Soft Power ไทย ขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัย ไปสู่ชุมชน
ความเคลื่อนไหว Soft Power ไทย ขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัย ไปสู่ชุมชน เริ่มจากท้องถิ่นสร้างฐานรากที่เข้มแข็งของประเทศ
การสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งยั่งยืน ด้วย Soft Power ขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยไปสู่ท้องถิ่นชุมชน ย่อมเป็นเรื่องสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
น่าสนใจวันนี้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดสัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ในหัวข้อ "Soft Power อำนาจละมุน ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อุดรธานี" ซึ่งจัดขึ้นโดยนักศึกษาปริญญาโท รุ่นที่ 6 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ Soft Power ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการพัฒนาที่ยั่งยืนในจังหวัดอุดรธานี
เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ในการพัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในระดับท้องถิ่นให้เติบโต
มีผู้เข้าร่วมสัมมนา อย่าง กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร รองประธานหอการค้า จ.อุดรธานี และประธานคณะทำงานขับเคลื่อน Soft Power จ.อุดรธานี , พูนเกียรติ พุทธรักษ์ รองนายกเทศมนตรีนครอุดรธานี
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่
- สมาชิกหอการค้าจังหวัดอุดรธานี
- สมาคมชาวเวียดนามจังหวัดอุดรธานี
- สมาคมนักธุรกิจชาวเวียดนามจังหวัดอุดรธานี
- สมาคมส่งเสริมพ่อค้าจีนจังหวัดอุดรธานี
- ผู้แทนชมรมธนาคารจังหวัดอุดรธานี
- เครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP
- เครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี
- คณะกรรมการศาลเจ้าปู่ - ย่า จังหวัดอุดรธานี
- คณะกรรมการมูลนิธิศาลเจ้าปู่ - ย่า จังหวัดอุดรธานี
- สื่อมวลชน
- หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
- บุคคลทั่วไป
กล่าวคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับสถาบันการศึกษาที่ก้าวทันนโยบายประเทศ สร้างการรับรู้ระดับชุมชน
แน่นอนว่า การนโยบายจากบนลงล่าง จากรัฐบาลสู่ภูมิภาคระดับจังหวัด ยังไม่มีความคืบหน้าเคลื่อนไหวมากนัก หากตัดประเด็นการทำนโยบายเชิงการเมือง เป็นการบูรณาการเชิงการศึกษา สร้างความรู้ความสนใจแก่ผู้นำชุมชนให้แพร่หลาย ย่อมสร้าง Soft Power ของไทยในระดับฐานรากให้เป็นพื้นฐานที่จะทำให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับชุมชนเข้มแข็งได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :