‘สภาพัฒน์’ ประเมิน 3 สมรภูมิ ความเสี่ยง ‘ภูมิรัฐศาสตร์’ – ‘เศรษฐกิจ’ ปี 68
‘สภาพัฒน์’ รอประเมินสถานการณ์ ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางหลัง ซีเรีย เปลี่ยนการปกคลอง หวังสถานการณ์มีความสงบส่งผลดีต่อราคาพลังงาน/ ส่วนในทะเลจีนใต้ จับตาสถานการณ์ ความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน
KEY
POINTS
- ‘สภาพัฒน์’ รอประเมินสถานการณ์ ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางหลัง ซีเรีย เปลี่ยนการปกครองขับไล่อดีต ปธน.
- หวังสถานการณ์ในตะวันออกลางความสงบมากขึ้นส่งผลดีต่อราคาพลังงานและพลังงานที่ไม่เพิ่มขึ้นมาก
- จับตาสถานการณ์ ความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หวั่นเกิดปัญหากระทบการผลิตชิป
- ส่วนกรณีรัฐเซีย-ยูเครน จับตาไบเดนอาจอนุมัติความช่วยเหลือทางทหารให้ยูเครนเพิ่มทำสงครามยืดเยื้อ
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่าในปี 2568 ปัจจัยเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ความขัดแย้งที่มีอยู่ในหลายภูมิภาคเป็นปัจจัยที่ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนต้องให้ความสนใจเนื่องจากถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2568 สมรภูมิ และคู่ขัดแย้งที่ต้องจับตา ดังนี้
1.ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ทั้งนี้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรีย นายบาชาร์อัล-อัสซาดถูกโค่นล้มจากตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียและหนีไปอยู่ต่างประเทศ
ซึ่งตอนนี้ยังไม่ชัดว่าประเทดศซีเรียในระยะต่อไปจะเป็นอย่างไร ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะมีการวางระบบใหม่ภายในซึ่งส่งผลในแง่การเป็นพันธมิตรระหว่างซีเรีย และอิสาราเอล ทำให้ความขัดแย้งของสองประเทศนี้ในอิสราเอลนั้นลดลงได้ซึ่งส่งผลดีต่อความสงบในตะวันออกกลางและส่งผลดีต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกด้วย
อย่างไรก็ตามในพื้นที่ตะวันออกกลางมีความซับซ้อนและยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการสู้รบกันได้
ซึ่งหากมีความรุนแรงเกิดขึ้นก็จะกระทบกับราคาน้ำมันในคตลาดโลก และส่งผลกระทบมายังราคาพลังงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการปิดเส้นทางขนส่งน้ำมันบริเวณช่องแคบฮอร์มุช
2.ความขัดแย้งระหว่างจีน และไต้หวัน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงมากขึ้น และถือว่าเป็นประเด็นใหญ่ในพื้นที่บริเวณนี้ กรณีที่เกิดปัญหาระหว่างกันและเกิดความตรึงเครียดมากขึ้น ก็จะกระทบกับบรรยากาศการค้าโลก
อาจเกิดการขาดแคลนชิปเนื่องจากไต้หวันเป็นผู้ผลิตชิปรายสำคัญของโลก ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนชิปและกระทบกับการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งรถยนต์ที่ปัจจุบันต้องใช้ชิปมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตด้วย
และ 3.ความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะคลี่คลายได้มากขึ้นหลังจากที่ทรัมป์ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย แต่ต้องจับตา ว่าก่อนที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะหมดวาระลงจะมีการส่งมอบอาวุธอะไรให้ยูเครนสู้กับรัสเซีย
โดยหากส่งอาวุธที่มีสมรรถนะสูง และมีจำนวนมากก็จะทำให้ระยะเวลาในการสู้รบยาวนานออกไปได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกและของไทยได้ในอีกไม่นานนี้