นายกรัฐมนตรี เรียก ถกแผนบริหารจัดการน้ำ หลังท่วมไปแล้ว 11 จังหวัด
ฝนเริ่มมากขึ้นทุกภาค สถานการณ์น้ำน่าเป็นห่วงเอ่อล้นตลิ่ง นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมแผนบริหารจัดการน้ำ วันที่ 5 ส.ค. นี้ พร้อมเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แจ้งเตือนประชาชนเตรียมรับมือ ขณะ ท่วมไปแล้ว 11 จังหวัด
นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ในช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 4 ส.ค. 67 ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้กรมชลประทานติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมสั่งการให้ทำการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง เพื่อรองรับปริมาณฝนที่กำลังจะมาเพิ่มในระยะต่อไป และเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือ ให้สามารถเข้าช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ได้ทันท่วงที พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้มากที่สุด
“ในการประชุมหารือการบริหารจัดการน้ำ วันที่ 5 ส.ค. นี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธาน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนัก โดยเฉพาะในเดือน ส.ค. นี้ คาดว่าจะมีพื้นที่บางแห่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ส่วนหนึ่งเป็นอานิสงส์จากที่ไทยเข้าสู่ภาวะลานีญา และมีพายุพัดผ่านเป็นบางช่วง ทำให้ ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย11 จังหวัด “
โดยกรมชลประทานและห่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าให้ความช่วยเหลือ พร้อมสำรวจความเสียหาย พบว่า จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 2 อำเภอ ได้แก่อ.วาปีปทุม และ อ.โกสุมพิสัย รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 850 ไร่ แยกเป็น อ.วาปีปทุม มีน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ได้รับผลกระทบ 700 ไร่ และ อ.โกสุมพิสัย มีน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรบริเวณ บ้านป่าปอ อ ต.ยางน้อย ได้รับผลกระทบ 1500 ไร่
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ สำนักชลประทานที่ 6 ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ให้กับประชาชน และเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ พร้อมรับสถานการณ์น้ำไหลหลาก พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ และเครื่องสูบน้ำ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน และลงพื้นที่ติดตามความเสียหาย เพื่อหาแนวทางการดำเนินการแก้ไข โดยเปิดบานระบายน้ำ ยุบยางฝายทุกแห่ง และกําจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ติดตาม สถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิดตลอด24 ชั่วโมง
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักงานชลประทานที่6 ดำเนินการเปิดบานลอยทั้ง 4 บาน ของ ประตูระบายน้ำห้วยเชียงส่ง ใหน้ำสามารถไหลลงลำห้วยเชียงส่งได้ และสนับสนุนกระสอบทราย 300 ใบ เพื่อช่วยป้องกันพื้นที่นาที่น้ำยังท่วมไม่ถึง
จังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่ประสบอุทกภัย3 อำเภอ ได้แก่ อ.ปทุมรัตต์ อ.เกษตรวิสัย และ อ.สุวรรณภูมิ พื้นที่ การเกษตรได้รับผลกระทบ7,080 ไร่ โดย อ.ปทุมรัตต์ พื้นที่ได้รับผลกระทบช่วงฝายยางบ้านท่าม่วง ต.โพนสูง อ.เกษตรวิสัย พื้นที่ได้รับผลกระทบช่วงฝายยางบ้านเขวาน้อย-เขวาคํา ต.โนนสว่าง และ อ.สุวรรณภูมิ พื้นที่ได้รับผลกระทบช่วงฝั่งซ้ายฝายยางบ้านโพนฝ้าย ต.ดอกไม้
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ สำนักงานชลประทานที่6 ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน และเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ พร้อมรับสถานการณน้ำไหลหลาก พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ และ เครื่องสูบน้ำ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน และลงพื้นที่ติดตามความเสียหาย เพื่อหาแนวทางการดำเนินการแก้ไข โดยเปิดบาน ระบายน้ำ ยุบยางฝายทุกแห่ง และกําจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำโดยเร็วที่สุด
จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองกาฬสินธุ์ และ อ.กมลาไสย โดย อ.เมืองกาฬสินธุ์ มีน้ำท่วมพื้นที่เกษตรและพื้นที่ลุ่มต่ำ ต.หลุบ ต.ห้วยโพธิ์ และ ต.ลำพาน ได้รับผลกระทบ 6,300 ไร์ และ อ.กมลาไสย น้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่กุดกว้างใหญ่ ต.เจ้าท่า พื้นที่ได้รับผลกระทบ 1,000 ไร่
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาวสำนักงานชลประทานที่ 6 ลงพื้นที่สํารวจระดับน้ำที่เข้าท่วมขังพื้นที่การเกษตรเพื่อเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เข้าช่วยเหลือ โดยมีแผนติดตั้ง ทั้งหมด 14 จุด จำนวน 16 เครื่อง ทั้งยังเดินเครื่องสูบน้ำสถานีกุดแคน 1 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร
