"พิชัย' แจงหนี้รัฐบาลขยายตามเศรษฐกิจโต คาดปี 70 เริ่มกลับสู่การคลังสมดุล

"พิชัย' แจงหนี้รัฐบาลขยายตามเศรษฐกิจโต คาดปี 70 เริ่มกลับสู่การคลังสมดุล

"พิชัย" แจงงบปี 68 กู้ขาดดุล 8.65 แสนล้าน เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ดันเม็ดเงิน "ดิจิทัลวอลเล็ต" เข้าสู่ระบบเร่งการผลิตและจ้างงานในประเทศ ระบุยอดกู้ขาดดุลจะยังเพิ่มขึ้นเพื่อเร่งเศรษฐกิจให้ขยายตัวตามเป้า ภายใต้กรอบวัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงต่อที่ประขุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ. 2568 ในวาระแรกว่า งบประมาณรายประจำปี 2568 จะต้องกู้ขาดดุล 8.65 แสนล้าน เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจไทยหลังจากวิกฤติต้มยำกุ้งที่เติบโตลดลงมาเรื่อยๆ จากที่ขยายตัวได้ 2 หลัก สู่การหดตัว 0.4% ในช่วงวิกฤติโควิด-19 สะท้อนให้เห็นภาวะผิดปกติของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากสาเหตุหลักคือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ขาดขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในสินค้าดั้งเดิมแ ละเกษตรกรรมที่มีต้นทุนสูง

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อผลักดันไทยให้ก้าวไปสู่ Digital Economy หรือ Green Economy ไม่สามารถทำได้ในระยสั้นเพียง 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยรัฐบาลได้วางแผนการจัดทำงบประมาณทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจประเทศเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตและสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในที่สุด
 


"ทั้งนี้ ไม่ว่าจะการจัดทำงบประมาณจากนี้ จะขาดดุลเท่าไหร่ก็ตาม แต่กรอบวินัยการเงินการคลังจะเป็นสรณะที่คงไว้ ให้อยู่ในกรอบที่สามารถอธิบายได้และมีความเข้มแข็ง"

นายพิชัย กล่าวต่อว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้สะท้อนให้เห็นว่าภาคครัวเรือนขาดกำลังซื้อจากยอดขายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ในประเทศที่หดตัว รวมทั้งภาคการผลิตและผลผลิตการเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนเดียวที่สามารถขยายตัวได้และมีแนวโน้มจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ  ดังนั้นแปลว่าแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต่อไปในอนาคตอาจน้อยลงหรือเท่าเดิมหากไม่มีมาตรการเข้ามาช่วยเพิ่มเติม ดังนั้นจึงเห็นได้ว่างบประมาณที่จัดสรรเพื่อเข้ามากระตุ้นในภาคส่วนเหล่านี้อย่างจริงจัง

นอกจากนี้ ปัญหาที่สะสมมานานคือ หนี้ภาคครัวเรือนในปัจจุบันมากกว่า 90% ของจีดีพี หรือประมาณ 17 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะหนี้ที่อยู่อาศัยและยานพาหนะ ที่เริ่มจะมีปัญหนี้เสียเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการเติบโตเศรษฐกิจในระดับต่ำทำให้มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ความสามารถในการชำระหนี้จึงน้อยลง ส่งผลให้หนี้เพิ่มขึ้นโดยปริยาย

เช่นเดียวกับหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการกู้ขาดดุลเพิ่มขึ้นจาก 11 ล้านล้าน เพิ่มขึ้นไปแตะ 12 ล้านล้าน จาก 15 ปีก่อนที่ไทยมีสถานการเงินที่เข้มแข็งมากและมีหนี้สาธารณะอยู่ที่ 5 ล้านล้านบาท ไม่ถึง 50% ของจีดีพีเท่านั้น  อย่างไรก็ตามหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไทยก็ไม่ได้มีระดับสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะสหรัฐ หรือญี่ปุ่น และยังมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ดี ซึ่งแปลว่าเรายังมีช่องทางที่จะบริหารและปรับปรุงประเทศผ่านระบบงยประมาณในอนาคต

ดังนั้นมาตรการระยะสั้นที่รัฐบาลจะมุ่งแก้ปัญหาก่อน  ได้แก่ 1.การช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย โดยใช้เครื่องมือคือสถานบันการเงินของรัฐ อย่างธนาคารออมสิน ที่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ราว 4 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้แบงก์พาณิชย์สนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่ออีกด้วย

2.มาตรการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้หลุดจากประวัติการเป็นหนี้เสีย (NPL) และประวัติในเครดิตบูโร เพื่อสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อีกครั้ง

"มาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลจะทำ และแนวโน้มการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น การส่งออกที่กลับมาดีขึ้น และการอัดฉีดเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบได้มากขึ้น จะทำให้จากเดิมที่คาดว่าเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้ 2.5% จะเพิ่มขึ้นได้ถึงเป้า 3.0%"

นายพิขัย กล่าวว่า การจัดทำงบประมาณปี 2568 จะเป็นจังหวะที่ดีที่้จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะเติมเม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจ ผ่านการบริโภคและการลงทุนของรายย่อย ไปสู่การเพิ่มกำลังการผลิตของรายใหญ่ที่จะสร้างการจ้างงานในประเทศ โดยพยายามที่จะให้สินค้าที่มีการใช้จ่ายในโครงการเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศมากที่สุด

ทั้งนี้ การขาดดุลลงบประมาณเป็นเรื่องจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามจะต้องคงไว้ซึ่งความเข้มแข็งของกรอบวินัยการเงินการคลัง ซึ่งต่อจากนี้อีกหลายปี ก็จะยังมียอดขาดดุลเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการจ้างงาน ดังนั้นเมื่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการจัดเก็บรายได้ของรัฐก็จะเพิ่มขึ้นและเริ่มทำให้ยอดหนี้สาธารณะเริ่มลดลงในปี 2570

นายพิชัยกล่าว หลังจากปี 2569 เป็นต้นไปอัตราการขยายตัวของรายได้รัฐบาลจะมากกว่าอัตราการขยายตัวของรายจ่ายและส่งผลให้การขาดดุลทางการคลังลดลงตามลำดับ แรงกดดันของหนี้สาธารณะจะค่อยๆ ลดลง

โดยรัฐบาลจะมุ่งแก้ปัญหาระยะสั้นคือเรื่องปากท้องของประชาชน และปัญหาระยะยาวในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการคลังที่สอดคล้องกับนโยบายการเงินเพื่อยกระดับให้การเติบโตของเศรษฐกิจสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่กับการรักษาความยั่งยืนทางการคลังอย่างเคร่งครัด