'บีโอไอ' ชู 5 จุดแข็งใหม่ ดึงทุนต่างชาติ-ดันเศรษฐกิจไทยโต
"บีโอไอ" ชู 5 จุดแข็งใหม่ หวังจูงใจนักลงทุนต่างชาติ ภายใต้บริบทวิกฤติ 3 ด้านใหญ่ หวังดันไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยเติบโตยั่งยืน
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวในงานเสวนาเดลินิวส์ ทอล์ก 2024 "Thailand: Future and Beyond ก้าวต่อไปของประเทศไทย" หัวข้อ "ฝ่าลมต้านเศรษฐกิจ…สู่การเติบโตที่ยั่งยืน" ว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการลงทุนที่ดีโดยเฉพาะแหลมฉบัง แต่ขณะนี้ได้ว่างเว้นการพัฒนาขนาดใหญ่มากว่า 30 ปี
ดังนั้น ขณะนี้ ถือเป็นโอกาสทองที่ทำให้ไทยจะสร้างฐานการผลิตใหม่และสร้างเติบโตต่อไปได้ในอีกหลาย 10 ปีข้างหน้า ดังนั้น หากมองในช่วงต่อจากไป มีปัจจับท้าทายมีผลต่อลงทุน 3 เรื่อง คือ
1. ภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยโลกมีการแบ่งขั้วแบ่งค่าย ไทยมีความจุดเด่นที่มีควมเป็นกลาง
2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัททั่วโลกมีเป้าหมายบรรบลุความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero และ
3. กติการภาษีใหม่ ประทเสส่วนใหญ่บังคับใช้ในปีหน้า จะเปลี่ยนทิศทางการลงทุน
สำหรับจุดแข็งของประเทศไทย มีหลายเรื่องทั้งความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรมกว่า 70 นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่ดี ซัพลลายเชนแข็งแกร่ง มีบุคลากรคุณภาพ ตลาดเชื่อมโยงต่างประเทศ นโยบายที่เป็นกลาง และความน่าอยู่น่าเที่ยว รวมถึงโรงพยายาบาลรองรับที่ดี และโรงเรียนนานาชาติกว่า 200 แห่ง
ทั้งนี้ จุดแข็งเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างต้องการแย่งชิงโครงการที่มีคุณภาพมาลงในประเทศของตนเอง ดังนั้น ประเทศไทยควรทำเพิ่มอีก 5 เรื่อง คือ
1. เร่งผลักดันกลไกการจัดหาพลังงานสะอาด ในราคาที่เหมาะสม
2. เร่งขยาย FIA เป็นตลาดการค้า-การลงทุน โดยเฉพาะตลาด EU โดยปัจจุบันไทยมี 15 ฉบับ 19 ประเทศ ในขณะที่เวียดนามมีกว่า 50 ประเทศ
3. สร้างบุคลากร (Talent) รองรับการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะ Semiconductor, PCB และ digital ขั้นสูง เพราะไทยต้องการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ หัวใจคือบุคลากร
4. สร้างความสะดวกทั้งในการประกอบธุรกิจและที่อยู่อาศัย และ
5. การขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมใหม่ เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ภาคตะวันออก โดยพื้นฐานไทยมีความพร้อมที่ภาคตะวันออก แต่พื้นที่นิคมสีม่วงภายนอกนิคมอุตสาหกรรมยังมีน้อย จะทำอย่างไรที่จะขยายพื้นที่รองรับการลงทุน
"หากทำทั้งหมดได้จะนำมาสู่โอกาสการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย ถือเป็นความจริงที่บางส่วนเกิดขึ้นแล้ว"
ทั้งนี้ โอกาสที่จะสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย แบ่งเป็น 7 ส่วนสำคัญคือ 1. Semiconductor 2. แบตเตอรี่ โดยทั้ง 2 ส่วนนี้เป็นต้นน้ำ เป็นหัวใจสำคัญไปในทุกอุตสาหกรรมต้องการ หากทำได้จะยั่งยืน 3. Bio-based and Renewable Energy 4. xEV 5. Advanced Electronics 6. ดิจิทัล 7. International Business Center
ทั้งนี้ มีหลายเรื่องเข้ามาแล้ว เช่น Semiconductor แม้จะอยู่ในช่วงเริมต้นพัฒนา แต่ในช่วงปีกว่ามีโครงการสำคัญทั้งอเมริกาและยุโรปตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และได้รับอนุมัตจากบีโอไอแล้ว ทั้งการผลิตชิปต้นน้ำ ออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหญ่สุดในไทย เป็นต้น งบลงทุนหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งจะเกิดขึ้นจริงในช่วง 1-2 ปีนี้
อีกส่วนที่สำคัญ การลงทุนในไทยมีการเติบโตมาก ช่วง 1-2 ปีนี้ การลงทุนสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดครึ่งปีมีคำขอลงทุนกว่า 1,400 โครงการ เพิ่มขึ้น 60% มูลค่า 4.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสาขาอิเล็กทรอนิกว์ 1.4 แสนล้านบาท ราว 30% รองลงมเป็นยานยนต์และชิ้นส่วน แปรรูปอาหาร ปิโตรเคดี และดิจิทัล โดยเฉพาะดาต้าเซ้นเตอร์ คลาวด์เซอร์วิส เป็นต้น