นายกฯ โยน 'พีระพันธุ์' ใช้อำนาจ กพช.เบรกประมูลไฟฟ้าหมุนเวียน 3 พันเมก
นายกฯ โยน 'พีระพันธุ์' ใช้อำนาจ "กพช." เบรกซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนเฟส 2 กว่า 3 พันเมกะวัตต์ เปิดไทม์ไลน์ "กกพ." เมินคำสั่งงัดข้อรมต.พลังงาน
รายงานข่าวระบุว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 25 ธ.ค. 2567 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพช. ได้มอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุม โดยวาระการประชุมสำคัญคือการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) จำนวน 3,660 เมกะวัตต์ ของสำนักงาน กกพ.
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ส่งหนังสือถึงนายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ให้ระงับการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) เป็นการชั่วคราว
โดยระบุว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) มีข้อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Feed-in Tanf (FIT) ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 9 มีนาคม 2566 ปริมาณ 2,180 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นริมาณการรับซื้อไฟฟ้ารวมไม่เกิน 600 แมกะวัตต์ สำหรับพลังงานลม และไม่เกิน 1,580 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ("โครงการ")
ซึ่งเป็นการดำเนินการมาก่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระหรวงพลังงาน (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) จะเข้ารับตำแหน่ง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานนั้น จากข้อสอบถามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ประกอบกับต่อมามีการโต้แย้งจากบุคคลภายนอกสอดคล้องกับข้อสอบถามดังกล่าวในบางประเด็น
อีกทั้งนายกรัฐมนตรี (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร) ได้ให้ความสำคัญในกรณีดังกล่าวนี้ด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) จึงหารือกับเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในเบื้องต้นเห็นควระงับการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมตามโครงการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสร็จสิ้น
ด้วยเหตุข้างต้น จึงขอให้ท่านระงับการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื่อเพลิงและชยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed-in Tarlf (FIT) ตามโครงการข้างต้นไว้
เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสร็จสิ้น
ต่อมาวันที่ 11 ธ.ค. 2567 สำนักงาน กกพ. ส่งหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง ขอข้อมูลความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยสิ่งที่ส่งมาด้วย คือ
1. ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Taiff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567
2. ประกาศ กกพ. เรื่อง ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tariff (FT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567
3. หนังสือกระทรวงพลังงาน ที่ พน 0100/754 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567
ทั้งนี้ ด้วยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 9 มีนาคม 2566 และมติคณะกรรมการบริหารนโยบาย
สำนักงาน กกพ. ใคร่ขอข้อมูลความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอ้างถึง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของ กกพ. ในการดำเนินการตามหนังสือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้รอบคอบและชอบด้วยกฎหมาย โดยกกพ.มีกำหนดดำเนอนการให้แล้วเสร็จสิ้นภายในวันที่ 16 ธ.ค. 2567
ทั้งนี้ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบข้อคำถามเลขาธิการ กกพ. วันที่ 19 ธันวาคม 2567 โดยสิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาบันทึก เรื่อง ผู้รักษาการตามกฎหมาย (เรื่องเสร็จที่ 138/2497)
ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ขอข้อมูลความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีการระงับการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม ความละเอียดทราบแล้ว นั้น
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาขอเรียนว่า ไม่มีหนังสือหารือเรื่องนี้มายังสำนักงานฯ มีเพียงกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานหารือด้วยวาจาเกี่ยวกับอำนาจของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย ซึ่งเลขาธิการฯ ได้ตอบข้อหารือด้วยวาจาตามแนวความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ดังนั้น วันที่ 19 ธ.ค. 2567 สำนักงาน กกพ. จึงได้ส่งหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เรื่อง การระงับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed - in Tarff (FIT) เป็นการชั่วคราว โดยอ้างถึง หนังสือกระทรวงพลังงาน ที่ พน 0100/754 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 โดยสิ่งที่ส่งมาด้วยคือ
1. ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tarif (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ.2567
2. ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tariff (FT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567
3. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ด่วนที่สุด ที่ สกพ 5402/1737 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2567
4. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0909/183 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2567
ตามหนังสือที่อ้างถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ระงับการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed - in Tarff (FIT) ตามมติดณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ วันที่ 9 มีนาคม 2566 ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสร็จสิ้น ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในการประชุมครั้งที่ 54/2567 (ครั้งที่ 939) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 มีมติให้สำนักงาน กกพ. มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอขอรายละเอียตตามที่ท่านปรึกษาหารือกับเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นควรระงับการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมฯ
สำหรับนำมาใช้เป็นแนวทางดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศและมติที่เกี่ยวข้อง ต่อมา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือแจ้งมายังเลขาธิการสำนักงาน กกพ. โดยสำนักงาน กกพ. ได้นำหนังสือฉบับบับดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 54/2567 (ครั้งที่ 940) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 รับทราบ
โดยกกพ. เห็นควรให้ประกาศผลการคัดเลือกภายในวันที่ 16 ธันวาคม 2567 เพื่อให้เป็นไปตามกรอบนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ระเบียบ ประกาศและมติที่เกี่ยวข้อง รายละเอียด ประกาศและมติที่เกี่ยวข้อง
รายงานข่าวระบุว่า สำนักงาน กกพ. ถือเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการเปิดรับซื้อไฟสะอาดในโครงการดังกล่าว อีกทั้ง การที่นายพีระพันธุ์ จะขอให้ชะลอการเปิดประมูลจากมติกพช. วันที่ 9 มีนาคม 2566 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานนั้น จึงต้องอาศัยอำนาจของประธาน กพช.เป็นผู้อนุมัติ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงาน กกพ. อยู่ระหว่างรอมติกพช.จากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะเลขา กพช. ก่อนและจะนำหารือในบอร์ด กกพ. ตามขั้นตอนต่อไป