รู้จัก ‘ธุรกิจขายตรง’ 3 แบบ ขาว – เทา – ดำ เส้นแบ่งถูกกฎหมาย - เข้าข่ายหลอกลวง

รู้จัก ‘ธุรกิจขายตรง’ 3 แบบ ขาว – เทา – ดำ  เส้นแบ่งถูกกฎหมาย - เข้าข่ายหลอกลวง

ส่องข้อเท็จจริงธุรกิจขายตรงไม่ใช่ธุรกิจผิดกฎหมายหากทำถูกไม่ได้มีการเอารัดเอาเปรียบ และขออนุญาตถูกต้อง สศค.แบ่งประเภทธุรกิจขายตรงออกเป็น 3 ประเภท คือสีขาว สีดำ และสีเทา โดยสีเทาเป้นแบบขายตรงแฝงแชร์ลูกโซ่สร้างความเสียหายได้มาก

KEY

POINTS

  • กรณี ดิไอคอลกรุ๊ป สร้างภาพลักษณ์เสียหายให้ธุรกิจขายตรงในวงกว้าง 
  • ในความเป็นจริงมีธุรกิจขายตรงจำนวนมากที่ทำธุรกิจถูกกฎหมาย จดทะเบียนถูกต้องและดำเนินการตามแผนการตลาดที่ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว 
  • สศค.แบ่งธุรกิจขายตรงเป็น 3 ประเภทคือสีขาว คือถูกกฎหมาย 100% ธุรกิจสีดำคือเป็นธุรกิจผิดกฎหมายทำขายตรงแบบแชร์ลูกโซ่ 
  • ส่วนธุรกิจขายตรงสีเทาคือการแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นบริษัทขายตรงที่จดทะเบียนถูกต้อง ทำตามแผนการตลาดที่ได้รับอนุญาตแต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นแผนการจ่ายผลตอบแทนแบบแชร์ลูกโซ่ 

กระแสข่าวเรื่อง "The Icon Group" ซึ่งมีผู้เสียหายจากกรณีนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า “ธุรกิจขายตรง” นั้นเป็นธุรกิจที่สร้างความเสียหายกับคนที่เข้ามาทำธุรกิจแบบนี้ทั้งหมดจริงหรือไม่ เพราะอีกด้านหนึ่งก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ทำธุรกิจขายตรง ใช้ธุรกิจนี้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว โดยไม่ได้ทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด

ที่ผ่านมา“ธุรกิจขายตรง" ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภค เพราะมีอิสระ ในการทำงาน สามารถซื้อสินค้าไปใช้ได้ในราคาถูก หรือจะนำไปขายอีกทอดเพื่อเป็นอาชีพเสริมหารายได้พิเศษ หรือจะทำเป็นอาชีพหลักก็ได้ ซึ่งนับวันจะมีผู้สนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบธุรกิจแนวนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจด้านขายตรงต่างงัดกลยุทธ์ เพื่อจูงใจผู้บริโภค เช่น เพิ่มชนิดของสินค้าหรือบริการที่หลากหลายให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากสนใจที่จะสมัครเป็นผู้ขายตรง

ในเอกสารเรื่อง “รู้เท่าทัน การเงินนอกระบบ” ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อธิบายว่าธุรกิจขายตรงนั้นถือว่าเป็นรูปแบบธุรกิจแบบหนึ่งซึ่งหมายถึงวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเข้าถึงตัวผู้บริโภคโดยมีผู้ชายตรงที่เรียกชื่อตามกฎหมายว่า ผู้จำหน่าย อิสระ หรือตัวแทนขายตรง เป็นผู้นำสินค้า หรือบริการไปอธิบาย หรือสาธิตสรรพคุณหรือคุณภาพของสินค้าตามสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภค

โดยไม่ต้องรอให้ผู้บริโภคเป็นผู้มาซื้อหาสินค้าอย่างปกติ ซึ่งต่างจากการจำหน่ายสินค้าในธุรกิจทั่วไปที่จะมีการจำหน่ายสินค้ายสินค้ากผู้ผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง จากนั้นสินค้าจึงจะเข้าถึงตัวผู้บริโภค

ใครเป็นใครในธุรกิจขายตรง

ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หมายถึง ผู้ผลิต ผู้นำเช้า ผู้จัดจำหน่าย ซึ่งใช้ระบบการจำหน่ายสินค้าหรือบริการด้วยวิธีการเสนอขายต่อผู้บริโภค ณ สถานที่ซึ่งมิใช่ตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการชนิดนั้น ๆ โดยการเสนอขาย อาจกระทำโดยผู้จำหน่ายอิสระ หรือตัวแทนขายตรง และอาจกำหนดรูปแบบได้หลากหลาย แต่ที่สำคัญคือต้องให้ความสำคัญกับการอบรมผู้ขายให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และรับผิดชอบต่อผู้บริโภคเพราะการขายที่ผิดวิธีย่อมส่งผลเสียต่อเจ้าของกิจการโดยตรง

ผู้จำหน่ายอิสระ หมายถึง ผู้ขายที่มีใช่ลูกจ้าง มีใช่ตัวแทนของผู้ประกอบ ธุรกิจ แต่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจแล้วน้ำไปขายโดยรับคำตอบคำตอบแทนจากยอดขายที่ทำได้ การจ่ายผลตอบแทนเป็นไปตามที่กำหนดในแผนการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อจะยกเลิกการเป็นผู้จำหน่ายอิสระก็สามารถขายสินค้ากลับคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงได้โดยวิธีที่กฎหมายกำหนด

