กรมหม่อนไหม ดึงงานวิจัย แปรรูปเพิ่มมูลค่า สู่สินค้าเวชภัณฑ์

กรมหม่อนไหม ดึงงานวิจัย แปรรูปเพิ่มมูลค่า สู่สินค้าเวชภัณฑ์

กรมหม่อนไหมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย “ตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ดึงงานวิจัย หนุนส่งเสริมแปรรูปสินค้าเพื่อทางเวชภัณฑ์ ยกระดับคุณภาพงานหม่อนไหมทั้งระบบ หวังสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานวันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม เนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปี ภายใต้แนวคิด “Eco Silk : ไหมรักษ์โลก”  ว่า ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา กรมหม่อนไหมได้ดำเนินงานภายใต้ ภารกิจสำคัญเพื่อทำให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปีและนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้' ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของเกษตรกร เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม โดยใช้การตลาด นำการผลิต การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้า พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

กรมหม่อนไหม ดึงงานวิจัย แปรรูปเพิ่มมูลค่า สู่สินค้าเวชภัณฑ์

 “จากนี้ไปกระทรวงเกษตรฯจะมุ่งเน้นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหม่อนไหม ให้คงอยู่เป็นมรดกของชาติ รวมถึง การส่งเสริมสนับสนุนให้เป็น Soft Power ของไทย เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการด้านหม่อนไหม และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้เกษครกรไทยที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างยั่งยืนต่อไป ”

 ด้าน นายนวนิตย์ พลเคน อธิบดีกรมหม่อนไหม  กล่าวว่า  สำหรับผลงานสำคัญในปี 2567 กรมหม่อนไหมได้มุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนเกษตรกรหม่อนไหมรายใหม่และพื้นฟูเกษตรกรรายเดิม ซึ่งมีผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรหม่อนไหม จำนวน 24,505 ราย มากกว่าเป้าหมาย ถึง 37 เปอร์เซ็นต์ โดยกรมหม่อนไหมได้สนับสนุนพันธุ์หม่อน ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 26 ล้านตัน และ ผลิตไข่ไหม พันธุ์ดี 101.392 แผ่น แจกจ่ายให้กับเกษตรกร จำนวน 13,730 ราย 

กรมหม่อนไหม ดึงงานวิจัย แปรรูปเพิ่มมูลค่า สู่สินค้าเวชภัณฑ์

สำหรับการวิจัยและพัฒนา ได้มีการ พัฒนา “ไหมพันธุ์ศรีสะเกษ 72” หรือ “ทับทิมวนา “ซึ่งมีรังไหมสีเหลืองเข้ม มีความแข็งแรง เลี้ยงง่ายให้ผลผลิตสูง และการนำไหมมาใช้ด้านวัสดุทางการแพทย์ เช่น โครงร่างกระดูก แผ่นปิดแผลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและสำหรับใช้พื้นฟูเนื้อเยื่อเต้านมที่เกิดจากการผ่าตัดมะเร็งเต้านม การพัฒนาสินค้าประเภท Functional Food เช่น ผงโปรตีนจากดักแด้และหนอนไหม เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากใบหม่อนและใบหม่อนสำหรับเป็นอาหารเสริมในสัตว์”

กรมหม่อนไหม ดึงงานวิจัย แปรรูปเพิ่มมูลค่า สู่สินค้าเวชภัณฑ์

"ในส่วนของงานรับรองมาตรฐาน กรมหม่อนไหมได้ตรวจรับรอง ฯ ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ทั้งสิ้น 250,567 เมตร คิดเป็นมูลค่ากว่า 642 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 9.5%  ขณะเดียวกัน ยังมีการจับมือกับภาคเอกชน ในการทำเกษตรพันธสัญญา (contract farming) เพื่อช่วยรับประกันราคาผลผลิตและสร้างตลาดที่มีความมั่นคงให้เกษตรกร การส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่ ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั่วประเทศและงาน "ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย"ครั้งที่ 19 ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ กว่า 44 ล้านบาท"

กรมหม่อนไหม ดึงงานวิจัย แปรรูปเพิ่มมูลค่า สู่สินค้าเวชภัณฑ์

 โดยผลสัมฤทธิ์จากการ ขับเคลื่อนภารกิจของกรมหม่อนไหม ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2567 สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการหม่อนไหม รวมทั้งสิ้นกว่า 1,296 ล้านบาท และผลจากการ ทุ่มเทในการพัฒนางานหม่อนไหม ทำให้กรมหม่อนไหมได้รับรางวัลเลิศรัฐ รางวัลบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม รางวัลระดับดีรางวัลสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วมประจำปี 2567 เรื่อง *onmonsil : buiram model สืบสานไหมไทย ไว้ให้คงอยู่คู่แผ่นดิน" นับเป็นความภาคภูมิใจของกรมหม่อนไหม โดยรางวัลดังกล่าวจะเป็นแรงผลักด้นให้กรมหม่อนไหมเดินหน้าทำงานเคียงข้างเกษตรกร พัฒนางานด้านหม่อนไหม พัฒนา บุคลากรให้มีศักยภาพ และขับเคลื่อนการพัฒนาหม่อนไหมไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป