บันไดความสำเร็จ 'ดิษทัต ปันยารชุน' ออกจาก Comfort Zone สู่ Growth Zone
บันไดความสำเร็จในแบบฉบับ "ดิษทัต ปันยารชุน" ฉายภาพความสำเร็จ CEO OR คนที่ 2 ในวันครบวาระการทำงานในตำแหน่ง วันที่ 11 ธ.ค. 2567 ย้ำการทำงานต้องไม่ยึดติดอยู่กับที่ ต้องกลัาที่จะออกจาก Comfort Zone สู่ Growth Zone เปิดรับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพใหม่
KEY
POINTS
- ก้าวแรกในการทำงานที่ ปตท. ปี 2534 กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศครบวงจร เป็นธุรกิจที่ไม่เหมือนใครเป็นตัวหลักสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้รางวัลพนักงานดีเด่นภายใน 4 ปี ของการทำงาน
- หากเราอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่จะต้องมีความโดดเด่น เมื่อต้องอยู่ในธุรกิจน้ำมัน "คาแร็คเตอร์" ที่แตกต่างถือเป็นการท้าทายความสามารถ ส่วนตัวชอบเจอผู้คน ชอบพูดภาษาอังกฤษ และชอบเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ
- เมื่อธุรกิจปตท. เติบโตและมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มแยกธุรกิจที่ต้องเจรจากับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ ด้วยความที่ชอบท้าทายจึงอยากที่ออกไป และคิดตลอดเวลาว่าจะทำอย่างไรให้ปตท.เจริญรุ่งเรืองเป็น "Global Journey"
จากวันที่ได้สัมภาษณ์ "พี่บอย-ดิษทัต ปันยารชุน" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ถือเป็น CEO คนที่ 2 หลังจากแยกบริษัทออกจาก บริาัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในงาน "New Chapter of Disathat Panyarachun" เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ก่อนที่คุณดิษทัตจะครบวาระการทำงานวันที่ 11 ธ.ค. 2567
คุณดิษทัต เล่าว่า ก้าวแรกในการทำงานที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นจากปี 2534 เมื่อมาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศครบวงจร (Trading) ถือเป็นธุรกิจที่ไม่เหมือนใครที่เป็นตัวหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มธุรกิจ ตลอดระยะเวลา 30-40 ปีที่อยู่กับปตท. ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย โดยเฉพาะการได้รับรางวัลพนักงานดีเด่นภายใน 4 ปี ของการเข้าทำงาน
ในขณะที่สิ่งที่แตกต่างที่ชอบคือความท้าทายความสามารถของตัวเอง ซึ่งจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะคิดเสมอว่า หากเราอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ "จะต้องมีความโดดเด่น" ดังนั้น เมื่อต้องอยู่ในธุรกิจน้ำมัน "คาแร็คเตอร์" ที่แตกต่างถือเป็นการท้าทายความสามารถ
คุณดิษทัต เล่าว่า ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบเจอผู้คน ชอบพูดภาษาอังกฤษ และชอบเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ เสมอ หากย้อนไปช่วง 30 ปีที่แล้ว ซึ่งเริ่มมีการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าจึงมองว่าเป็นโอกาส่ที่ดีที่สุด อีกทั้งในช่วงนั้น คนในปตท. ยังไม่มีใครเข้าใจการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า การประกาศราคาน้ำมันเบรนท์ ดูไบ
"ยอมรับว่าในช่วงเวลานั้นคนใน ปตท. มีคนที่เก่งเรื่องนี้ไม่ถึง 5 คน ผมติดอันดับที่ 3 ในปตท.ที่เรียนรู้การซื้อขายน้ำมันในประเทศอังกฤษ เมื่อเวลาผ่านไป การเจริญเติบโตในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศที่เริ่มต้นจากการที่ไม่ใช่ลูกหม้อของปตท.อย่างแท้จริงในปี 2534"
ดังนั้น เมื่อธุรกิจปตท. เติบโตและมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มแยกธุรกิจที่ต้องเจรจากับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศด้วยความที่ชอบท้าทายจึงอยากที่ออกไป จากเดิมที่เป็นธุรกิจจัดหา ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป จึงคิดตลอดเวลาว่าจะทำอย่างไรให้ปตท.เจริญรุ่งเรืองเป็น "Global Journey"
"ครั้นที่ตัดสินใจมาบริหารงานที่ OR มีคนถามว่าผมแน่ใจเหรอที่จะมาเพราะมองว่าไม่น่าจะประสบความสำเร็จ และเมื่อยิ่งมีคนดูถูกว่าไม่สำเร็จ ผมกลับยิ่งชอบ เพราะอะไรที่เป็นความท้าทาย ตัวเองกลับยิ่งชอบ"
ทั้งนี้ หากย้อนไป 2ปี 12วัน เมื่อถึงวันที่เสร็จสิ้นภารกิจจาก OR ถือเป็นเครื่องบินที่ยังเทคออฟไม่ได้ จึงต้องวางรากฐานสำคัญขององค์กรผ่านแนวคิด RISE OR ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ คือ R : Result-oriented การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด, I : Intelligence การร่วมกันทำร่วมกันเติบโต, S : Synergy การสร้าง Mindset แห่งความเป็นเจ้าของธุรกิจ และ E : Entrepreneurship
นอกจากนี้ OR มีผู้ระดับรองฯ เยอะไป จึงได้กระจายออกไปใน 4 กลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่ 1. กลุ่มธุรกิจ Lifestyle 2. กลุ่มธุรกิจ Mobility 4. กลุ่มธุรกิจ Global และ 5. กลุ่มธุรกิจ OR Innovation จากการมีผู้บริหารระดับรองฯ เยอะ มีการซื้อผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นทั้งหมด ด้วยคลังน้ำมันถึง 21 คลังทั่วประเทศ
ดังนั้น เมื่อสินทรัพย์ที่เยอะมาก ถือเป็นเรื่องไม่ดีหากไม่บริหารจัดการให้เกิดประโยชน์จะกลายเป็นต้นทุน เพราะคลังน้ำมันต้องบริหารจัดการให้เกิดการใช้ประโยชน์ถึง 60% หากไม่ใช้ก็จะไม่งั้นไม่คุ้ม จึงต้องคิดเพื่อร่วมกันทำและร่วมกันเติบโต จึงต้องมีคำว่า Synergy หากไม่มีคำนี้จะประกอบอาชีพไม่ได้ ตอบโจทย์ทั้งกลุ่มปตท.
คุณดิษทัต เล่าวว่า การทำ Project ONE (P1) ในช่วงที่ทำงานด้านเทรนดดิ้ง ถือเป็นการแก้ปัญหาให้ปตท. ที่เผชิญมานานกว่า 20 ปี ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นการรวมศูนย์การจัดซื้อและขายน้ำมันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการนำเข้าและส่งออก พร้อมทั้งแสวงหาโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการค้าในตลาดสากล
"โครงการ P1 เป็นการบริหารจัดการธุรกิจน้ำมันที่ครอบคลุมในกลุ่มปตท.ทั้งหมด โดยเฉพาะตลาดการค้าต่างประเทศ เมื่อนำเข้าน้ำมันดิบ 1 ลำเรือ จะมีมูลค่าระดับ 5 พันล้านบาท 1 เดือน มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาทซึ่งไม่รวมการซื้อขายล่วงหน้า ดังนั้น จึงต้องดึงเทคโนโลยีมาใช้ และผนึกกำลังกับโรงกลั่นกลุ่มปตท. ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจ"
นอกจากนี้ คุณดิษทัตได้เน้นย้ำด้าน Entrepreneurship โดยสิ่งที่อยากเน้นคนใน OR คือ "ต้องมี Mindset" ที่มีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ OR ให้คิดเสมอว่า OR เป็นธุรกิจของพวกเราทุกคน และก้าวออกจาก Comfort Zone ที่จำกัดอยู่ในพื้นที่ความถนัดเดิมสู่ Growth Zone ที่เปิดรับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพใหม่ เพื่อก้าวสู่ตำแหน่งงานอื่นๆ ให้ได้
คุณดิษทัต เล่าว่า ตลอกระยะเวลาที่ทำงานใน OR สิ่งที่ต้องทำคือ เมื่อต้องออกไปงาน ภายในไม่ถึง 3 ชั่วโมง หลังจากจบภารกิจแม้จะพูดบนเวทีสัมมนาต่าง ๆ หรือออกไปพบปะพาร์ทเนอร์ธุรกิจ จะสรุปสิ่งที่ได้ทำเพื่อให้เห็นภาพว่าทำอะไรไปบ้างในแต่ละวัน และส่งเข้าในทุกกลุ่มเพื่อสื่อสารให้กับคนใน OR
นอกจากนี้ เพื่อให้บอร์ดบริหาร OR รับรู้และเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่ทำในทุกวันเป็นสิ่งที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตให้กับคนใน OR ว่าองค์กรมีการขยับไปทางไหน เพื่อให้เกิด Mindset ที่ดีร่วมกัน "ไม่มีวันไหนที่ไม่ส่งงานถ้าไปทำงาน และทุกครั้งจะเป็นคนทำเองทั้งหมด"
"ผมมาเพื่อนเปลี่ยน เพราะเห็นมีเรื่องราวเยอะมากที่ต้องเปลี่ยน ผมชอบบันทึกและสื่อสาร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเสมอ เพราะเราเป็นองค์กรขนาดใหญ่จึงสามารถช่วยคนตัวเล็กได้อีกมากมาย"
ดังนั้น OR จะต้องปรับโครงสร้าง แม้สิ่งที่ดีอยู่แล้ว ก็จะต้องปรับ เช่น Café Amazon ที่ทำมาได้ดีในรุ่นสู่รุ่นตลอด 20 ปีมานี้ ถือว่าดีมาก แต่ณ เวลานี้ ด้วยสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความดีที่มีอยู่ก็จะต้องไปรับ ยังเป็นเดิมๆ ไม่ได้ เพื่อทำให้ธุรกิจไปได้และให้ดีมีประสิทธิภาพ รวมถึงธุรกิจอื่นๆ เช่นกัน
เมื่อฟังแนวคิดคุณดิษทัตจบ จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม OR ถึงต้องยุติธุรกิจที่ไม่ทำกำไร หรือทำกำไรได้น้อยลงหลายแบรนด์ที่ร่วมลงทุน และกล้าที่จะก้าวออกมาลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ ตอบรับกับพฤติกรรมลูกค้ามากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาศึกษาพฤติกรรมความต้องการลูกค้าที่ถือบัตรสมาชิกบลูการ์ดกว่า 8 ล้านราย ให้ได้รับบริการที่ตรงไลฟ์สไตล์มากยิ่งขึ้น