จังหวัดยโสธร มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 1อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองยโสธร ได้รับผลกระทบ 1,922 ไร่ โครงการชลประทานยโสธร สำนักงานชลประทานที่ 7 เตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ 13 เครื่อง และ รถบรรทุกน้ำ 1 คัน ทั้งนี้โครงการชลประทานยโสธรได้ติดตามสถานการณน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีและรายงานสถานการณ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 1 อำเภอ ได้แก่ อ.เขื่องใน บริเวณพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ ลุ่มต่ำติดห้วยพระบาง ต.ธาตุน้อย พื้นที่ได้รับผลกระทบ 50 ไร่ และบริเวณโนนเมืองหม้อ ติดริมน้ำชี ต.สหธาตุ มีน้ำท่วม ข้าวประมาณ100 ไร่ รวมพื้นที่ได้รับรับผลกระทบทั้งหมด 150 ไร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำชีตอนล่างและเซบายตอนล่าง สำนักงานชลประทานที่ 7 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำรวม 6 เครื่อง พร้อมทั้งก่อสร้างพนังกั้นน้ำชั่วคราว เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำมูล 6 เครื่อง
จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย1อำเภอ ได้แก่ อ.กบินทร์บุรี ปริมาณน้ำเอ่อล้นตลิ่งบริเวณสถานี วัดน้ำKgt.3 สะพานต้นน้ำบางประกง โครงการชลประทานปราจีนบุรี สำนักงานชลประทานที่ 9 เตรียมความพร้อมสนับสนุนเครื่องจักร-เครื่องมือใน พื้นที่ และเฝ้าระวังและติดตามสถานการณอย่างใกล้ชิด
จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองจันทบุรี อ.มะขาม อ.ขลุง และ อ.โป่งน้ำร้อน โดยอ.เมืองจันทบุรี มีน้ำท่วมพื้นที่ ต.ท่าช้าง บริเวณถนนสายตากสิน และถนนหน้าหมู่บ้านนาฏศิลป์ อ.มะขาม มีน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ ต.มะขาม ต.ปัถวี ต.ฉมัน และ ต.อ่างคีรี ได้รับผลกระทบ20 ครัวเรือน อ.ขลุง มีน้ำท่วมบริเวณ ต.มาบไพ ต.ตกพรม และ ต.บ่อเวฬุ และ อ.โป่งน้ำร้อน มีน้ำท่วมบริเวณ ม.1, 6, 12 และ 13
โครงการชลประทานจันทบุรี สำนักงานชลประทานที่9 ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเปิดประตูระบาย น้ำกลางคลองภักดีรำไพ จำนวน5 บาน และเปิดประตูระบายน้ำปลายคลองภักดีรำไพ 6 บาน เพื่อเร่งระบายน้ำหลากจากเทือกเขาสระบาปไหลลงสู่คลองภักดีรำไพ และระบายน้ำระบายลงทะเลอ่าวไทย ทั้งนี้ได้ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมเข้าช่วยเหลือตลอด24 ชั่วโมง
จังหวัดตราด มีพื้นที่ประสบอุทกภัย1 อำเภอ ได้แก่ อ.เขาสมิง มีน้ำท่วมบริเวณ ต. ต.เขาสมิง ต.วังตะเคียน ต.สะตอ และ ต.ทุ่งนนทรี ได้รับผลกระทบ20 ครัวเรือน โครงการชลประทานตราด สำนักงานชลประทานที่ 9 ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เข้าถึงพื้นที่ ให้เร็วที่สุดเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยมีการประสานหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าดูแลให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ประสบอุทกภัย1 อำเภอ ได้แก่ อ.บางน้ำเปรี้ยว ปริมาณน้ำเอ่อล้นตลิ่งบริเวณ คลองหกวาสายล่าง ต.ดอนฉิมพลี น้ำท่วมขังสูงประมาณ0.30 ม. โครงการส่งน้ำและบำรุงรัการังสิตใต้ สำนักงานชลประทานที่ 11 ดำเนินการเดินเครื่องสูบน้ำสถานีสูบน้ำกึ่งถาวรสมบูรณ์ สถานีสูบน้ำกึ่งถาวรประตูระบายน้ำปลายคลอง21 เดินเครื่องสูบน้ำ 7 เครื่อง ทั้งยังระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำปลายคลอง เพื่อระบายออกสู่แม่น้ำนครนายก และคลองแสนแสบ
จังหวัดนครนายก มีพื้นที่ประสบอุทกภัย1 อำเภอ ได้แก่ อ.องครักษ์ บริเวณ ม.2 ต.พระอาจารย์ ได้รับ ผลกระทบ7 ครัวเรือน ท่วมขังสูง 0.15 - 0.20 ม. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักงานชลประทานที่ 11 ดำเนินการเดินเครื่องสูบน้ำสถานีสูบน้ำเสาวภาผ่องศรี 3 เครื่อง ทั้งยังระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำกลางคลอง เพื่อระบายออกสู่แม่น้ำนครนายก
และ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่น้ำท่วมนอกคันกั้นน้ำ 1 อำเภอ ได้แก่ อ.เสนา มีน้ำท่วมขัง ต.หัวเวียง ได้รับรับผลกระทบ5 ครัวเรือน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ สำนักงานชลประทานที่ 12 แจ้งเตือนข่าวสารสถานการณน้ำ ให้ประชาชนรับทราบ และเตรียมการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือเหลือบริเวณพื้นที่การเกษตร
สำหรับ
สถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 42,191 ล้าน ลบ.ม. (55% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 34,146 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 10,139 ล้าน ลบ.ม. (41% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 14,732 ล้าน ลบ.ม.