“บ่วงหนี้”พันธนาการทางเศรษฐกิจ “อังค์ถัด”เตือน3.3พันล้านคนสูญโอกาสพัฒนา
เครื่องมือจัดการด้านการเงินและการคลังอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ บริหารปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจคือ “ดอกเบี้ย” ทั้งเพื่อดึงซัพพลายเงินออกจากระบบ หรือเพื่อเป้าหมายอื่นๆ แต่ผลกระทบอีกด้านของการขึ้นดอกเบี้ยคือ “มูลค่าหนี้”ที่จะเพิ่มสูงขึ้น
KEY
POINTS
4. Public investment expenditure as a share of GDP คือ ตัวบ่งชี้นี้ใช้วัดรายจ่ายของรัฐบาลทั่วไปสำหรับการลงทุนเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ สัดส่วนที่สูงบ่งชี้ว่ามีการจัดสรรทรัพยากรจำนวนมากสำหรับการลงทุน สัดส่วนที่ต่ำบ่งชี้ว่าอาจมีการลงทุนไม่เพียงพอในโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะในประเทศ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 6.0% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 31%
5.Public health expenditure as share of GDP คือค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขคิดเป็นสัดส่วนของ GDP สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 3.1% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่17%
6.Public education expenditure as a share of GDP คือ สัดส่วนที่สูงบ่งชี้ว่ามีการจัดสรรทรัพยากรจำนวนมากสำหรับการศึกษา สัดส่วนที่ต่ำบ่งชี้ว่าอาจมีการลงทุนด้านการศึกษาไม่เพียงพอในประเทศ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 2.9%ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่18%
8.Public debt interest payments as a share of revenues คือการชำระดอกเบี้ยหนี้สาธารณะเป็นสัดส่วนของรายได้ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 6.0% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 80%
9. Public debt interest payments as a share of GDP คือชำระดอกเบี้ยหนี้สาธารณะเป็นสัดส่วนของ GDP ตัวบ่งชี้นี้วัดการชำระดอกเบี้ยสุทธิที่ประเทศชำระให้กับหนี้ค้างชำระเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 1.2% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 8%
10 .Private creditors as a share of external public debt
11. Bilateral creditors as a share of external public debt ตั ตัวบ่งชี้นี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระดับหนี้ของประเทศต่อเจ้าหนี้ประเภทต่างๆ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 7.6 %ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่100%
12. Multilateral creditors as a share of external public debt ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบของเจ้าหนี้ภายนอกมีผลต่อต้นทุนและโครงสร้างของการจัดหาเงินทุน ตลอดจนลักษณะและความซับซ้อนของการเจรจาในกรณีที่มีการปรับโครงสร้างหนี้หรือการตัดหนี้สูญ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 6.4% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่100%
13. External public debt in US$ per capita ภาระผูกพันภายนอกของลูกหนี้เอกชนที่ได้รับการค้ำประกันการชำระคืนโดยหน่วยงานสาธารณะ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 513 ดอลลาร์ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่8,000 ดอลลาร์
14.External public debt in US$ billions ตัวบ่งชี้นี้วัดหนี้สาธารณะภายนอกของประเทศและหนี้สาธารณะที่ได้รับการค้ำประกันจากภาครัฐ (PPG) ในมูลค่าตามบัญชีเป็นพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 36 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่5 แสนล้านดอลลาร์
15.External public debt as a share of GDP ตัวบ่งชี้นี้วัดหนี้สาธารณะภายนอกและหนี้สาธารณะที่ได้รับการค้ำประกันจากภาครัฐ (PPG) ของประเทศเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศ หนี้ PPG ภายนอกที่มีสัดส่วนสูงอาจบ่งชี้ว่าประเทศนั้นมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกของนักลงทุนต่างชาติและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 7.3% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่160%
17. Public debt in US$ billions ตัวเลขนี้สะท้อนถึงปัจจัยเฉพาะประเทศหลายประการ รวมถึงขนาดของเศรษฐกิจ ขนาดประชากร ความสามารถของสถาบัน และเงื่อนไขในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 3.22 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่3.4 ล้านล้านดอลลาร์
18 .Public debt as a share of GDP ตัวบ่งชี้นี้ใช้วัดปริมาณหนี้สาธารณะของประเทศเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศ อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ที่สูงบ่งชี้ว่าประเทศนั้นมีระดับหนี้ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับผลผลิตทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความเปราะบางของหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ที่ต่ำโดยทั่วไปถือเป็นตัวบ่งชี้เชิงบวกของสถานการณ์ของประเทศ เนื่องจากบ่งชี้ว่าประเทศมีพื้นที่ทางการคลังที่มากขึ้นและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการจัดการการเงินและรองรับแรงกระแทก รัฐบาลกลางประกอบด้วยรัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่น และกองทุนประกันสังคมที่ควบคุมโดยหน่วยงานเหล่านี้ ปริมาณหนี้รวมรวมถึงหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 62.4% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่320%
จากข้อมูล แดชบอร์ด ของอังค์ถัดที่ระบุถึงประเทศไทยเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว จะพบว่า ไทยมีวินัยทางการคลังที่ดี แม้จะมีสัดส่วนหนี้ที่สูงมากแต่ก็ไม่ได้มากไปกว่าประเทศพัฒนาแล้ว แต่ในทางกลับกันแม้ไทยจะมีสุขภาพทางเศรษฐกิจที่มีมูลหนี้เป็นตัวชี้วัดซึ่งบอกว่า สุขภาพดีเศรษฐกิจพอสมควร แต่หากลงลึกสัดส่วนการลงทุนด้านอื่นๆ ทั้งการศึกษา สุขภาพ แล้วไทยยังมีสัดส่วนที่น้อยดังนั้นหากเร่งแก้ปัญหาหนี้ได้ คนไทยอาจไม่ใช้หนึ่งในหลายพันล้านคนที่กำลังถูกปัญหาหนี้สูญโอกาสในการพัฒนาไปจนหมด
นทำให้ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกเผชิญภาวะ“หนี้ท่วม”ซึ่งประชากรมากกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลกกำลังทำงานเพื่อใช้หนี้อย่างแทบจะไร้ความหวังที่จะหลุดพ้นจากบ่วงกรรมทางเศรษฐกิจนี้
การค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD) หรือ อังค์ถัด ร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ(ESCAP) เปิดเผยถึงผลการ ค้นพบ“แดชบอร์ด”ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับหนี้ทั่วโลก ภูมิภาค และระดับประเทศ ซึ่งทำให้มองเห็นว่า “หนี้” ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน
ก่อนอื่น ทำความเข้าใจว่า “แดชบอร์ด” หรือ “Dashboard”คือการนำข้อมูลที่สำคัญมาสรุปผลให้เห็นภาพในหน้าเดียว ผ่านมุมมองต่าง ๆ ซึ่งตอบโจทย์การทำงานที่ต้องการเห็นรายงานภาพรวมเฉพาะเรื่องที่สนใจ ซึ่งแตกต่างกับรายงาน หรือ Report ที่จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาแสดงผลผ่านข้อความ รูปภาพ หรือตาราง โดยแดชบอร์ดเน้นแสดงรายละเอียดและอธิบายข้อมูลที่ครบถ้วน แต่ แดชบอร์ดจะเน้นแสดงรายงานตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้งานต้องการ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ใช้เวลาตีความสั้น และยังเลือก/กรองข้อมูลเพื่อดูความสัมพันธ์หรือแนวโน้มของข้อมูล เช่น รายปีรายไตรมาส เพื่อติดตามผลลัพธ์การดำเนินงาน
กลับมาที่รายงานของอังค์ถัดซึ่งระบุว่า หนี้สาธารณะทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2010 โดยแตะระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ 97 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 สาเหตุสำคัญที่ทำให้มูลค่านี้พุ่งทะยานคือ“อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น”ทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
ปัจจุบัน ผู้คนมากกว่า 3,300 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศที่ใช้จ่ายดอกเบี้ยหนี้มากกว่าการศึกษาหรือการดูแลสุขภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีข้อมูลหนี้ที่แม่นยำและทันท่วงที
“World of Debt Dashboard” พัฒนาโดยอังค์ถัดและESCAP ซึ่งนำเสนอข้อมูลครอบคลุมตัวบ่งชี้หลัก 18 ตัวใน 188 ประเทศ ช่วยให้ผู้ใช้ประเมินสถานการณ์หนี้ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และสังเกตการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ ตัวกรองที่ใช้งานง่ายและกราฟแบบโต้ตอบทำให้ปรับแต่งการค้นหาและสำรวจพื้นที่ที่สนใจเฉพาะได้อย่างง่ายดาย
โดยมีข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ด้านการเงินสาธารณะและหนี้สาธารณะที่สำคัญ 18 ตัว ครอบคลุมภูมิภาค ได้แก่ แอฟริกา ภูมิภาคอาหรับ เอเชียและแปซิฟิก ยุโรปและเอเชียกลาง และละตินอเมริกาและแคริบเบียน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์พิเศษสำหรับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดและประเทศกำลังพัฒนาเกาะขนาดเล็ก ซึ่งเผชิญกับความท้าทาย
2.Ratio of public interest payments to health expenditure คืออัตราส่วนของการชำระดอกเบี้ยสาธารณะต่อรายจ่ายด้านสุขภาพ ค่าที่มากกว่า 1 แสดงว่าประเทศใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ยมากกว่าการสาธารณสุข สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 0.4 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 9.0
3.Ratio of public interest payments to education expenditure คือ ตัวบ่งชี้นี้วัดสัดส่วนสัมพันธ์ของทรัพยากรของประเทศที่อุทิศให้กับการชำระดอกเบี้ยสุทธิกับทรัพยากรที่จัดสรรให้กับการศึกษาของรัฐ ค่าที่มากกว่า 1 แสดงว่าประเทศนั้นใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ยมากกว่าการศึกษา สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 0.4 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 4.4