ปิดฉาก 'อรรถพล' CEO ปตท. ขอเปลี่ยนบทบาทเป็น 'ผู้ชม' บริษัทพลังงานอันดับ 1

ปิดฉาก 'อรรถพล' CEO ปตท. ขอเปลี่ยนบทบาทเป็น 'ผู้ชม' บริษัทพลังงานอันดับ 1

"อรรถพล" อำลาตำแหน่ง CEO ปตท.ขอเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชม หวังเห็นองค์กรพลังงานอันดับ 1 ของประเทศตลอดไป ระบุเป็นบ้านหลังที่ 2 หลังจากทำงานมานานถึง 35 ปี

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ CEO ปตท. คนที่ 10 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2563 - 2567 

ตลอดการทำงาน 35 ปี รับตำแหน่ง ใน ปตท. และในบริษัทในกลุ่ม ปตท.ไม่ว่าจะเป็น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท., รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท.

ปิดฉาก \'อรรถพล\' CEO ปตท. ขอเปลี่ยนบทบาทเป็น \'ผู้ชม\' บริษัทพลังงานอันดับ 1

วันที่ 12 พ.ค.2567 เป็นการทำงานวันสุดท้ายของนายอรรถพล โดยมีผู้บริหารและพนักงาน ปตท.มาให้กำลังใจบริเวณหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ ปตท.

นายอรรถพล กล่าวกับพนักงานว่า วันนี้เป็นภาพประทับใจที่สุดในการทำงาน 35 ปี ที่ ปตท. โดย ปตท.ถือเป็นบ้านหลังที่ 2 

"ตัวจากไปแต่ใจยังอยู่ เอาใจช่วยพวกเราทุกคน หวังว่าผมออกไปนั่งเป็นคนดู จะเห็นพวกเราดูแลรักษาองค์กรแห่งนี้ให้เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง และเป็นองค์กรอันดับ 1 ของประเทศตลอดไป ขอบคุณทุกคนจากใจจริง รักทุกคน ขอบคุณครับ"

ปิดฉาก \'อรรถพล\' CEO ปตท. ขอเปลี่ยนบทบาทเป็น \'ผู้ชม\' บริษัทพลังงานอันดับ 1

นอกจากนี้ นายอรรถพล ได้รับการคัดเลือกเป็น CEO of the Year จาก "กรุงเทพธุรกิจ" 2 ปี ซ้อน ในปี 2564-2565 หลังจากเข้ารับตำแหน่ง CEO ปตท.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2563 ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ขยายวงกว้าง และรัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ภารกิจแรกที่เข้ามารับตำแหน่ง CEO ปตท.ต้องรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

หลังจากนั้น ปตท.กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่เป็น “Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต” โดยดำเนินธุรกิจควบคู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เพื่อเข้าสู่ธุรกิจพลังงานอนาคต และเติบโตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงระยะยาว

ปิดฉาก \'อรรถพล\' CEO ปตท. ขอเปลี่ยนบทบาทเป็น \'ผู้ชม\' บริษัทพลังงานอันดับ 1

ในปี 2565 ปตท.ได้กำหนดแผนธุรกิจสู่ความยั่งยืน ซึ่งมองความท้าทายที่โถมเข้ามาในภาคธุรกิจทั้งดิจิทัลดิสรัป วิกฤติโควิด-19 ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ 

ปตท.มองว่าทิศทางอุตสาหกรรมพลังงานมุ่งสู่พลังงานสะอาดและพลังงานไฟฟ้า ในสถานการณ์ดังกล่าวการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond" จะเป็นตัวผลักดันให้ธุรกิจของ ปตท.เติบโตอย่างยั่งยืน 

ปิดฉาก \'อรรถพล\' CEO ปตท. ขอเปลี่ยนบทบาทเป็น \'ผู้ชม\' บริษัทพลังงานอันดับ 1

นอกจากนี้ ปตท.มีแผนที่จะสร้างกำไรจากธุรกิจใหม่ 30% ในปี 2030 พร้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 15% เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ปี 2040 และเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ปี 2050 ส่วนบริษัทในกลุ่มปตท. ทุกบริษัทจะต้องตั้งเป้าหมาย Net Zero ให้เร็วกว่าที่ประเทศตั้งเป้าไว้ในปี 2065

ดังนั้น ปตท.มีเป้าหมายพลังงานสะอาดจาก 12,000 เมกะวัตต์ เป็น 15,000 เมกะวัตต์ ปี 2030 ส่วนธุรกิจกักเก็บพลังงาน มีหลายเทคโนโลยี ซึ่ง ปตท.ได้ศึกษางานวิจัยทั่วโลก ทั้งอเมริกาและจีน ซึ่งจีนได้ทำในขนาดเกิกะสเกล 

ปิดฉาก \'อรรถพล\' CEO ปตท. ขอเปลี่ยนบทบาทเป็น \'ผู้ชม\' บริษัทพลังงานอันดับ 1

รวมทั้ง ปตท.เดินหน้าธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV Value Chain) จากนโยบายภาครัฐที่อยากให้เกิดธุรกิจอีวีในประเทศไทย โดยเริ่มเข้าไปลงทุนเกือบทั้ง Value Chain อาทิ 

จัดทั้งตั้งโรงงานแบตเตอรี่, โรงงานผลิตและประกอบรถอีวีแบบครบวงจรรูปแบบใหม่, บริการ EV Charger, บริการสวอพ แอนด์ โก บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ และบริการเช่ารถ EVme ที่ปีจุบันมีรถอีวีบริการราว 800 คัน อัตราการเช่า 80%

สำหรับธุรกิจกลุ่มไลฟ์สไตล์ ปตท.ได้ลงทุนในบริษัทโลตัส ผู้ผลิตยาที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน ซึ่งประสบความสำเร็จเกี่ยวกับยาต้านมะเร็งที่สหรัฐ และได้ตั้งบริษัท นิวทรา รีเจนเนอเรทีฟ โปรตีน (NRPT) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Innobic และ Nove Foods เพื่อผลิตอาหารประเภท Plant-based เพื่อจำหน่ายในไทยและเอเชีย 

ปิดฉาก \'อรรถพล\' CEO ปตท. ขอเปลี่ยนบทบาทเป็น \'ผู้ชม\' บริษัทพลังงานอันดับ 1

นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท.ได้ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ในพื่นที่อ่าวไทย ร่วมถึงการนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์สูงสุด (CCU) เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ลดการปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ มี 4 โครงการ ได้แก่ โครงการโซเดียม ไบคาร์บอเนต, โครงการ Animal Protein, โครงการ Methanal และโครงการ Nano Calcium Carbonate