ธรรมนัส ใส่เกียร์ถอย ‘โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ‘ ปัญหารุม ทำไม่ทัน

ธรรมนัส ใส่เกียร์ถอย ‘โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ‘ ปัญหารุม ทำไม่ทัน

ธรรมนัส เล็งเสนอ ครม.เศรษฐกิจ ถกทางออก ‘ปุ๋ยคนละครึ่ง’ จะไปต่อหรือพอแค่นี้ หลังปัญหารุมเกษตรกรไม่มีเงินสมทบ หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย เสียประโยชน์ การเมืองท้องถิ่นเป็นอีกสาเหตุทำให้โครงการหยุดชะงัก ลั่นปีนี้ไม่ทันก็ไปใช้ปีหน้า

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว  หรือ โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ขณะนี้ ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการฯ แม้จะผ่านความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วก็ตาม

ธรรมนัส ใส่เกียร์ถอย ‘โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ‘ ปัญหารุม ทำไม่ทัน

จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาสร้างความเข้าใจที่ตรงกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะหลายฝ่ายยังเข้าใจคาดเคลื่อนและนำเอาโครงการเยียวยาไร่ละ 1,000 บาท มารวมกันกับโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง แต่หากกล่าวตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เป้าหมายคือการลดต้นทุนการผลิตให้กับชาวนาและนำไปสู่โครงการปุ๋ยแม่นยำเพื่อเพิ่มผลผลิตในการปลูกข้าว

ส่วนปัญหาความล่าช้าของโครงการในขณะนี้ ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรียกประชุมหารือเร่งด่วนในระดับผู้บริหารกระทรวงฯว่าจะดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ รวมทั้งจะนำเรื่องนี้ หารือในการประชุม ครม. เศรษฐกิจ ว่าจะเดินหน้าต่อในรูปแบบใด

“ ยอมรับว่า ปัญหาทางการเมือง ก็เป็นอีก ปัจจัยที่ทำให้โครงการ ปุ๋ยคนละครึ่ง ต้องหยุดชะงัก เพราะขณะนี้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเสียผลประโยชน์ แต่ก็อยากให้เข้าใจและคำนึงถึงผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นหลักที่ต่างรอความหวังนโยบายขับเคลื่อนจากภาครัฐ”

ธรรมนัส ใส่เกียร์ถอย ‘โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ‘ ปัญหารุม ทำไม่ทัน

การเดินหน้าต่อในโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ณ เวลานี้ เป็นห่วงเรื่องกรอบระยะเวลาจะไม่ทันฤดูการเพราะปลูก2567 หากใช้เวลาทบทวนศึกษาเป็นเวลานาน โดยโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ภาคการผลิตที่จะนำไปสู่โครงการใช้ปุ๋ยแม่นยำ เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร และเพิ่มคุณภาพข้าว ซึ่งไม่ใช่โครงการเดียวกันกับโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือโครงการไร่ละ 1,000 บาท ที่รัฐบาลจะเข้ามาช่วยเกษตรกรในช่วงที่ข้าวราคาตกต่ำ ซึ่งหากโครงการปุ๋ยคนละครึ่งไม่สามารถดำเนินการได้ทันในฤดูการผลิตนี้ ก็จะถือเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการในปีถัดไป และจะพยายามทำให้ดีที่สุด

  ธรรมนัส ใส่เกียร์ถอย ‘โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ‘ ปัญหารุม ทำไม่ทัน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ เร่งพัฒนาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพข้าว ทั้งในเรื่องของกลิ่นและรสชาติ เพื่อทวงความเป็นแชมป์ของไทยกลับคืนมา นอกจากนี้ ยังสนับสนุนข้าวพันธุ์ GI ในการสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีข้าว GI ถึงกว่า 30 สายพันธุ์ ที่เหมาะสมในการปลูกในแต่ละพื้นถิ่น จึงขอยืนยันว่า กระทรวงเกษตรฯ ไม่เคยหยุดนิ่ง และพร้อมที่จะขับเคลื่อนตามนโยบายตลาดนำ นวัตกรรม”เสริม’เพื่อเพิ่มรายได้ และมุ่งหวังในการสร้างความมั่นคงให้กับภาคการเกษตรให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ระดับประเทศ ครั้งที่ 2/2567 โดยมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม​ เช่น​ กรมการข้าว /กรมส่งเสริมการเกษตร /กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ​เพื่อสรุปความพร้อมของแต่ละหน่วยงานในการดำเนินโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง 

โดยที่ประชุมได้มอบให้ กรมส่งเสริมการเกษตร หาข้อสรุปเรื่องของเกษตรกร และ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ต้องสอบถามความพร้อมของสหกรณ์ ในการจัดหาปุ๋ยตามความต้องการของสมาชิก 

 

ทั้งนี้นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์​ อธิบดี​ กรมการข้าว กล่าวว่า  ​ โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ​มีความเป็นไปได้ที่จะต้องเลื่อนโครงการออกไปก่อน​ ซึ่งอาจจะเป็นฤดูกาลผลิตปี 2568 เนื่องจากขณะนี้ยังมีความเห็นต่างของเกษตร​ รวมทั้งเกษตรกรบางส่วนไม่มีเงินสมทบซื้อปุุ๋ยคนละครึ่ง ​ และเกษตรกรบางส่วนเริ่มการเพาะปลูกไปแล้ว ขณะที่สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการยังมีน้อยราย หรือเพียง​ 500 แห่ง​ จากสหกรณ์ทั่วประเทศกว่า​ 1,000 แห่ง

อย่างไรก็ตามแม้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนดเดิม​ โครงการนี้อาจจะเลื่อนไปเป็นฤดูกาลเพาะปลูกหน้า​ ช่วง​เดือนมกราคม​ หรือกุมภาพันธ์ 2568 ​ ซึ่งยังอยู่ในกรอบเวลาดำเนินการ​ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม​ 2568 ส่วนผู้ผลิตปุ๋ยและชีวภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการข้าวกว่า​ 180 ราย​ นั้น​ไม่ได้รับผลกระทบใดๆหากต้องเลื่อนโครงการออกไป​ เพราะเป็นการลงทะเบียนเท่านั้นยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ​

ทั้งนี้ต้องรอมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ระดับประเทศพิจารณาอีกครั้งว่าจะมีแนวทางอย่างไร