พิชัยกางแผนคุมหนี้สาธารณะ ขีดเส้นไม่เกิน 15 ล้านล้าน 70% ของ GDP

พิชัยกางแผนคุมหนี้สาธารณะ  ขีดเส้นไม่เกิน 15 ล้านล้าน  70% ของ GDP

“พิชัย” กางแผนคุมหนี้สาธารณะไม่เกิน 15 ล้านล้าน ตั้งเป้าขาดดุจากปัจจุบัน 12 ล้านล้าน ลงบฯไม่เกิน 8 แสนล้าน/ปี ชี้หนทางรัดเข็มขัดไม่ใช่ทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย แต่ต้องทำให้ GDP โต เพิ่มการลงทุน หนุนเจรจา OCA ใช้ประโยชน์พลังงาน

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงาน The Standard ECOMIC FORUM 2024  เรื่อง ฝ่าพายุเศรษฐกิจไทย ด้วยนโยบายการคลัง ยอมรับว่า ไทยขาดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง การลงทุนปกติควรเป็น 40%
งบประมาณ แต่ปัจจุบันมีเพียง 20 % ทำให้จีดีพีเฉลี่ย1.9%เท่านั้น

และเงินเฟ้อในปีนี้คาดว่าไม่ถึงร้อยยละ 1   หนี้สาธารณะปัจจุบัน 12 ล้านล้านบาท  67% ของจีดีพี  ซึ่งเราต้องทำให้ไม่เกินกรอบวินัยการเงินการคลังที่ 70% ของจีดีพี หรือหนี้สาธารณะต้องไม่เกิน 15 ล้านล้านบาท ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้การทำให้ยอดหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง จะต้องเดินหน้าลงทุนเพิ่ม แม้ว่าสภาพคล่องในระบบยังสูง แต่ตอนนี้สถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยกู้ เพราะกังวลนี้ส่วนบุคคลสูง  ยอมรับไทยเกิดปัญหาเชิงโครงสร้างสะสมมานาน

เมื่อไม่มีการลงทุนใหม่ดัชนีหุ้นไทย จึงไม่คืบหน้า เคลื่อนไหวในระดับปัจจุบันอยู่เป็นเวลานาน  เพราะไม่มีการลงทุนใหม่ ไม่มีเครื่องจักรใหม่ ต่างชาติเข้ามา เพราะร้องการลงทุนระยะสั้น ไทยดูเหมือนเป็นเศรษฐกิจดี  แต่ไม่รู้จะเดินไปทางไหน  แม้จะมีเทคโลโลยีเข้ามา แต่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก  

ในส่วนของประเด็นพื้นที่อ้างอิงสิทธิ์ ทางทะเล ไทย-กัมพูชา (OCA) ยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องนำพลังงานขึ้นมาใช้ ศักยภาพการผลิตไม่น้อยกว่าผลิตในปัจจุบัน ซึ่งมีน้ำมันดิบด้วย  หากนำขึ้นมาได้จะซื้อเวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ก่อนไทยจะเปลี่ยนไปสู่พลังงานทดแทนอื่น  อยากหาเจรจาร่วมกันให้สำเร็จ เพื่อนำทรัพยากรที่ดีนำมาใช้ประโยชน์

ด้านการท่องเที่ยวของไทย นับว่ามีศักยภาพ ต่างชาติต้องการเข้ามาท่องเที่ยวไทย ต้องสร้างจุดท่องเที่ยว อาศัยให้อยู่นานขึ้น  จึงต้องทุ่มเงินลงทุนผ่านงบประมาณ ฐานภาษีของไทยยังต่ำ ทำอย่างไรในการปรับปรุงฐานภาษี

"รัฐบาลมุ่งรักษาวินัยทางการคลัง ร้อยละ 70 ของจีดีพี เมื่อภาระหนี้เกือบชนเพดานเหลือร้อยละ 4 ทำอย่างไรให้มีเงินมาลงทุนเพิ่ม  เมื่อต้องการเห็นจีดีพีร้อยละ 3.5  เป้าหมายเงินเฟ้อร้อยละ 1.2-1.8  จึงมีช่องทางก่อหนี้ 3 ล้านล้านบาท  หรือก่อหนี้ได้ปีละ  7.5 แสนล้านบาท  โดยต้องประสานกับนโยบายการเงินของ ธปท.  ทั้งดูแลอัตราแลกเปลี่ยน  อัตราเงินเฟ้อ"


นายพิชัยกล่าวว่าการเดินหน้าพัฒนาโลจิสติกส์ เชื่อมกับศูนย์กลางเศรษฐกิจ  เอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ ต้องมีหลายพื้นที่  ระบบการขนส่งขนาดใหญ่ รัฐบาลต้องลงทุนโครงสร้างระบบราง และเปิดให้เอกชนเข้ามาวิ่งให้บริการ  ภาคอสังหาฯ เป็นสาขากระทบไปทุกภาคส่วน

รัฐบาลจึงต้องเข้ามาดูแลผู้ซื้อบ้านอยู่อาศัย รัฐบาลมีที่ดินราชพัสดุ ที่ดิน รฟท. จำนวนมาก  เพื่อนำที่ดินมาเข้าระบบทรัพย์อิงสิทธิ์ เพื่อปล่อยเช่าระยะยาว 80 ปี  ไม่ห่วงเรื่องต่างชาติครอบครองสิทธิ์  แผนเหล่านี้ ปัจจุบันในงบประมาณไปแล้ว เพื่อผลักดันการลงทุนให้คืบหน้ามากขึ้น