และความมั่นคงในชีวิต โดยเร่งดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดิน มีชีวิตที่มั่นคง พิจารณาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นโฉนดเพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดให้เข้าถึงแหล่งทุนได้ นำมาพัฒนาที่ดินเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นระยะยาว 

 

ซึ่ง ส.ป.ก. ได้ดำเนินการเปลี่ยนเอกสารสิทธิที่ดินจาก ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร พร้อมขยายสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ยอมรับเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ค้ำประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้อย่างกว้างขวาง โดยแก้ไขระเบียบให้รองรับโฉนดเพื่อการเกษตร ตลอดจนสิทธิและการใช้ประโยชน์ส่วนเพิ่มเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะการใช้โฉนดเพื่อการเกษตรเป็นหลักประกันเงินกู้กับ ธ.ก.ส.

 

ปัจจุบันมีเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินใช้เอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 เป็นหลักประกันสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. ตามบันทึกข้อตกลงฉบับเดิม (ยังไม่ครอบคลุมถึงโฉนดเพื่อการเกษตร) ประมาณ 350,000 ราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 130,000 ล้านบาท 

และจากบันทึกข้อตกลงฉบับใหม่นี้จะทำให้ผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากวงเงินสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 80 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินกรมธนารักษ์ 

โดยเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร จำนวน 1 ล้านแปลง ในปี 2567 คิดเป็นวงเงินสินเชื่อประมาณ 490,000 ล้านบาท 

แบ่งเป็น มูลค่าจากโฉนดเพื่อการเกษตรที่ค้ำประกันอยู่กับ ธ.ก.ส. เดิม ที่จะได้รับวงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็น 170,000 ล้านบาท และมูลค่าเพิ่มจากวงเงินกู้ใหม่ของโฉนดเพื่อการเกษตรที่จะการออกในปี 2567 จำนวน 650,000 แปลง ประมาณ 320,000 ล้านบาท นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถนำไม้ยืนต้นที่ปลูกในที่ดิน ส.ป.ก. ในรูปของ “โฉนดต้นไม้” มาเป็นหลักประกันสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

สปก. MOU ธ.ก.ส. เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร ทะลุ 4.9 แสนล้านบาท

 

สำหรับบันทึกการลงนามฉบับใหม่นี้ เป็นการแก้ไขในเรื่องของหลักประกัน เพื่อรองรับโฉนดเพื่อการเกษตรและวงเงินกู้ ให้สอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มมูลค่าของรัฐบาล ได้แก่

1. เพิ่มโฉนดเพื่อการเกษตรเป็นหลักประกันสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. ได้อีก 1 ประเภท พร้อมให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน 

 

2. ให้เอกสารสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทุกประเภทใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. ได้

3. กำหนดให้ไม้ยืนต้นที่ปลูกอยู่ในที่ดิน ส.ป.ก. สามารถนำมาเป็นหลักประกันสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. ได้ 

และ 4. ขยายวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต การประกอบอาชีพ การพัฒนาที่ดิน การปลูกไม้มีค่าและไม้เศรษฐกิจ รวมถึงการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าให้กับโฉนดเพื่อการเกษตร

นอกจากนี้ ส.ป.ก. ยังได้เจรจากับพันธมิตรใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโฉนดเพื่อการเกษตร ได้แก่ การใช้โฉนดเพื่อการเกษตรเป็นหลักประกันตัวบุคคลในชั้นสอบสวน ชั้นอัยการ และชั้นศาล กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด และศาลฎีกา และการใช้โฉนดเพื่อการเกษตรค้ำประกันเงินกู้กับสหกรณ์ต่าง ๆ กองทุนภายใต้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนธนาคารในกำกับของรัฐบาล

 

“รัฐบาลมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะเห็นเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน มีที่ดินทำกิน สามารถพัฒนาอาชีพและรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เพื่อพัฒนาอาชีพ รายได้ คุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวในระยะยาว อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ธ.ก.ส. จะยังคงแสวงหาความร่วมมือเพื่อขยายสิทธิประโยชน์ของโฉนดเพื่อการเกษตรเพื่อเสริมสร้างความผาสุกของพี่น้องเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป”

 

การลงนามครั้งนี้ มีี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ญ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์