ตัวแทนขายตรง หมายถึง ผู้ที่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงมอบหมายให้เป็นผู้นำสินค้าหรือบริการไปขาย โดยให้ค่าตอบแทนเป็นรายได้จากยอดขายที่ทำได้ ไม่มีฐานะเป็นลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจ และรายได้นั้นต้องกำหนดชัดเจน ตัวแทนขายตรงไม่ต้องทนซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ

คลังแบ่งธุรกิจขายตรงเป็น 3 สี 

ทั้งนี้ สศค.ได้จำแนกธุรกิจขายตรงในไทยออกเป็น 3 สี คือขาว เทา และดำซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้

1.ธุรกิจสายตรงสีขาว หมายถึง ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมาย เป็นบริษัทขายตรงที่จดทะเบียนถูกต้องและดำเนินการตามแผนการตลาดที่ได้รับอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีลักษณะดังนี้

  • เป็นบริษัทสนใจที่จะขายสินค้า
  • สินค้าต้องดี มีคุณภาพ สามารถขายตัวเองได้
  • ราคาขายเหมาะสมกับคุณภาพ
  • มีการฝึกอบรมวิธีการขายสินค้า การสาธิต
  • การใช้ สินค้าหรือให้สินค้าตัวอย่างไปทดลอง เพื่อจะได้บอกลูกค้าได้ถูกต้อง
  • เน้นบริการหลังการขาย

2.ธุรกิจขายตรงสีดำ หมายถึง ธุรกิจขายตรงที่ผิดกฎหมาย เป็นบริษัทขายตรงที่อ้างว่าได้รับอนุญาต ใช้แผนการจ่ายผลตอบแทนแบบแชร์ลูกโซ่ มีลักษณะดังนี้

  • อ้างว่าจดทะเบียนกับ สคบ. แล้ว
  • ชักจูงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคตอันใกล้จากการชักชวนให้คนมาสมัครเป็นสมาชิกเพิ่ม
  • ใช้วิธีการหมุนเวียนเงินจากสมาชิกใหม่มาจ่ายสมาชิกเก่าในลักษณะแชร์ลูกโซ่

และ 3.ธุรกิจขายตรงสีเทา หมายถึง ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นบริษัทขายตรงที่จดทะเบียนถูกต้อง ทำตามแผนการตลาดที่ได้รับอนุญญาตแต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นแผนการจ่ายผลตอบแทนแบบแชร์ลูกโซ่ หรือใช้ทั้งสองแผน

มีลักษณะดังนี้

  • จดทะเบียนจาก สคบ. ถูกต้องตามกฎหมาย ทำตามแผนที่ได้รับอนุญาต
  • เพิ่มแผนการตลาดแบบแชร์ลูกโซ่ หรือเปลี่ยนแผน มาเป็นแบบแชร์ลูกโช โดยไม่ได้ขออนุญาตจาก สคบ.

กลยุทธ์ขายตรงแฝงแชร์ลูกโซ่

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ (สีเทา)ด้วยวิธีการขายสินค้าในเชิงรุกตามที่ได้กล่าวข้างต้น ทำให้มีจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในธุรกิจขายตรงใช้กลยุทธิ์ในการแนะนำสินค้าที่เป็นเท็จหรือเกินความจริงหรือใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้บริโภคต้องการที่จะได้ผลประโยชน์จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นในลักษณะของแซร์ลูกโซ่ ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าหรือบริการโดยไม่จำเป็น หรือต้องซื้อเพราะถูกแรงกดดันจากผู้ขาย โดยมีผู้บริโภคจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ผู้ประกอบธุรกิจประเภทนี้จะใช้สินค้าที่ผู้บริโภคไม่คุ้มคุ้นเคยในการแอบอ้างทำธุรกิจขายตรง และใช้วิธีการชักชวนให้ประชาชนมาสมัครเป็นสมาชิกเข้าร่วมเป็นเครือข่าย และสัญญาว่าจะให้ประโยชน์ตอบแทนจากการชักจูงผู้อื่นให้เข้ามาร่วมเป็นเครือข่าย รวมทั้งแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเห็นว่าจะได้รับเงินหรือกำไรมากกว่าเงินที่ได้ลงทุนไป เมื่อผู้ประกอบธุรกิจระดมทุนได้ตามที่ต้องการแล้วก็จะปิดกิจการหลบหนีไป

ประชาชนซึ่งหลงเชื่อและสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทเหล่านี้จะได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว และทำให้ประชาชนมองภาพลักษณ์ของธุรกิจขายตรงไปในเชิงลบ เป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงที่สุจริตได้รับผลกระทบในการประกอบธุรกิจไปด้วย

ส่องกฎหมายกำกับธุรกิจขายตรง

ทั้งนี้ปัจจุบันหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจขายตรงคือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2555 โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการออกกฎหมายไว้ได้แก่  กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527

โดยกำหนดว่า มาตรา 4 เป็นการหลอกลวงประชาชนโดยชักชวนให้สมัครสมาชิกทำธุรกิจขายตรง และนำเงินมาลงทุนและเน้นให้หาคนมาสมัครสมาชิก โดยจะได้ผลตอบแทนจากการหาคนมาสมัครสมาชิกมิได้เน้นขายสินค้าหรือบริการ

มาตรา 5 เป็นความผิดเกี่ยวกับการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนมาสมัครสมาชิกและนำเงินมาลงทุนฯ ตามลักษณะของมาตรา 4

มาตรา 12 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 4 หรือมาตรา 5  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

ส่วนพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2555 มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรงหรือในการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น

มาตรา 20 ห้านมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจขายตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หากฝ่าฝืนมีโทษผิดทั้งอาญาและโทษปรับเช่นกัน