การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย สะท้อนยอดปิดโรงงาน-นัยทางเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย สะท้อนยอดปิดโรงงาน-นัยทางเศรษฐกิจ

การแจ้งปิดกิจการโรงงานอุตสาหกรรม สะท้อนนัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย

KEY

POINTS

  • สถิติข้อมูลในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 สะท้อนให้เห็นว่า จำนวนโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการอยู่ที่ 757 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 575 โรงงาน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 31.7%
  • มูลค่าเงินลงทนของโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการ 20,716 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 55.7% สะท้อนว่าโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการนโรงงานขนาดเล็กที่มีเงินลงทนรวมกันไม่สูงมาก แต่มีการจ้างงาน 22,708 คน (เพิ่มขึ้น 666%)
  • ในขณะที่โรงงานเปิดกิจการใหม่เดือนแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าจำนวน 1,195 โรงงาน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีจำนวน 949 โรงงาน เพิ่มขึ้น 25.9% มูลค่าเงินลงทุนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการวม 188,508 ล้านบาท

จากข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาารการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวบรวมข้อมูลประกอบกิจการและปิดโรงงานอุตสาหกรรม ถือเป็นเครื่องชี้วัดหนึ่งที่สำคัญในการสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิด โดยสถิติข้อมูลในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 สะท้อนให้เห็นว่า จำนวนโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการอยู่ที่ 757 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 575 โรงงาน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 31.7%

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากมูลค่าเงินลงทนของโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการ พบว่า มูลค่าเงินทุนรวมอยู่ที่ 20,716 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 55.7% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการโรงงานขนาดเล็กที่มีเงินลงทุนรวมกันไม่สูงมาก แต่มีการจ้างงานรวมจำนวนทั้งสิ้น 22,708 คน (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 666%)

ในขณะที่ข้อมูลโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการใหม่ ในช่วงเดือนแรกของปี 2567 ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าทั้งจำนวนและมูลค่าเงินลงทุนโดยจำนวนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการอยู่ที่ 1.195 โรงงาน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีจำนวน 949 โรงงาน คิดเป็นการเพิ่ม 25.9% มูลค่าเงินลงทุนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการรวม 188,508 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 73,763 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงถึง 155.6% สอดคล้องกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 79.9%

หากพิจารณาการแจ้งเปิดปิดโรงงานจำแนกรายหมวดอุตสาหกรรมทั้ง 21 อุตสาหกรรม ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 พบว่า หมวดอุตสาหกรรมที่มีการแจ้งเปิดกิจการใหม่แต่มีมูลค่าเงินลงทุนลดลงมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากพืช (ลดลง 4,569 ล้านบาท) ยางและผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลง 1,599 ล้านบาท) ยานพาหนะและอุปกรณ์ (ลดลง 1.413 ล้านบาท) การพิมพ์ฯ (ลดลง 84444 ล้านบาท) และเครื่องแต่งกายฯ (ลดลง 49 ล้านบาท)

ส่วนหมวดอุตสาหกรรมที่แจ้งปิดกิจการแต่มีมูลค่าเงินลงทนเลิกกิจการเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ (เพิ่มขึ้น 2,124 ล้านบาท) สิ่งทอ (เพิ่มขึ้น 933 ล้านบาท) ผลิตภัณฑ์โลหะ (เพิ่มขึ้น 870 ล้านบาท) ยางและผลิตภัณฑ์ยาง (เพิ่มขึ้น 660 ล้านบาท) และเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี (เพิ่มขึ้น 514 ล้านบาท) เป็นต้น

ในภาพรวมมีจำนวนโรงงานที่แจ้งประกอบกิจการสุทธิ (ปิดปิด) ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 รวมอยู่ที่ 438 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  17.1% ขณะที่เงินลงทนรวมสุทธิเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 167.791 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเตียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 27.002 ล้านบาท 521.4% และการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20,998 คน เพิ่มขึ้น 96.9% ทั้งนี้ สามารถจำแนกอุตสาหกรรมออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

