สศช.ชี้ NPL บ้านต่ำ 3 ล้านพุ่ง หนี้เสียลามชนชั้นกลาง จี้ปรับโครงสร้างหนี้
สศช.ชี้ NPL บ้านต่ำ 3 ล้านพุ่ง สัญญาณหนี้เสียลามชนชั้นกลาง จี้ปรับโครงสร้างหนี้ หลังหนี้กลุ่มนี้พุ่ง 7% สวนทางไตรมาสก่อนที่หดตัว 1.7% ชี้ต้องปรับโครงสร้างเป็นรายบุคคล ช่วยไม่ให้คนถูกยึดบ้าน
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2567 โดยในส่วนของหนี้ครัวเรือนไทยที่มีข้อมูลจากไตรมาสก่อนมีมูลค่า 16.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 91.3% ต่อจีดีพี ขยายตัวชะลอลง ขณะที่คุณภาพสินเชื่อด้อยลงในทุกประเภท
โดยมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การติดตามแนวโน้มหนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะสินเชื่อวงเงินน้อยกว่า 3 ล้านบาท ที่สูงขึ้นจนน่าตกใจจาก -1.7% ในไตรมาสก่อน มา+ 7% ในไตรมาสนี้ 73.4% เป็นหนี้เสียของสินเชื่อบ้านที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท
ซึ่งการแก้ปัญหาต้องทำโดยการประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้เรื้อรังเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเชื่อกับสถาบันการเงินเป็นรายๆ
ทั้งนี้ในภาพรวมหนี้ครัวเรือนขยายตัวชะลอลงเกือบทุกประเกทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อยานยนต์หดตัว ด้านความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนด้อยลงทุกประเภท
โดยหนี้เสียของ ธนาคารพาณิชย์ มีมูลค่า 1.58 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.88 ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.79 ใน
ไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ สศช.ย้ำว่า ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่
1.แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงินน้อยกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นหนี้ของครัวเรือนรายได้ระดับปานกลางหรือล่าง โดยอาจต้องเฝ้าระวังและเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสีย
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ส่วนนี้มาจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจรวมกับภาวะดอกเบี้ยที่สูงขึ้นซึ่งธนาคารต้องเข้าไปดูลูกหนี้ในส่วนนี้เป็นรายบุคคลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ก่อนที่จะมีปัญหาโดยสาระชอยังเน้นว่ายังไงต้องทำให้ซึ่งธนาคารต้องเข้าไปดูลูกหนี้ในส่วนนี้เป็นรายบุคคลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ก่อนที่จะมีปัญหาโดยสาระชอยังเน้นว่ายังไงต้องทำให้คนนั้นยังมีบ้านในการอยู่อาศัยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามไปสู่ส่วนอื่น
และ 2.การเร่งรัดสถาบันการเงิน ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกหนี้เรื้อรังเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มษายน 2567โดยอาจต้องเร่งสื่อสาร พร้อมมีแนวทางการปิดจบหนี้ที่เหมาะสมกับลูกหนี้รายกรณี เพื่อให้การดำเนินมาตรการประสบความสำเร็จ และเกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน