ส่อง 'มาตรการการคลัง' เดอะแบกเศรษฐกิจไทย ในวันที่ 'ดอกเบี้ย' ยังไม่ลดลง

ส่อง 'มาตรการการคลัง' เดอะแบกเศรษฐกิจไทย ในวันที่ 'ดอกเบี้ย' ยังไม่ลดลง

เช็คลิสต์มาตรการทางการคลังที่ถาครัฐออกมาประคองเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ซึ่งจะเป็นมาตราการหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ หลังจากความเหวังเรื่องการลดดอกเบี้ยในปีนี้ริบหรี่ หลัง กนง.มองเศรษฐกิจไทยยังไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินช่วย

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุดที่คณะกรรมการ กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 ให้คงดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ระดับ 2.5% ต่อปี รวมทั้งเหตุผลที่ กนง.เสียงข้างมากระบุถึงมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยทำให้ความเป็นไปได้ในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายภายในปีนี้เป็นไปได้ยาก

ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FED) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ที่ออกมาผ่านถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอร์โรม พาวเวลล์ ที่ระบุว่าระดับเงินเฟ้อสหรัฐฯทำให้การคงดอกเบี้ยในระดับสูงในระดับยาวนาน หรือ Higher for longer  ยังมีความจำเป็น ทำให้แนวโน้มการลงดอกเบี้ยในสหรัฐฯในปีนี้อาจถูกเลื่อนไปในช่วงเดือน ก.ย.จากเดิมที่คาดว่าในเดือน มิ.ย.นี้ก็จะมีการลงดอกเบี้ยนโยบายลง

 สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ความหวังของรัฐบาลที่จะมี “มาตรการทางการเงิน” หรือ มาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีความเป็นไปได้น้อยลง ดังนั้นภาครัฐจึงต้องเร่งเดินหน้ามาตรการทางการคลัง ควบคู่ไปกับการผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 3% ซึ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ยังไม่รวมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการดิจิทัลวอลเล็ตที่จะส่งผลต่อเศษรฐกิจไทยในปี 2568

สำหรับนโยบายทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาประกอบไปด้วยมาตรการต่างๆดังนี้

1.การดำเนินการโดยนโยบายของรัฐบาล ได้แก่

- บรรเทาภาระค่าครองชีพโดยเฉพาะค่าสาธารณูปโภค

- มาตรการแก้หนี้ให้กับประชาชนทั้งระบบ

ได้แก่  มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อย โดยมีเกษตรกรลูกค้ารายย่อยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 1.8 ล้านราย มูลหนี้จำนวนประมาณ 2.56 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มีนาคม  2567)  พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพ

เพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ภายใต้หลักการ "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้" เพื่อบรรเทาภาระหนี้สิน เกษตรกรอย่างบูรณาการ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 และมาตรการช่วยเหลือพักหนี้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19

2.มาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบ เช่น มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบ วงเงิน 15,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. แห่งละ 7,500 ล้านบาท) สำหรับลูกหนี้นอกระบบที่ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ในโครงการแก้หนี้นอกระบบของรัฐบาล

วงเงิน 20,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ปลอดชำระเงินต้น 6 งวดแรก

โครงการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions: SFIs) ดำเนินการเอง เช่น โครงการสินเชื่อกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกร และผู้ยากจน และโครงการสินเชื่อเพื่อชำระหนี้สินนอกระบบ โดย ธ.ก.ส. โครงการสินเชื่อธนาคารประชาชน เพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ โดยธนาคารออมสิน เป็นต้น

3.มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อผ่านมาตรการ Easy e-Receipt ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคของประชาชน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นได้

4.มาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (VISA ให้นักท่องเที่ยวจีน คาซัคสถาน อินเดีย การขยายเวลาฬนักให้นักท่องเที่ยวรัสเซีย มาตรการยกเว้นการนรายการตามแบบรายกรของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ให้นักท่องเที่ยวมาเลเซีย ช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์  โดยมีมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียม

และทางการเงินที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้

- มาตรการทางภาษีและการบรรเทาภาระภาษี ประกอบด้วย

- การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็น ดอกเบี้ยกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

- การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  90% ของจำนวนภาษีที่ต้องเสียให้แก่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นโครงการจัดสรร อาคารชุด หรือนิคมอุตสาหกรรม เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ

 - การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับทรัพย์ส่วนกลาง ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน

- การขยายเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ในปี 2567

- การลดค่าจดทะเบียนโอน และจำนองเหลือ 0.1%  สำหรับบ้านไม่เกิน 7 ล้านบาท  

- ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาสำหรับ “สร้างบ้านใหม่” วงเงินล้านละ 1 หมื่นบาท (ไม่เกิน 1 แสนบาท/ราย)

- โครงการสินเชื่อวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท

1) Happy Home วงเงิน 20,000 ล้านบาท

- ขอสินเชื่อซื้อบ้านและอยู่อาศัย (ธอส.)

- ดอกเบี้ยคงที่3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี

- สูงสุด ไม่เกิน 3,000,000 บาท/ราย

2)  Happy Life วงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท

 -  เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด /ปลูกสร้างอาคาร ซื้อที่ดิน ไถ่ถอน ฯลฯ

- อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.98% ต่อปี

- วงเงินต่อรายตั้งแต่ 2,500,000 บาทขึ้นไป

3)สินเชื่อบ้านออมสินเพื่อประชาชน  วงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท

- สินเชื่อซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด หรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัย

- อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.95% ต่อปี (ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.95%)

- วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด ไม่เกิน 7,000,000 บาท

4) โครงการสินเชื่อ D-HOME (ธนาคารออมสิน) 10,000 ล้านบาท

- สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการลงทุน ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง  

- ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3.50% ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 4 ปี  ฟรีค่าธรรมเนียม

5)โครงการบ้าน BOI

- เว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี วงเงิน ไม่เกิน 100%  ของเงินลงทุน

- สร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
-  ขอรับการส่งเสริมภายในทำการสุดท้ายของปี 2568 

ในช่วงเวลาของปีนี้ต้องจับตาดูว่ามาตรการทางการคลังทั้งหมดที่ภาครัฐพยายามเข็นออกมาในช่วงปลายปีที่แล้วถึงกลางปีนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้ตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่ ซึ่งการติดตามผล และประเมินมาตรการที่ออกมา