กฎหมายภาษีกองทุนรวมที่นักลงทุนต้องรู้ อัปเดตปี 2563
สำหรับกฎหมายภาษีกองทุนรวมที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ต่างออกไปจากเดิมอย่างไร
ก่อนอื่นต้องขอเท้าความกลับไปยังปี 2562 รัฐบาลได้มีการออกกฎหมายการจัดเก็บภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้ โดยจัดเก็บอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ดอกเบี้ยที่กองทุนรวมได้รับ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเกิดความเท่าเทียมกันระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงและการลงทุนผ่านกองทุนรวม
จากหลักการตามกฎหมายใหม่ “กองทุนรวม” มีหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งกำหนดให้เฉพาะเงินได้ดอกเบี้ย อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ และไม่ต้องนำรายได้อันมิใช่เงินได้ดอกเบี้ยมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ดีรัฐบาลจะยังคงยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กองทุนรวมในกลุ่มประเภทการออมเพื่อการเกษียณอายุ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนการออมแห่งชาติ กองบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เป็นต้น
จากหลักการข้างต้น ภาระภาษีในฝั่งผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา ในปี 2563 สรุปตามประเภทกองทุน และประเภทเงินได้ ดังนี้