เอกชนไทยบุกซาอุฯลุยตั้งโรงงาน ผลิต“แผงโซล่าเซลล์”มูลค่าหมื่นล้าน
Saudi Vision 2030 มีหลักการสำคัญว่าด้วย ด้านสังคมที่มี ชีวิตชีวา (Vibrant Society) คือการทำให้ประชาชนทุกคนมีความสุขในการดำเนินชีวิต เสริมด้วยมาตรฐานการครองชีพ สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมั่นคง ความหวงแหนต่อเอกลักษณ์ของชาติมรดกทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์แห่งอิสลาม
ด้านเศรษฐกิจเฟื่องฟู (Thriving Economy) คือการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและย่อม
( SMEs) ตลอดจนองค์กรขนาดใหญ่ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งการเพิ่มบทบาทของ
กองทุนเพื่อการลงทุนภาครัฐ การสร้างความหลากหลายในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการแข่งขัน การพัฒนาผลิตภาพ
ชาติที่มุ่งมั่นทะเยอทะยานสู่สิ่งที่ดีกว่า(Ambitious Nation) คือ ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพสูง โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างมุ่งมั่นและรับผิดชอบร่วมกันเพ่ื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่าของชาติและสังคมส่วนรวม
จากแผนการการพัฒนาตามSaudi Vision 2030 มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งมั่น จะให้เกิดขึ้นในปี 2573 ทั้งการเพิ่ม GDP การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และการจ้างงาน สามารสรุปเป็นตัวเลข 2/4/6 ประกอบด้วย เลข 2 คือ เพิ่มมูลค่า GDP ที่จะโตกว่าเดิม 2 เท่า
เลข 4 คือ การลงทุนในภาคเศรษฐกิจ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน มูลค่ากว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ และเลข 6 คือ การสร้างงานใหม่ ได้มากถึง 6 ล้านตำแหน่ง
เมื่อเร็วๆนี้ ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างบริษัท ซัมมิท เอชเจเอส จำกัด และ Kingdom Pioneer for Renewable Energy Company หรือ KPFRE ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลล์ Heterojunction solar cells ในประเทศซาอุดิอาระเบีย
โดยโครงการได้รับการสนับสนุนการจัดหาแหล่งเงินทุนโดย KPFRE มูลค่ากว่า 300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการลงทุนที่สำคัญโดยตรงจากต่างประเทศ ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยและซาอุดิอาระเบีย สอดคล้องกับนโยบายพลังงานทดแทนของทั้งสองประเทศ สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีกรรมการ บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี้ จำกัด และประธานกรรมการKPFRE และ ประธานกรรมการ Zhuhai Hongjun New Energy Co.,Ltd. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ระบุว่า สำหรับความสำคัญของซาอุดิอาระเบียต่อเศรษฐกิจโลก พบว่า ซาอุดิอาระเบีย มีขนาดเศรษฐกิจ ใหญ่เป็นอันดับที่ 17 ของโลก โดยเศรษฐกิจของประเทศ ถูกขับเคลื่อนจากภาคการส่งออก และการบริโภคภาคเอกชนเป็นหลัก ด้วยขนาด GDP 1,108.2 พันล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่ 17 ของโลก ,รายได้ต่อหัวประชาชาติ 31,849.7 ดอลลาร์ต่อปี เป็นอันดับที่ 36 ของโลก และจำนวนประชากร 34.8 ล้านคน อันดับที่ 42 ของโลก
ในส่วนทิศทางเศรษฐกิจของซาอุดิอาระเบียในระยะข้างหน้านั้น ประเมินว่าในอีกประมาณ 7 ปีข้างหน้า ซาอุดิอาระเบียจะเจริญรุดหน้า และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งภาพอนาคตดังกล่าวสะท้อนโอกาสทางธุรกิจที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ หากประเมินโอกาสสำหรับประเทศไทยก็พบว่า สินค้าของไทยที่เป็น Rising Star ในตลาดซาอุฯ ได้แก่ 1. กลุ่มอาหาร เช่น อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป ผักและผลไม้กระป๋องและ แปรรูป เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร ไก่ และอาหารสัตว์เลี้ยง 2. กลุ่มวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้ เหล็ก และปูนซีเมนต์ 3. กลุ่มเครื่องสำอาง และ 4. กลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ซาอุฯ เปิดประตูต้อนรับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โอกาสทองของไทย
ด้านการลงทุน ข้อมูลชี้ว่า ซาอุฯ ส่งเสริมการลงทุนครอบคลุม 15 อุตสาหกรรมหลัก Invest Saudi ได้แก่ ด้าน Healthcare & life sciences ด้านTourism & quality of life ด้าน Agriculture & food processing ด้านAerospace and defense ด้านChemicals
ด้านReal estate ด้านIndustrial and manufacturing ด้านFinancial services ด้านTransport & logistics ด้านEnergy ด้านMining and metals ด้านPharma & biotech ด้านInformation & communication technology ด้านHuman capital innovation ด้านEnvironment services
ขณะที่ผู้ประกอบการไทย พบว่าได้เริ่มแสดงความสนใจและขับเคลื่อนการลงทุนในประเทศซาอุฯ แล้ว ประกอบด้วย กลุ่ม ร้านอาหารและ เครื่องดื่ม ได้แก่ Cafe Amazon เปิดสาขาแรกที่ InterHealth Hospital กรุงริยาด ซาอุฯ เมื่อปี 2565 และตั้งเป้าเปิดร้าน Cafe Amazon รวม 150 สาขา ภายในระยะเวลา 10 ปี
กลุ่มอาหารแปรรูป พบว่า กลุ่ม ซีพีเอฟอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน ขยายฐานการผลิต โดยเฉพาะการผลิตอาหาร แปรรูปในกลุ่มไก่ หรือกุ้ง
ด้านกลุ่มน้ำตาล พบว่า มิตรผล อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน เนื่องจาก ซาอุฯนำเข้าน้าตาลจากประเทศบราซิล มากเป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ ยังสนใจลงทุนธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ หรือวัสดุไม้แผ่น (WOOD SHEET) รองรับ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เรียลเอสเตท เฟอร์นิเจอร์ การตบแต่งต่างๆ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ น่าจะเติบโตตามนโยบายของประเทศซาอุฯ
ด้านภาคบริการส่งออก-นำเข้า พบว่า กลุ่มเอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล ได้รับอนุมัติเปิดบริษัทในซาอุฯ แล้ว ตอนนี้อยู่ใน กระบวนการที่จะเปิดสาขาในตลาดซาอุฯ
ด้านโรงพยาบาล พบว่า มีเอกชนสนใจเข้าไปลงทุนด้านสุขภาพในซาอุฯ โดยเฉพาะธุรกิจสปา หรือการนวด รวมทั้ง ธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่งไทยมีจุดแข็งในเรื่องนี้
ด้านธุรกิจโรงแรม พบว่า กลุ่มไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในอนาคตบริษัทอาจพิจารณาเปิดโรงแรม แห่งใหม่ในประเทศซาอุฯ
ด้านธุรกิจจัดงานแสดง สินค้า พบว่า INDEX CREATIVE VILLAGE ตั้งเป้าหมายเพิ่มโอกาสใหม่ทางธุรกิจ และหาพันธมิตรทางการค้า รวมทั้ง ขยายดิสทริบิวเตอร์ในซาอุฯ
ด้านธุรกิจ ค้าปลีก พบว่า มีแผนจัดตั้ง “Thai Mini Mart” แบบ ย่อส่วนในซาอุดีอาระเบีย โดยมีเป้าหมายที่ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุฯ และเมือง เจดดาห์ที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง