ภาวะ Panic หมดไปหรือยัง

ภาวะ Panic หมดไปหรือยัง

เรายังประเมินได้ไม่แน่ว่าในปี 2563 นี้เศรษฐกิจโลกจะแย่เพียงใด ความรุนแรงของ COVID-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจและตลาดเงินตลาดทุนในไตรมาสที่ 1 ผันผวน

และปรับตัวในทิศทางขาลงอย่างรุนแรง และสถานการณ์ที่ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ช่วงเวลาเพียงเดือนกว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อถึง 1 ล้านรายและเสียชีวิตจำนวนมาก ประเด็นสำคัญในเวลานี้คือ ศูนย์กลางการระบาดใหญ่อยู่ที่สหรัฐฯอเมริกาประเทศที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงกับทั่วโลก  ซึ่งจากการกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ให้เตรียมรับมือผลกระทบครั้งใหญ่จาก COVID-19 ที่จะมีต่อชีวิตผู้คนและเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้ตลาดเกิดความกังวลขึ้นมาอีกครั้ง

ดังนั้นในเดือน เม.ย. เราจะยังเห็นภาพความผันผวนของตลาดอย่างแน่นอน แต่จะเกิดการตกใจและเทขายสินทรัพย์หนักๆ (Panic Sell) ต่อเนื่องอีกหรือไม่ มีประเด็นที่ต้องติดตามดังนี้ครับ

ประเด็นแรก ต้องจับตาดูว่าการระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐฯจะรุนแรงเพียงใด หากผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมีมากขึ้นกว่าที่คาดไว้ สถานการณ์จะกินเวลานานขึ้นและกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้นอีก ซึ่งตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆของสหรัฐฯล่าสุดแย่ลงอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับยุโรปที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเศรษฐกิจหลักอย่างอังกฤษ เยอรมันรวมถึงสเปน ที่ตัวเลขแม้จะเริ่มชะลอตัวลงบ้างแต่ ยังไม่ชัดเจนว่าจุดสูงสุดจะผ่านไปเมื่อใด

ประเด็นที่ 2. มาตรการรับมือของธนาคารกลางประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ทั้งการดอกเบี้ยและอัดฉีดเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่นั้น คาดว่าต้องใช้เวลาอีกระยะถึงจะเห็นผล แต่ก็ช่วยชะลอการเทขายของสินทรัพย์ต่างๆได้ และช่วยหนุนในเรื่องสภาพคล่องในระบบการเงินได้   

ประเด็นที่ 3. การปิดประเทศและการห้ามคนออกจากบ้านในหลายประเทศ ทำให้ธุรกิจต่างๆหยุดลง ส่งผลกระทบมาถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงอย่างมาก บวกกับความขัดแย้งของซาอุฯกับรัสเซีย ที่ยังไม่สามารถเจรจากันได้ ทำให้เกิดภาวะปริมาณน้ำมันที่เกินความต้องการ หรือ ภาวะน้ำมันล้นโลก ในเวลานี้ ทำให้หุ้นกลุ่มน้ำมันปรับตัวลงจนกว่าการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมา

ประเด็นที่ 4.  สถานการณ์ของประเทศไทยจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเพียงใดและรัฐบาลจะใช้มาตรการขั้นสูงสุดอีกหรือไม่ เช่น หยุดการเดินทาง หรือ ห้ามออกจากบ้าน เพราะจะเป็นปัจจัยที่จะผลต่อเศรษฐกิจในทุกระดับของทั้งประเทศ

โดยรวมแล้วในด้านเศรษฐกิจต้องบอกว่ายังมีปัจจัยบวกในเรื่องการอัดฉีดเงินเพื่อพยุงเศรษฐกิจและสภาพคล่องในระบบได้ ทำให้ตลาดลดความเสี่ยงที่จะเกิดการเทขายหนักๆ ลงไป เราจึงเห็นดัชนี SET Index เคลื่อนไหวทรงตัวได้เหนือระดับ 1,000 -1,100 จุดกว่าได้ แต่ก็ต้องบอกว่าตลาดยังไม่ขาขึ้นหรือจังหวะให้เข้าไปลงทุนได้นะครับ โอกาสที่จะปรับตัวลงนั้นมีได้อีกหากสถานการณ์รุนแรงขึ้น โดยที่เราต้องจับตาดูนอกจากบ้านเราก็คือประเทศสหรัฐฯ ครับ

ถามว่าจะจัดพอร์ตลงทุนอย่างไรดีให้ปลอดภัยในระยะสั้นๆนี้ ผมแนะนำกลยุทธ์ลงทุนดังนี้ครับ

  158652660444

KTBST SEC ในเวลานี้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์และให้คำแนะนำการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง ในภาวะที่ตลาดมีความผันผวนและมีความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง ผู้ลงทุนสามารถติดตามข้อมูลจากเราได้ ทาง www.ktbst.co.th หรือ ทาง www.facebook.com/ktbst.th หรือปรึกษาการลงทุนกับที่ปรึกษาการลงทุนของเราได้ตลอดเวลานะครับ

 ติดตามข่าวสารบทวิเคราะห์การลงทุนจาก KTBST SCE ได้ที่ “มุมมองความรู้” ทางเว็บไซด์ www.ktbst.co.th หรือ ทางwww.facebook.com/ktbst.th และสามารถขอคำปรึกษาการลงทุนได้ที่ KTBST SEC 02-648-1111