โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย

โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย

CP ร่วมมือรัฐบาลจีน พัฒนาโครงการเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ มณฑลเจ้อเจียง สร้างต้นแบบการใช้วันตกรรม สร้างระบบเกษตรครบวงจร พร้อมเปิดเวทีให้นักศึกษาธรรมศาสตร์ 6 คณะ ได้เรียนรู้

นับตั้งแต่รัฐบาลจีนมีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศในปี 2522 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) หรือ เจินต้า (เจียไต๋) เป็นบริษัทข้ามชาติบริษัทแรกที่จดทะเบียนบริษัทในหมายเลข 0001 รวมใช้งบลงทุนไปเกือบ 6,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 192,000 ล้านบาท

ธุรกิจในจีนของ ซี.พี.มีจำนวน 213 บริษัท มีพนักงานรวม 80,000 คน มียอดขายรวมมากกว่าปีละ 50,000 ล้านหยวน หรือ 270,000 ล้านบาท นอกจากการลงทุน

นอกจากการเข้ามาลงทุนตามแผนธุรกิจแล้ว ซี.พี.ได้มีโครงการที่ร่วมมือกับรัฐบาลจีนเมื่อปี 2550 เพื่อสร้างโมเดลการพัฒนาเกษตรกรรม โดยเลือกพื้นที่เมืองฉือซี มณฑลเจ้อเจียง จัดตั้งเป็น “โครงการเกษตรกรทันสมัยฉือซี” เพื่อสร้างต้นแบบเกษตรกรรมครบวงจร

สำหรับโครงการเกษตรกรรมทันสมัยฉือซี อยู่ใกล้นครเซี่ยงไฮ้ จะครบจรจรมีทุกอย่างในพื้นที่ทั้งการปลูกพืชและปศุสัตว์ พร้อมนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำเกษตร เช่น โดรน ระบบจีพีเอส เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารป้อนประชาชนรอบนครเซี่ยงไฮ้กว่า 100 ล้านคน โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย

โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย พื้นที่ดังกล่าวเกิดจากที่ดินเกิดใหม่จากตะกอนทับถมบริเวณปากแม่น้ำจึงมีปัญหาดินเค็มที่เป็นอุปสรรคต่อการเกษตร ซึ่งทำให้รัฐบาลจีนต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสร้างอาชีพให้ประชาชน

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาโครงการดังกล่าวแบบครบวงจรที่ครอบคลุมอาหารสัตว์ ฟาร์ม การแปรรูป รวมถึงศูนย์วิจัยและพัฒนา

การสร้างอีโคซิสเต็มของโครงการเกษตรกรทันสมัยฉือซี มีแนวทางประกอบด้วย

1.อุตสาหกรรมปศุสัตว์เจ้อเจียง เช่น ฟาร์มไก่ ฟาร์มสุกร

2.อุตสาหกรรมไข่ Cixi Zhengda ที่เลี่ยงไก่ไข่ 1 ล้านตัว ในรูปแบบเชิงนิเวศน์ที่ผสมผสานการเพาะพันธุ์ไก่ไข่ การแยกชั้นไข่และการแปรรูปแบบลึก และการแปรรูปปุ๋ยอินทรีย์

3.อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ครอบลุมอาหารสัตว์ปีกกำลังการผลิตปีละ 120,000 ตัน และสัตว์น้ำปีละ 60,000 ตัน

4.โลจิสติกส์ ที่มีระบบคลังสินค้าและรถขนส่งห้องเย็น 

5.ศูนย์วิจัยระดับโลก “จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร” ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยหลักของ ซี.พี.ที่อยู่ในจีน

6.ศูนย์อีคอมเมิร์ซ เพื่อส่งผลผลิตภัณฑ์ไปสู่แพลตฟอร์ม เช่น อาลีบาบา , JD.Com , Meituan ซึ่งเป็นศูนย์นวัตกรรมอินเตอร์เน็ตสำหรับซัพพลายเชน

7.ศูนย์พัฒนาเกษตรกรท้องถิ่น โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย

โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย นายธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ซี.พี.ดำเนินธุรกิจมา 103 ปี เป็นบริษัทต่างชาติรายแรกที่เข้ามาลงทุนในจีน โดยการไปลงทุนในต่างประเทศดำเนินการตามนโยบายของนายธนินท์ ที่ยึด 3 ประโยชน์ โดยต้องสร้างประโยชน์ต่อประเทศที่เข้าไปลงทุน สร้างประโยชน์ต่อประชาชนและสร้างประโยชน์ต่อองค์กร

ทั้งนี้ นายธนินท์ ต้องการให้การไปลงทุนในแต่ละประเทศสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคได้อาหารที่ทีราคาถูกลง โดยการลงทุนของ ซี.พี.จะให้ความสำคัญกับเกษตรสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีจากทั่วโลก

สำหรับโครงการเกษตรกรทันสมัยฉือซี เป็นต้นแบบของการพัฒนาการเกษตรด้วนวัตกรรม โดยพื้นที่ที่มีดินเค็มทำให้มีการแก้ปัญหาดินเค็มเพื่อสร้างฟาร์มอัจฉริยะ

รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้การการเกษตร เช่น การปลูกข้าวแบบน้ำท่วมขังพร้อมกับการเลี้ยงปลา ซึ่งการปล่อยน้ำจะทำให้ศัตรูพืชตายและเมื่อปล่อยปลาเข้านาข้าวจะทำให้ปลาเข้าไปกินแมลง จากนั้นเป็นการปล่อยปลากลับเข้าสู่บ่อ โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย

นายประเสริฐศักดิ์ องค์วัฒนกุล ที่ปรึกษาอาวุโส กลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมในจีน เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ซี.พี.ได้รับนักศึกษามาฝึกงานที่ที่โครงการเกษตรกรทันสมัยฉือซี เพื่อรับรู้แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้งานในแต่ละส่วนทั้งในฟาร์ม โรงงานและศูนย์วิจัยพัฒนา โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยปี 2567 นับเป็นปีที่ 8

สำหรับโครงการฝึกอบรมบุคลากรและนักศึกษาเพื่อการวิจัยและการพัฒนาทางด้านศึกษา เป็นความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงระหว่างเครือซีพีและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามนโยบายนายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วม 6 คณะ รวม 24 คน และปี 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 มิ.ย.ถึง 1 ก.ค.2567 โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย

นายชนสรณ์ กิมติน นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยการเรียนนิติศาสตร์มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร เช่น กฎหมายที่ดิน กฎหมายเช่าซื้อที่ดินที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร

ทั้งนี้การมาฝึกงานครั้งนี้ทำให้ได้รับองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงรายละเอียดของการดำเนินธุรกิจ

“ที่โครงการเกษตรกรทันสมัยฉือซี มีศูนย์นวัตกรรมที่วิจัยอาหารที่ที่เข้าถึงผู้บริโภคแต่ละมณฑล และชอบอาหารที่มีรสชาติแตกต่างกัน จะมีการปรับสูตรที่ลงรายละเอียด เช่นเดียวกับการเรียนนิติศาสตร์ที่ต้องการความรอบคอบเพื่อพิจารณาประเด็นที่ได้รับจากลูกความหากเราเป็นทนาย”

โมเดลเกษตรทันสมัย ‘ฉือซี’ CP พัฒนาต้นแบบยกระดับนักศึกษาไทย