1. หมวดอุตสาหกรรมที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งเป็นหมวดอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลตลงของทั้งจำนวนและมูลค่าเงินทุนทุนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการสุทธิ จำนวน 7อุตสาหกรรม ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์จากพืช 2) สิ่งทอ 3) เครื่องแต่งกายฯ 4) การพิมพ์ฯ 5) ยางและผลิตภัณฑ์ยาง 6) ผลิตภัณฑ์โลหะ และ 7) การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์

ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะแข่งขันได้ยากขึ้นกับสินค้าจากต่างประเทศและสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเกิดขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านผ่านมาสู่ยานยนต์พลังงานทางเลือกมากขึ้น

2. หมวดอุสาหกรรมที่เปลี่ยนผ่านและปรับตัว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่จำนวนโรงงานแจ้งเปิดกิจการสุทธิปรับตัวลดลงแต่เงินลงทุบสุทธิเพิ่มขึ้น สะท้อนว่าเป็นกิจการโรงขนาดเล็กที่นี่เงินลงทุนรวมกันไม่สุงมากที่ปิดกิจการไป มี 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ 1) เครื่องดื่ม 2. ผลิตภัณฑ์โลหะ 3) เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ 4. ผลิตภัณฑ์พลาสติก และ 5. หนังสัตว์และผลิตภัณฑ์

3. กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นหมาดอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของทั้งจำนวนและมูลค่าเงินทุนโรงงานแจ้งเปิดกิจการสุทธิ จำนวน 8 อุตสาหกรรม ได้แก่ 1) อาหาร  2) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 3) ผลิตภัณฑ์อโลหะ 4) เครื่องจักรเครื่องกล 5) กระดาษและผลิตภัณฑ์ 6) ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเสียม 7) แปรรูบไม้และผลิตภัณฑ์ และ 8) โลหะขั้นมูลฐาน

ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินธุรกิจในสภาวะปัจจุบันที่ยังคงมีความเสียงและความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี ความเข้มงวดที่เพิ่มมากขึ้นด้านกฎระเบียบและมาตรฐานการค้าการผลิตระหว่างประเทศโดยเฉพาะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สภาวะหนี้ภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูงที่ล่งสูงที่ส่งผลให้ข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการยากมากขึ้น รวมถึงการเข้ามาแข่งขันของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศซึ่งกระทบต่อภาคการผลิตภายในประเทศ

แม้การเปิดโรงงานใหม่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การปิดโรงงานก็เห็นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะการปิดตัวเพิ่มขึ้นของโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงนักในการเผชิญหน้ากับปัจจัยเสียงต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ภาครัฐมีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการไทยกลุ่มดังกล่าว โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในส่วนของ

1. การยกระดับการผลิตและการดำเนินธุรกิจ เช่น การให้ความช่วยเหลือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการ การดำเนินธุรกิจและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับแนวราบหรือเครือข่ายธุรกิจที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับเครือข่ายธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจหรือผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำพาตนเองให้เข้าไปสู่ระบบท่วงโซ่การผลิตขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ เป็นต้น

2. การส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงช่องทางการตลาดสมัยใหม่ โดยเฉพาะช่องทางการตลาดที่ใช้เทคโนโลยีออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เน้นการกระตุ้นอุปสงค์ผ่านเทคนิคการใช้ Influencer ในการทำตลาดและเทคนิคการเล่าเรื่องเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสิบค้า และ

3. การติดตามดูแลปัจจัยเสื่องที่อาจเข้ามากระทบกับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในส่วนของการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวสอบคุณภาพสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่ได้มาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศควบคู่กับการดูแลแลและบริหารจัดการกลโกราคาสินค้าที่เป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนพัฒนา ปรับปรุงกลโกหรือกฎระเบียบที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวะการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญทั้งในส่วนของเทคโนโลยี

รวมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาเห็นประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อให้ประกอบการธรกิจ SMEs สามารถอยู่รอดและสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสำคัญครั้งนี้ได้อย่างมั่นคง