ทางออกเรื่อง 'ค้าขายออนไลน์' ของไทย
เราต้องร่วมมือเพื่อทำให้ผู้ประกอบการไทยรอดในตลาดที่แข่งรุนแรง
ผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นคณะอนุกรรมาธิการการพาณิชย์ ได้มีการประชุมกันเรื่องอีคอมเมิร์ซไทย มีประเด็นน่าสนใจหลายข้อทีเดียว ผมนำเสนอแผนผลักดันอีคอมเมิร์ซของประเทศและผู้ประกอบการไทย รวมไปถึงการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศ โดยได้ชี้ให้ทุกคนเห็นว่าอีคอมเมิร์ซกำลังเปลี่ยนแปลงประเทศแล้ว ดูจากที่หลายคนเคยชินกับการซื้อของทางออนไลน์
แต่เรื่องที่ผมย้ำเรื่อยมาคือตอนนี้บริษัทที่เข้ามามีแต่ยักษ์ใหญ่จากต่างชาติ ผมจึงเสนอว่าทำไมเราไม่สร้างนโยบายที่สามารถการกระตุ้นให้ธุรกิจคนไทยกันเองเข้ามาในออนไลน์ให้มากขึ้น ไม่ให้มีแต่ของต่างชาติ
โดยโครงการหนึ่งที่ผมชื่นชมอยู่ก็คือ ชิม ช้อป ใช้ เพราะมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเลย คือ บริษัทหรือร้านค้าขนาดกลาง หรือแม้แต่โชห่วยเล็กๆ ก็เข้ามาร่วมในโครงการนี้ ผมไปต่างจังหวัดจะเห็นร้านมีป้ายหน้าร้าน “รับชิม ช้อป ใช้” นั่นแสดงว่าร้านนี้ได้เข้าสู่ระบบออนไลน์ของภาครัฐไปแล้ว เห็นได้ชัดว่าธุรกิจไทยมีความพร้อมเข้าสู่ออนไลน์ หากเรามีกลยุทธ์ในการดึงเข้ามาอย่างถูกวิธี
ดังนั้น ผมขอสรุป Framework ใหญ่การกระตุ้นประเทศด้วยอีคอมเมิร์ซ คือ นโยบายด้านต่าง ๆ จากภาครัฐ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่เข้ามาสู่ช่องทางออนไลน์ เช่น ในเรื่องของภาษี TAX พิเศษ การยกเว้นภาษีเงินได้หรือเอาไปคำนวณน้อยลง หรือค่าส่งสินค้าราคาพิเศษจากไปรษณีย์ไทยผู้ค้าที่เข้าร่วมโครงการต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกระทรวงพาณิชย์ก่อน (คล้ายกับการที่ร้านค้าต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการ ชิม ช้อป ใช้)
ผู้ค้าและเว็บไซต์ที่เข่าร่วมต้องเชื่อมต่อกับ E-Tax invoice เพื่อส่งข้อมูลเข้าสรรพกรเลย (ไม่ต้องมีกระดาษและไม่ต้องคอยส่งข้อมูลตามหลัง) มีกลุ่มเอกชนคอยช่วยเหลือการเชื่อมต่อให้เกิดขึ้นได้จริง เช่น เชื่อมกับระบบบัญชีออนไลน์อย่าง Flow, Peak, TR Cloud ที่เชื่อมกับระบบพวกนี้อยู่แล้วมีหน้าเว็บตลาดกลางรวมคนขายสินค้า เป็นตลาดกลางของประเทศ (สมาคม E-Commerce สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย สภาดิจิทัล ช่วยกันทำโดยเอกชนไทย)มีเงินพิเศษอย่างชิม ช้อป ใช้ ให้สำหรับการซื้อสินค้าทางออนไลน์กับผู้ค้าคนไทยผ่านเว็บไซต์กลางนี้เท่านั้น หรือเข้าไปเชื่อมกับแอปพลิเคชันชิม ช้อป ใช้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ก็คือ ธุรกิจของคนไทยจะหันมาใช้การค้าออนไลน์มากขึ้นมีคนเข้าสู่ระบบมากขึ้น เราก็จะรู้ว่ามีจำนวนผู้ค้าออนไลน์เท่าไร เพื่อให้การสนับสนุนได้ง่ายขึ้นเมื่อผู้ค้าเข้าสู่ระบบเพิ่มมากขึ้น รายได้ก็สู่เข้าประเทศมากขึ้นเป็นการสนับสนุนผู้ค้าออนไลน์ของไทย และสามารถนำคนที่พร้อมให้ส่งออกไปต่างประเทศได้โปรโมทตลาดกลางของประเทศ และนำไปสู่ความร่วมมือกับต่างประเทศได้ง่ายมากขึ้นธุรกิจใช้ E-Tax invoice มากขึ้น ช่วยลดการใช้กระดาษ ประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้นมีเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
นอกจากที่ผมได้คุยกับทางอีอีซีในโปรเจ็คสร้างผู้ประกอบการ และผลักดันผู้ประกอบออกนอกประเทศผ่านอีอีซี ยังมีโอกาสได้พูดคุยกับคณาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเล่าถึงสถานการณ์ความได้เปรียบทางการค้าของธุรกิจจากต่างประเทศ กับการค้าปลีกออนไลน์
ทุกคนต่างมีความกังวลเรื่องการค้าปลีกของไทย จะอยู่ในมือของต่างชาติทั้งหมด เหล่าคณาจารย์ต่างเริ่มสนใจ และจะหยิบยกขึ้นมาร่วมกันผลักดันให้หลายภาคส่วน โดยเฉพาะฝั่งภาคการศึกษาให้เข้าใจ และรับรู้ถึงปัญหานี้ และร่วมกันหาแนวทางในการผลักดันธุรกิจไทยให้อยู่รอดและเติบโตไปได้ในภาวะการแข่งขันที่รุนแรง
น่าจะมีการประชุมเสวนาจากภาคการศึกษาในเรื่องนี้ร่วมกับทางสมาคมอีคอมเมิร์ซ ซึ่งตอนนี้ผมพยายามเดินสายผลักดันในความร่วมมือกับรัฐบาล วุฒิสภา อีอีซี ภาคการศึกษา ภาคเอกชน เพื่อทำให้ภาคธุรกิจค้าปลีกไทยสามารถอยู่รอดได้ในภาวะการแข่งขันที่จะรุนแรงมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้