เปิดโมเดลแนวคิด สรท.พลิกโฉมประเทศไทยสู่ “ชาติการค้า”
สรท.จัดทำ ยุทธศาสตร์ “Thailand Trading Nation ” เสนอรัฐบาลใหม่ ปรับโครงสร้างส่งออกไทยรับเมือความเปลี่ยนแปลงโลกการค้าสมัยใหม่ ดันส่งออกไทยโตเฉลี่ยต่อปี ไม่น้อยกว่า 5 %
KEY
POINTS
Key Point
- สรท.จัดทำ ยุทธศาสตร์ “Thailand Trading Nation “หรือชาติการค้า
- เป้าหมาย Trading Nation เพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทยให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 5 %
- เสนอ 7 แนวทางขับเคลื่อนไปสู่ชาติการค้า
"การส่งออก"เป็นเครื่องจักรสำคัญของไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกของไทยขยายตัวมายาวนานมากว่า 30 ปี นับตั้งแต่ ปี 2536 ไทยส่งออกมูลค่า 9,000 ล้านบาท โดยในช่วง 10 ปี คือตั้งแต่ปี 2547-2556 โตเฉลี่ย ถึง 11.7% ถือว่าโตเฉลี่ยสูงมาก
แต่ในระยะหลังการส่งออกของไทยเริ่มมีแนวโน้มโตเฉลี่ยน้อยลง โดยในช่วงปี 2557-2566 (10 ปี ) โตเฉลี่ยเพียง 2.5% อย่างไรก็ตาม คาดว่าปี 2567 มูลค่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ในฐานะที่เป็นองค์กรตัวแทนของผู้ส่งออกไทย เติบโตมา 3 ทศวรรษ มองเห็น ปัญหา อุปสรรค และโอกาส การส่งออกของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่บริบทการค้าโลกเปลี่ยนแปลงไปมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทั้ง ข้อจำกัดทางการค้า มาตรการกีดกันทางการค้า ต้นทุนที่สูงขึ้น ปัญหาความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ล้วนส่งผลต่อการค้าโลกในยุคปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับประเทศไทยในฐานะประเทศ “ผู้ส่งออก”
ในวาระที่สรท.ครบรอบ 30 ปีจึงนำเสนอยุทธศาสตร์ “Thailand Trading Nation ” หรือการพัฒนาประเทศไปสู่ชาติการค้า “Trading Nation ”
"ชัยชาญ เจริญสุข "ประธาน สรท. กล่าวว่า การพัฒนาประเทศไปสู่ชาติการค้า เป็นการมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ จากการเพิ่งพาการผลิตและการส่งออกที่มีมูลค่าต่ำ ไปสู่การเพิ่มมูลค่าผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้ประเทศไทยเป็นชาติพัฒนาแล้วภายในปี 2032
“เป้าหมายสู่ชาติการค้า คือ เพิ่มสัดส่วนภาคบริการ และมูลค่าทางการค้าของ SMEs ไม่น้อยกว่า 50 % ของจีดีพีและเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทยให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 5 % รวมถึงการให้สินค้าและบริการของไทยอย่างน้อย 30 รายการอยู่ในระดับ Top 5 ของโลก”
สำหรับยุทธศาสตร์ “Trading mNation ” ที่จะทำให้ไทยก้าวไปสู่เป้าหมาย มี 3 ทาง คือ 1.นวัตกรรม 2.ขีดความสามารถในการแข่งขัน และ3.การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยต้องบูรณาการ 3 ทางนี้ร่วมกันในลักษณะของการผลักดันการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้านการค้า การลงทุน การเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศและโลจิสติกส์ ความเชี่ยวชาญการบริหารจัดการโซ่อุปทานในระดับโลก (Global Supply Chain) เพื่อการจัดการทรัพยากร วัตถุดิบ ที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำ ตลอดจนเรื่องความสามารถแข่งขันและยืนหยัดอยู่บนเวทีโลกด้วยการค้า โดยการควบคุมและบริหารจัดการโซ่อุปสงค์ในระดับโลก
ส่วนแนวทางขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ การพัฒนาส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถบริหารจัดการ Global Business , Global Investment และ Global Value Chain ได้ และมุ่งสร้างคุณค่าสูงสุดของกระบวนการในห่วงโว่คุณค่า เน้นการวิจัยและการพัฒนาสร้างตราสินค้า และต้องมุ่งสร้างธุรกิจตลอดทั้งโซ่คุณค่าให้เกิดคุณค่าสูงสุด ด้วยหลัก Lean & Agility ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งในการกระจายสินค้าและการตลาดใน AEC, RCEP , และตลาดเป้าหมายด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ที่มา : สรท.
ทั้งนี้สรท.ได้สรุปแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนหรือกลยุทธ์ในการดำเนินการทั้งสิ้น 7 ด้าน ประกอบด้วย 1.การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การนำAI มาใช้ 2. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการค้า 3.ด้านระบบโลกจิสติกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้า 4.ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 5.ด้านมาตรฐานและผลิตผล 6.ด้านระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และ7.การพัฒนาบุคลากร ขีดความสามารถขององค์กรและการจัดหาแรงงาน โดยทั้ง กลยุทธ์นี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน ภาคการศึกษา ชุมชน และสังคม เพื่อช่วยผลักดันให้เอกชนมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยังยืน
อย่างไรก็ตาม การไปสู่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อนำไปสู่”ชาติการค้า” สรท.เน้นย้ำว่า ยุทธศาสตร์นี้จะต้องเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของประเทศและบูรณาการร่วมกับแผนระดับอื่น มีงบประมาณผูกพันในระยะยาว และต้องแก้ฏหมาย กฎระเบียบให้ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทการค้าโลก ที่สำคัญต้องมี”ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ เข้าใจในบริบทเศรษฐกิจโลกและการค้าระหว่างประเทศ ที่พร้อมเดินหน้าพาประเทศเป็นชาติการค้า โดยสรท.จะเสนอยุทธศาสตร์ดังกล่าวให่กับรัฐบาลใหม่เพื่อพิจารณาต่อไป
“ด้านผู้ส่งออกเอง ก็ต้องปรับตัว ต้องก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และพร้อมเป็น”นักรบส่งออก”ที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว “นายชัชยชาญ กล่าวส่งท้าย