'สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย' หนุนรัฐทำ RE 100 ดึงการลงทุนจากต่างประเทศ
"สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย" หนุนรัฐทำ RE 100 วางกฎระเบียบคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ ดึงการลงทุนหลังกระแสไฟสะอาดตลอดซัพพายเชน เป็นที่สนใจอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนะธุรกิจมองการลดคาร์บอนเป็นโอกาสมากกว่าต้นทุน
นายเจมส์ แอนดริว มอร์ คณะกรรมการสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี100) กล่าวในงาน Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business วันที่ 4 ธันวาคม 2567 ณ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ในปัจจุบันเรื่องของพลังงานสะอาดมีความจำเป็นมากขึ้นในการทำธุรกิจ และการขยายการลงทุนไปในประเทศต่างๆ หลายประเทศมีการวางแผนให้บริษัทมีการใช้พลังงานสะอาด 100% (RE100) รวมทั้งในแง่ของซัพพายเชนด้วย ปัจจุบันมีธุรกิจที่ใช้ AI และดาต้าเซนเตอร์มากขึ้นซึ่งก็ยังไม่ทิ้งแนวคิดและความจำเป็นเรื่องของซัพพายเชนที่ต้องกรีน และแฟคตอรี่ที่ต้องกรีนเช่นกัน ซึ่งทุกคนต้องการเข้าถึงพลังงานสะอาดได้
อย่างไรก็ตามกริดแต่ละประเทศยังไม่เพียงพอ ดังนั้นในแต่ละประเทศที่จะเข้ามาลงทุนนั้นก็เริ่มดูสัดส่วนพลังงานสะอาด และการเข้าถึงพลังงานสะอาดนั้นยากหรือง่ายแค่ไหน ซึ่งเห็นแล้วว่าในส่วนของประเทศไทยนั้นก็มีความพยามที่จะทำในส่วนนี้เช่นการมีการทำพลังงานสะอาดมากขึ้นเช่นการกำหนดแผนของการผลิตพลังงานสะอาดมากขึ้นในแผนพลังงานชาติ (PDP) การออก PPA ที่ไทยออกมา 5,000 เมกะวัตต์ มีการขายไฟฟ้าที่มีใบการรันตีพลังงานหมุนเวียน (UTG)
ส่วนเรื่องที่กำลังเป็นกระแสความนิยมที่จะเกิดตามมาคือการเลือก Third Party Access ที่จะสามารถเลือกแหล่งที่จะซื้อพลังงานสะอาดได้ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการใช้พลังงานสะอาดโดยเราจะสามารถจ่ายค่าผ่านทางพลังงาน และอีกส่วนหนึ่งคือการใบรับรองพลังงานหมุนเวียนที่เป็นการการันตีการใช้พลังงานสะอาดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวทางที่กำลังได้รับความนิยมในภูมิภาคนี้
ในเรื่องคาร์บอนเครดิตมีบทบาทในโลกมาก เรามีกิจกรรมที่จะสามารถทำให้คาร์บอนลดลงเพื่อให้โลกไม่ร้อนเกิน 2 องศาเซลเซียสให้ได้ ตอนนี้ในแต่ละตลาดนั้นยังมีเรื่องของกฎเกณฑ์ และกฎระเบียบที่ไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ
โดยตอนนี้หลายองค์กรในตลาดคาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจยังรอความชัดเจนในเรื่องของกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นการกำหนดในเรื่องของตลาดภาคสมัครใจ ขณะที่สิงคโปร์นั้นเป็นตลาดภาคบังคับที่มีการกำหนด Carbon Tax ทำให้เกิดความชัดเจนในแง่การบริหารงานด้านนี้ของภาครัฐและภาคเอกชนด้วย
“ภาคเอกชนมีแรงกดดันจากต่างประเทศมากขึ้นที่ต้องลดคาร์บอนทั้งจากฝั่งผู้ผลิตในซัพพายเชน และภาคผู้บริโภค เมื่อเรามองในเรื่องของการแข่งขันนั้น เราต้องมองว่าในเรื่องพวกนี้คือต้นทุนหรือไม่ แต่ในเรื่องของบริษัทชั้นนำนั้นเรานั้นจะเห็นว่าเขามองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะสามารถลดต้นทุนและลดการปล่อยคาร์บอนไปพร้อมๆกันซึ่งผ่านกลไกอย่างเรื่องของการลดการใช้พลังงาน เช่นไอโฟน 16 ที่เราสามารถจะลดการใช้พลาสติกลงไป 16%
รวมทั้งการหานิวเอสเคิร์ฟใหม่ๆของบริษัท เราสามารถที่จะมองหาโอกาสในเรื่องของการลดคาร์บอนเหล่านี้เราก็จะสามารถเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ได้จากการที่มีนโยบายที่สนับสนุนมากพอสมควร”