เทคโนโลยีเสียงและพฤติกรรมผู้บริโภคหลังโควิด-19

เทคโนโลยีเสียงและพฤติกรรมผู้บริโภคหลังโควิด-19

เมื่อก่อนเรามักจะเคยชินกับการสื่อสารด้วยวิธีการกดแป้นพิมพ์ หรือสัมผัสหน้าจอ เช่น การพิมพ์ข้อความ การกดรีโมททีวี หรือกดเปิด-ปิดสวิทซ์ไฟ

เทคโนยี IOT (Internet of Things) ในปัจจุบัน ทำให้เราสามารถสั่งการด้วยเสียงได้มากขึ้น เช่น การสั่งสินค้า สั่งการภายในรถด้วยระบบเสียง หรือการเปิด-ปิดไฟในห้อง ทำให้เราได้ ”คุย” กับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อทำให้ชีวิตง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น

ในยุคโควิด-19 เรามักจะกังวลกับการต้องสัมผัสกับสิ่งต่างๆ รอบตัว การใช้เทคโนโลยีเสียงเพื่อการสั่งการอุปกรณ์ต่างๆ จึงให้ความปลอดภัยเพิ่มเติมจากความสะดวก เราต้องการเทคโนโลยีที่เป็น touchless และ contactless มากขึ้นในทุกๆ ด้านของชีวิต อย่างเช่น ในประเทศอเมริกา 36% ของผู้ใช้ Smart speaker บอกว่า พวกเขาใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้นหลังช่วงโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีเสียงในพื้นที่ส่วนกลางในพื้นที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงาน เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการกดปุ่มหรือแป้นสั่งการที่ผู้อื่นได้สัมผัสไปแล้วนั่นเอง

เทคโนโลยีเสียงมีแนวโน้มในการเติบโตอยู่แล้ว เนื่องจากเข้ากับพฤติกรรมของมนุษย์ และการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นธรรมชาติ เสียงเป็นการสื่อสารที่เป็นอัตโนมัติที่สุดของมนุษย์เรา เพราะไม่ต้องมีการเรียนรู้เพื่อใช้งานมากเท่าการสื่อสารแบบอื่นเช่น การเขียน การกดแป้นพิมพ์ หรือการสไลด์หน้าจอ เพราะคนเราสื่อสารด้วยเสียงเป็นพื้นฐานแรกในการเรียนรู้และคุ้นชินอยู่แล้ว

เทคโนโลยีเสียงยังมีบทบาทมากขึ้นในยุคของการระบาดของโรค เพราะผู้คนต้องการ Personal connection และ Human touch มากขึ้น เป็นผลจากการกักตัวที่บ้าน และ Social distancing ขณะที่ร่างกายของคนเราต้องอยู่ห่างจากคนอื่นๆ เพราะเหตุผลด้านสุขภาพและความปลอดภัย หากแต่จิตใจของเรานั้นโหยหาการปฎิสัมพันธ์ กับคนอื่นๆ

เสียงจึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ในเรื่องของ Human touch และ Engagement เคยสังเกตไหมว่า เราจะอารมณ์ดีขึ้นหลังฟังเพลง และคลายเหงาลง เมื่อได้ฟังเสียงดีเจพูดในวิทยุ หรือ จะพูดคุยกับเพื่อนๆ ผ่านโปรแกรม Zoom ในช่วงโควิด-19 คนไทยฟัง Podcast เพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคชาวไทยถึง 44% บอกว่าพวกเขาใช้ Podcast เพิ่มขึ้นในช่วงโควิท รวมถึงใช้งาน music streaming บ่อยขึ้นอีกด้วย

การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Clubhouse ซึ่งเป็น Live Audio Platform ใหม่ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ “เสียง” ต่อผู้บริโภค ความนิยมของ Clubhouse เป็นที่น่าจับตามองว่าเป็น Social Media Platform ที่มาแรงหลังยุคโควิท -19นี้ ผู้ใช้ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตอนนี้มีผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคน ขณะที่ในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีผู้ใช้จำนวน 2 ล้านคน และเพียงแค่ 1,500 คนในเดือน พฤษภาคม 2563 ตอนนี้ Clubhouse เป็นที่พูดถึงอย่างมากในเมืองไทยและมีผู้ใช้เพิ่มขึ้น

สาเหตุที่ Clubhouse เป็นที่นิยมในเมืองไทย คือ

สามารถได้ฟังความคิดเห็นหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนที่เราอาจไม่ได้มีโอกาสได้พบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น นักพูด ดารา ผู้เชี่ยวชาญ เป็นการสร้างกลุ่มสนทนาของคนที่มีความสนใจคล้ายๆ กัน ทำให้พูดคุยกันถูกคอ และเข้มข้นมากขึ้น จนทำให้หลายๆ คน ใช้เวลากับ App มากจนถึงขั้นติดเลยทีเดียว

เราสามารถเข้าไป join กลุ่มต่างๆ หรือ อาจจะเป็นเจ้าภาพตั้งกลุ่มสนทนาขึ้นมาเองได้ เราสามารถยกมือขึ้น และขอไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาอื่นๆ และได้รับเชิญให้พูดในกลุ่มนั้นๆ ได้ ข้อดี คือ กลุ่มสนทนาสามารถเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ที่มีคนเข้ามาร่วมพูดคุยสนทนาได้สูงถึงห้าพันคน เราสามารถเลือกหัวข้อที่สนใจ ซึ่งมีมากมายหลากหลายตั้งแต่เรื่องงานอดิเรกไปจนถึงเรื่องธุรกิจและการศึกษา

เราสามารถ Multitasking เหมือนกับเทคโนโลยีเสียงอื่นๆ Clubhouse ทำให้เราทำกิจกรรมอื่นได้ในขณะที่ฟังกลุ่มสนทนาใน App มี Exclusivity ความเก๋ไก๋ของ Clubhouse อีกอย่างนึง คือ เป็น Invite-only นั้นคือ ต้องมีคนเชิญเราเข้าไป และต้องเป็นระบบ iOS เท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ฉลาดมากในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคชาวไทยให้อยากเข้ามาใช้ App นี้ เพราะ FOMO (Fear of missing out) นั่นเอง

ทักษะในการใช้ App คือ การพูด เราใช้เสียงในการสื่อสาร ซึ่งง่าย และ Spontaneous กว่าการพิมพ์ ทำให้ผู้คนแสดงความคิดเห็นได้เร็ว และสะดวกขึ้น แถมยังสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทดสอบไอเดียใหม่ๆ และรับฟังความเห็นจากคนอื่นๆ ได้ดีอีกด้วย

มีโอกาสทางธุรกิจเพิ่ม Application นี้สามารถช่วยให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจได้ทั้งในมุมของการเรียนรู้ การได้ไอเดียทางธุรกิจใหม่ๆ ไปจนถึงการสร้างเครือข่ายทางการค้าอีกด้วย ในยุคหลังโควิทมี Micro entrepreneur เกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะคนออกจากระบบงานในองค์กรไปทำธุรกิจขนาดเล็กของตนเอง การสร้าง Business connection ผ่าน Social Media Platform จึงเป็นอีกทางที่ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้อยู่รอดได้

จึงเป็นที่น่าจับตามองต่อไปว่า เทคโนโลยี “เสียง” จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นต่อไปอย่างไร แต่ถ้าคุณอยากรู้ถึงพลังของ “เสียง” ลองใช้ Voice Technology ต่างๆ ดูนะคะ