ส.อ.ท. เปิด 4 ท้าทายเลือกตั้งสหรัฐ การค้าระอุ จี้ไทยชิงโอกาสดึงลงทุน

ส.อ.ท. เปิด 4 ท้าทายเลือกตั้งสหรัฐ การค้าระอุ จี้ไทยชิงโอกาสดึงลงทุน

“ส.อ.ท.” เปิด 4 ความท้าทายที่ต้องจับตาหลังเลือกตั้งสหรัฐฯ ชี้ข้อดีของการเมืองสหรัฐโดยเฉพาะเทรดวอร์กับจีนจะยังคงเห็นในผู้นำทั้ง2 คน สงครามการค้ายังคงระอุ จี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนฟื้นเศรษฐกิจไทยรับการลงทุน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ วันที่ 5พ.ย.2567 นี้ เชื่อว่าหลายฝ่ายต้องใจจดใจจ่อว่าใครจะได้ตำแหน่ง โดยผู้สมัครทั้ง 2 คน ถือว่าเป็นที่ยอมรับของทุกคนในโลกว่าสหรัฐ เป็นประเทศมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ที่มีผลกระทบของทั่วโลกรวมถึงไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม ช่วง 2 ปีที่โดนัลด์ ทรัมป์ รับตำแหน่งก็ไม่คิดว่าจะมีการเทรดวอร์ เกิดโลกาภิวัตน์ด้าน ดี-คาร์บอเซชั่น จึงต้องจับตาปัจจัยต่างๆ อาทิ 1. ด้านการค้า โดยปี 2562 ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐอันดับ14 แต่ผ่านไปภายใต้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของเทรดวอร์กับจีนเหมือนกัน

2. ด้านการลงทุน นโยบายกมลา แฮร์ริส จะคล้ายกับไบเดนคือ เพิ่มการเก็บภาษีนิติบุคคล ทางกลับกันทรัมป์จะส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้กลับมาสร้างงาน สร้างจีดีพี จะลดภาษีนิติบุคคล ในโมเดลเดิมของการลงทุน ของแฮร์ริสก็ลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน เป็นมิตรโดยเฉพาะเซาท์อิสเอเชีย ทั้ง อเมริกา จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งย้ายออกไปหมด โดยสหรัฐมีการลงทุนในเม็กซิโกเยอะ ซึ่งทรัมป์ก็ยากให้กลับมาที่สหรัฐ

3. การกีดกันเทคโนโลยี ทรัมป์จะรุนแรงกว่าไบเดน ถ้าแฮร์ริสมาจะทำเหมือนเดิมคือไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงให้ประเทศที่ไม่เป็นมิตร คือ จีน จะเห็นว่าผู้ผลิตชิปรายเล็กรายใหญ่ไม่ขายให้จีน เหล่านี้ทำให้มีความเข้มข้น ส่วนทรัมป์จะเพิ่มการลงทุนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้จีนมาลงทุนในสหรัฐทั้งด้านสาธารนูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงพลังงานด้วย

“ด้านผลกาะทบสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมสีเขียว แฮร์ริสเหมือนไบเดนยังให้ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดสัดส่วนพลังงานฟอสซิล แต่ทรัมป์ไม่สนเรื่องของสนธิสัญญาปี 2015 และจะสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันซึ่งยังเป็นฟอสซิล ถือเป็นเรื่องที่น่าจับตาที่ทั่วโลกจะลดคาร์บอน”

4. ด้านนโยบายต่างประเทศ ซึ่งแตกต่างกัน การเดินหน้านโยบาย สหรัฐให้ความสำคัญประเทศอื่นด้านการเมืองระหว่างประเทศ ดำเนินนโยบายทวิพาคี เพื่อบล็อกการแพร่อิทธิพลจากจีน การตั้งกลุ่มความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อต้องการใช้เอเซียเป็นศูนย์กลางต่อต้านอิทธิพล และบาลานซ์ไม่ให้จีนแพร่อิทธิพล ขณะเดียวกัน จีนก็ร่วมกับเอเชียตั้งสมาชิกต่าง ๆ เช่นกัน ซึ่งไทยก็ยื่นเข้าร่วมทุกวง

“กรณีถ้าแฮร์ริสได้เป็นจะจับมือกับนาโต้ สนับสนุนอาวุธให้ยูเครน ความขัดแย้งช่องแคบระหว่างจีนกับไต้หวัน จะเข้าไปมีบทบาท คงเหมือนกันทั้ง 2 คน ปัญหาตะวันออกกลางยังมองอิหร่านเป็นศัตรู ดังนั้น การค้าต่างประเทศจะเห็นความตรึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์สูง อาจเป็นสงครามโลกได้ ส่วนทรัมป์บอกนาโต้ต่างคนต่างอยู่ หากไต้หวันจะให้สหรัฐช่วยต้องจ่ายค่าคุ้มครอง เป็นต้น”

“ใน 4 เรื่องหลักนี้ หากทรัมป์ได้ตำแหน่ง ผลบวกไทยคือตัวเลขค้าขาย การมองจีนเป็นศัตรู จึงตั้งกำแพงภาษีจึงดีกับไทย แต่อาจมีวิธีที่แตกต่าง การที่ไทยได้ดุลการค้าเราบิดเบือนค่าเงินหรือไม่ จึงมีมาตรการหน่วงเงินจะเห็นการเจรจาเกิดขึ้น”

ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีแรกในรอบ 16 ปี ที่จีนไม่ได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐ จากที่เคยได้กว่า 5 แสนล้านดอลลาร์ก็ลดลง และตัวเลขมาโผล่ที่เซาท์อีสเอเชียและเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน กลายเป็นไทยที่ขาดดุลกับจีนมากอันดับ1 ไปแล้ว อุตสาหกรรมไทยได้รับผลกระทบ

“ตัวเลขการลงทุนต่างจากประเทศที่เข้าไทย ปีหน้า จะมีโอกาสมากกว่าปีนี้ จากที่ดูอุตสาหกรรมกลุ่ม PCB เข้ามาลงทุนในไทยราว 3 บริษัท อนาคตจะเป็น 100 บริษัท มูลค่าลงทุน 1.6 แสนล้านบาท”

นายเกรียงไกร กล่าวว่า สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ถือเป็นปัญหาใหญ่ของไทยในเวลานี้สัดส่วน 90-91% ของจีดีพี กดทับกำลังซื้อทำให้อ่อนแอ แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเรื่อย ๆ ก็ยังไม่มีผลออกมา การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หาวิธีเจรจากับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงการลดดอกเบี้ยก็เป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ปัญหาคือทำอย่างไรให้หนี้ภาคครัวเรือนได้รับการแก้ไข ให้ประเทศสามารถสร้างงาน เพื่อเพิ่มจีดีพีกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ อย่างที่เห็นตัวเลขอุตสาหกรรมยานยนต์เดือนก.ย. 2567 ที่ยอดขายในประเทศต่ำสุดที่ไม่เคยมีมาก่อน รถกระบะติดลบเกือบ 40% เพราะกำลังซื้อไม่พอ ภาคการเงินเข้มงวด รถถูกยึดสูง รวมถึงการยึดรถบ้านสูงการปล่อยเงินกู้ที่เข้มงวดเพราะมีโอกาสผิดนัดสูง การแก้ก็คือ ทำอย่างไรให้จีดีพีสูง ทางแก้คือ ต้องมีการลงทุน จ้างงาน ส่งออกเพิ่ม ภาคท่องเที่ยวหนุน รวมทั้งด้านพืชผลการเกษตร ถ้าแก้ไม่ได้เป้าจีดีพี 3% ในปีหน้าก็จะยาก