กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ยกครูบัญชีอาสา แบบอย่างการพลิกชีวิต โดยใช้บัญชีนำทาง

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ยกครูบัญชีอาสา แบบอย่างการพลิกชีวิต โดยใช้บัญชีนำทาง

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ยกย่องเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาบัญชีฟาร์ม ระดับประเทศ ปี 2567 เป็นแบบอย่างความสำเร็จในการนำ “บัญชี”เป็น วัคซีนแก้จน ลดต้นทุน ลดรายจ่าย ลดหนี้สิน เพิ่มรายได้ จากการประกอบอาชีพ พร้อมถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนให้มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

KEY

POINTS

เช่นเดียวกับ นางประสาน พาโคกทม ครูบัญชีอาสา จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม ประจำปี 2567 รองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบันทำไร่นาสวนผสม มีความคิดริเริ่มในการทำบัญชีมาตั้งแต่ปี 2556 แต่ยังไม่เป็นระบบ กระทั่งในปี 2560 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ร้อยเอ็ด เข้ามาให้คำแนะนำในการจดบันทึกทางบัญชีที่ถูกต้อง ทำให้สามารถนำข้อมูลวิเคราะห์มาวางแผนในการทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากอดีตที่ยังไม่ได้จด ยังไม่ได้หาเหตุผลในการใช้จ่าย ยังไม่รู้จักวิเคราะห์ต้นทุนในอาชีพ ที่ทำ ทำให้ไม่สามารถรู้ต้นทุนที่แท้จริงได้

การจดบันทึกบัญชีเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นสิ่งที่ผ่านมา เมื่อได้จดและนำข้อมูลที่จดมาพิจารณาวางแผนจึงรู้จักตัวเองมากขึ้น สามารถลดต้นทุนจากอาชีพที่ทำ และรู้จักการต่อยอด เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ครอบครัวเข้มแข็ง มีเงินออม ไม่มีหนี้สิน และสามารถ ซื้อที่ดินเพื่อขยายการผลิตได้

จากคำกล่าวของครูบัญชีอาสาทั้ง 3 ท่าน เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า บัญชีครัวเรือนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ ทำให้การบริหารการเงินในครัวเรือนมีระเบียบ รู้ถึงที่มาของรายรับและที่ไปของรายจ่าย ทำให้รู้จักบริหารเงินในครอบครัวให้มีความพอดีเหลือไว้พอใช้และไว้เก็บออมอีกด้วย

นางอวยพร ราชเล็ก เกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม จังหวัดพัทลุง ผู้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม ประจำปี 2567 ระดับประเทศ เปิดเผยว่า มีความคิดริเริ่มในการทำบัญชีมาตั้งแต่ปี 2540 เนื่องจากครอบครัวประสบปัญหาทางการเงินและคิดว่าควรทำอย่างไรให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นหรือลดรายจ่ายลง จึงเข้าไปขอรับองค์ความรู้ด้านการทำบัญชีครัวเรือนจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พัทลุง

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ยกครูบัญชีอาสา แบบอย่างการพลิกชีวิต โดยใช้บัญชีนำทาง

โดยมุ่งมั่นในการนำความรู้ทางบัญชีไปวิเคราะห์ต้นทุน เพื่อแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ หลังจากได้มีการบันทึกบัญชี ทำให้รู้ว่างานเกษตรที่ทำอยู่ มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน จึงได้นำข้อมูลทางบัญชีที่มีการบันทึกไว้มาดูย้อนหลัง เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาในเรื่องการลดต้นทุนอาชีพ พัฒนาควบคู่ไปกับการทำสวนเกษตรผสมผสาน โดยการยกเลิกการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาต้นทุนสูงมาใช้เป็นปุ๋ยหมักแทน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้ฐานะทางการเงินดีขึ้นตามลำดับ

 

หลังจากที่สามารถพึ่งพาตนเองและครอบครัวผ่านวิกฤติด้านเศรษฐกิจไปได้ จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดความรู้ด้านบัญชี เผยแพร่สิ่งที่ตนเองทำและประสบความสำเร็จไปสู่ผู้คนในชุมชน เยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไป โดยเปิดศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงและศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (เครือข่าย) รวมทั้งจัดตั้ง “ชุมชนคนทำบัญชี” สร้างแรงจูงใจจากความสำเร็จที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า จากผลความสำเร็จของตนเองให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ มุ่งหวังให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับการจดบันทึก ทางบัญชี ศึกษาความสำเร็จของครูบัญชี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผน การใช้จ่าย การลงทุนในการเปลี่ยนแปลงการทำเกษตรของตนเองไปในทิศทางที่ถูกต้อง

ด้าน นางสามัญ โล่ห์ทอง ครูบัญชีอาสา จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม ประจำปี 2567 รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ เปิดเผยว่า มีอาชีพทำนามาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะทำนาแบบดั้งเดิม ไม่รู้รายรับ รายจ่าย ไม่รู้กำไรขาดทุน กระทั่งในปี 2548 ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีแก่เกษตรกรไทยของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ทำให้ได้รับ

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ยกครูบัญชีอาสา แบบอย่างการพลิกชีวิต โดยใช้บัญชีนำทาง

ความรู้ด้านการบันทึกบัญชีรับ - จ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพมาประยุกต์ใช้ และทราบว่าอาชีพทำนานั้นมีต้นทุนค่อนข้างสูง จำเป็นต้องนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์ วางแผนการผลิต 

สิ่งแรกเริ่มจาก การปรับตนเอง ปรึกษากับครอบครัวและลงมือทำ ปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีมาเป็นการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้แทนปุ๋ยเคมี ซึ่งช่วยลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าข้าวเปลือกแปรรูปเป็นข้าวสารอินทรีย์ จัดจำหน่ายเอง เพราะสามารถเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าเองได้ โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

นอกจากนี้ ยังนำข้อมูลทางบัญชีมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ส่งผลให้สถานะของครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลง ไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว ก็พัฒนาตนเองเป็นอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี (ครูบัญชีอาสา) นำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรและผู้นำชุมชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการจดบันทึกรายได้ ค่าใช้จ่าย ของตนเองทุกวัน

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ยกครูบัญชีอาสา แบบอย่างการพลิกชีวิต โดยใช้บัญชีนำทาง

เพื่อสร้างความรับผิดชอบ เกิดความเคยชิน บันทึกบัญชีอย่างสม่ำเสมอให้ติดเป็นนิสัย และได้รับเชิญ ให้เป็นวิทยากรไปสอนแนะการจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร เยาวชน และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง