สภาพัฒน์ จับตาสถานการณ์ว่างงานไทย หลังตัวเลขคนว่างงานเกิน 1 ปีพุ่งเกิน 16%

สภาพัฒน์ จับตาสถานการณ์ว่างงานไทย หลังตัวเลขคนว่างงานเกิน 1 ปีพุ่งเกิน 16%

สศช.ชี้ข้อมูลภาวะว่างงานไทยทรงตัว มีผู้ว่างงาน 4.2  แสนคน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ชั่งโมงการทำงานรวมปรับเพิ่มขึ้น จับตาตัวเลขแรงงานที่ว่างงานเกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.2%  8.1 หมื่นคน แนะรัฐบาลส่งเสริมปรับตัวของแรงงานอุตสาหกรรมรูปแบบเดิมเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงข่าวภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ในปี 2567 ว่าสถานการณ์แรงงานไทยในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ค่อนข้างทรงตัวโดยมีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 40 ล้านคน

ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2566 0.1% จากการจ้างงานภาคเกษตรที่หดตัวต่อเนื่องที่ 3.4% ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์อุทกภัย ส่วนสาขานอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวได้ที่ 1.4% โดยสาขาการขนส่งและเก็บสินค้าขยายตัวได้มากที่สุดที่ 14% และสาขาโรงแรมและภัตตาคารที่ 6.1% ขณะที่สาขาการผลิตหดตัว 1.4% โดยเฉพาะในการผลิต ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตยานยนต์ ชั่วโมงการทำงานโดยรวมเพิ่มขึ้น

 

แต่บางส่วน ยังต้องการทำงานเพิ่ม โดยภาพรวมและเอกชนอยู่ที่ 43.3 และ 47.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามลำดับ โดยผู้ทำงาน ล่วงเวลาเพิ่มขึ้น 3.8% ขณะที่ผู้เสมือนว่างงานลดลง 32.9% และผู้ทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้น 15%  ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ 1.02% หรือมีผู้ว่างงาน จำนวน 4.1 แสนคน เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 คิดเป็นอัตราว่างงาน 1.02% เพิ่มขึ้นจาก 0.99% ในปีก่อน

ทั้งนี้สถานการณ์ผู้ว่างงานที่ต้องจับตาในระยะต่อไปคือผู้ว่างงานระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีเดียวกันของปีก่อนหน้ามากถึง 16.2% หรือมีผู้ว่างงานในกลุ่มนี้กว่า 8.1 หมื่นคน โดยกว่า 65% ของคนในกลุ่มนี้ระบุว่าหางานไม่ได้ ขณะที่  71.3% ไม่เคยทำงานมาก่อน ซึ่งในจำนวนนี้เกือบ 3 ใน 4 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี ซึ่งสะท้อนภาวะที่ประเทศไทยมีงานใหม่ๆเข้ามาลงทุนแต่ว่าไม่สามารถหาแรงงานที่มีทักษะสอดคล้องกับงานใหม่ๆได้

สำหรับประเด็นแรงงานที่ต้องติดตามในระยะถัดไป ได้แก่

1.การส่งเสริมการปรับตัวของแรงงานในอุตสาหกรรมรูปแบบเดิมให้เป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้โครงสร้างการผลิตแบบเดิมไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงงานทั้งการเลิกจ้าง การลด OT ตลอดจนการใช้มาตรา 75 การสมัครใจลาออก และการเกษียณก่อนกำหนด

2.การเตรียมความพร้อมด้านทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนเพิ่มส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมใหม่ และอาจมีการจ้างแรงงานไทยประมาณ 1.7 แสนคน ซึ่งจะต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนเพื่อให้แรงงานไทยได้รับประโยชน์จากการการลงทุนดังกล่าว

และ 3. ผลกระทบต่อค่าครองชีพจากสถานการณ์อุทกภัยที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น โดยสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่ช่วงกลางปี 2567 ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะพืชระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ควรตรวจสอบและควบคุมราคาไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ประสบภัยน้ำท่วม

 สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป ได้แก่

1.การส่งเสริมการปรับตัวของแรงงาน ในอุตสาหกรรมรูปแบบเดิมให้เป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมก าลังเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงที่ท าให้โครงสร้างการผลิตแบบเดิมไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อ แรงงานทั้งการเลิกจ้าง การลด OT ตลอดจนการใช้มาตรา 75 การสมัครใจลาออก และการเกษียณก่อนกำหนด

2.การเตรียมความพร้อมด้านทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่ง BOI เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนเพิ่มส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมใหม่ และอาจมีการจ้างแรงงานไทยประมาณ 1.7 แสนคน ซึ่งจะต้อง มีการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนเพื่อให้แรงงานไทยได้รับประโยชน์จากการการลงทุนดังกล่าว

และ 3.ผลกระทบต่อค่าครองชีพจากสถานการณ์อุทกภัยที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น โดยสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2567 ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะ พืชระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ควรตรวจสอบและควบคุมราคาไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของ ประชาชน โดยเฉพาะผู้ประสบภัยน้ำท่วม หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสอง ปี 2567 ขยายตัวชะลอลง จากการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงิน ที่เพิ่มขึ้น

ด้านคุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ แนวโน้มการก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น ลูกหนี้บ้านที่มีปัญหาการผิดนัดชระหนี้ ความเสี่ยง ในการพึ่งพาหนี้นอกระบบของครัวเรือน และการเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาอุทกภัยด้วย