'พีระพันธุ์' ล้วงลูกหน่วยงานใต้กำกับ เบรกสรรหา กกพ.ระงับขุดเหมืองแม่เมาะ
"พีระพันธุ์" ล้วงลูกหน่วยงานใต้กำกับดูแล เบรกสรรหา "บอร์ดกกพ." พร้อมระงับโครงการขุดเหมืองแม่เมาะมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่า ขณะนี้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทาวงพลังงาน เริ่มที่จะเข้ามากำกับการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานภายใต้กำกับดูแลอย่างเข้มงวดขึ้น โดยหากมีโครงาการใดๆ ที่มีข้อเรียกร้องก็จะสั่งตรวจสอบในทุกโครงการ
ล่าสุดได้สั่งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ระงับโครงการจ้างเหมาขุด-ขนดินและถ่านที่เหมืองแม่เมำ สัญญาที่ 8/1 ซึ่ง บมจ.สหกลอิควิปเมนท์ (SQ) เป็นผู้ได้รับกำรคัดเลือกจาก กฟผ.ที่เสนอราคางานจ้างเหมาขุด-ขนดินและถ่านที่เหมืองแม่เมำจำนวน 2 รายการ มูลค่าสัญญารวม 7,170 ล้านบำท (รวมค่ากระแสไฟฟ้ำ ค่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่ปี 2567-2571
รายงานข่าวระบุว่า SQ ถือเป็นผู้บุกเบิกงานรับเหมาโครงการเหมืองแม่เมาะสร้างชื่อให้ สหกลอิควิปเมนท์ เป็นที่รู้จักในอาเซียน สู่การขยายฐานธุรกิจเหมืองถ่านหินเมืองหงสา (Hongsa) พร้อมเดินหน้ารุกเหมืองดีบุกในเมียนมาคว้าโอกาสใน CLMV เป็นต้น
ซึ่งได้ริเริ่มจากงานรับเหมาก่อสร้าง งานวิศวกรรมโยธา โดยวิศวกร ที่เล็งเห็นโอกาสสร้างการเติบโต ทางธุรกิจตามนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งกระจายความเจริญ สู่ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเฉพาะงานก่อสร้างถนนเชื่อมต่อการเดินทางและ ระบบโลจิสติกส์ของประเทศในปี 2513 ภายใต้ชื่อ บริษัท สหกลเอนยิเนียร์ จํากัด และนําความเชี่ยวชาญดังกล่าวเป็นใบเบิกทางต่อยอดสู่การลงนามสัญญา จ้างเหมาขุด-ขนดิน โครงการที่ 1 กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในปี 2526
นับจากสัญญาฉบับแรกในการเป็นผู้รับผิดชอบเปิดหน้าดิน ขุดขนดิน และ ถ่านหินให้เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จ.ลําปาง ระหว่างปี 2526-2533 มูลค่าโครงการ 3.54 พันล้านบาท และโครงการที่ 2 ระหว่างปี 2533-2541 มูลค่าโครงการ 9.87 พันล้านบาท ด้วยความมั่นใจในประสบการณ์ที่สั่งสมและโอกาสทางธุรกิจที่ฉายชัด บริษัทพร้อมเดินหน้าธุรกิจด้านการให้บริการและดําเนินงานเหมืองแร่ครบวงจร ภายใต้ชื่อ บริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จํากัด ในปี 2544
แหล่งข่าวกล่าวว่า จากการที่นายพีระพันธุ์ ถือเป็นนักกฏหมายจะมีความเข้มงวดมากกับโครงการต่าง ๆ หากมีการร้องเรียนหรืออาจเข้าค่ายไม่เป็นธรรมก๋จะให้มีการตรวจสอบทันที ซึ่งในช่วงที่มารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะสั่งหน่วยงานหน่วยงานที่กระทรวงพลังงานกำกับดูแล รวมถึงบริษัทลูกด้วย และหากจะตั้งใครเป็นบอร์ดก็จะต้องมาขอความเห็นก่อนทุกครั้ง
นอกจากนี้ ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จ มีเบื้องหลังมาจากนายเปรมชัย กรรณสูต เจ้าของอิตาเลียนไทย กับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หรือ หม่อมอุ๋ย อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่หันมาทำธุรกิจเหมืองแร่
"การประมูลงานจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะดังกล่าวไม่ใช่เพียงการแข่งขันทางธุรกิจธรรมดา โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแต่เป็นการใช้วิธีพิเศษในการประมูล แทนที่จะเป็นการประมูลแบบเปิดทั่วไป ทั้งๆ ที่มีวงเงินสูงกว่า 7,000 ล้านบาท" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ ในการสั่งตรวจสอบของนายพีระพันธุ์ เกิดขึ้นจากพลโท ดร.เจียรนัย วงศ์สอาด กรรมการ กฟผ. ยื่นหนังสือคัดค้านการอนุมัติผลประมูล ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร กฟผ. เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2567 ก่อนที่ ITD จะยื่นอุทธรณ์อย่างเป็นทางการ
สำหรับประเด็นที่ต้องตรวจสอบ คือ ความโปร่งใสของการใช้ "วิธีพิเศษ" ในการประมูล เหตุผลที่ กฟผ. ไม่เลือกวิธีประมูลแบบเปิด การกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าประมูลที่อาจเอื้อประโยชน์ ความเชื่อมโยงระหว่างผู้มีอำนาจตัดสินใจกับบริษัทที่เข้าประมูล
นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ ยังได้ส่งหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ให้ระงับการสรรหาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่ครบวาระจำนวน 4 ท่าน
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน แทนตำแหน่งที่ว่างลง จึงขอให้ระงับการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน และการประชุมคณะกรรมการสรรหาไว้ก่อน จนกว่าจะแจ้งให้ทราบต่อไป
สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการ (บอร์ด) กกพ. เนื่องจากกรรมการ กกพ.จำนวน 4 คนครบวาระการดำรงตำแหน่งวันที่ 30 ก.ย.2567 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย
1. นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ
2. นายสุธรรม อยู่ในธรรม
3. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
4. นายสหัส ประทักษ์นุกูล