โรตารีกับการต่อต้านการค้ามนุษย์

โรตารีกับการต่อต้านการค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์ (Human Trafficking) เป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับสังคมโลก เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ลดทอนศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์

                   พิธีสาร Palermo หรืออนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ปี 2543 ได้ให้ความหมายว่า การค้ามนุษย์ หมายถึงการจัดหา ขนส่ง โยกย้าย ให้ที่พักพิง หรือรับบุคคล ด้วยการขู่ หรือใช้กำลังหรือรูปแบบอื่นๆของการบังคับ การลักพา ฉ้อฉล หลอกลวงหรือใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือทำให้ได้รับบาดเจ็บ การให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์ต่อบุคคลที่ทำการควบคุมผู้อื่น เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่ตน ซึ่งหมายรวมถึงการแสวงหาประโยชน์จากผู้อื่นในการเป็นโสเภณี หรือรูปแบบอื่นของการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ แรงงานหรือการบริการที่ถูกบังคับเป็นทาสหรือการอื่นใดที่คล้ายกับการเป็นทาสหรือการเคลื่อนย้ายอวัยวะใดๆของร่างกาย ฯลฯ

รูปแบบของการค้ามนุษย์

1.การค้าบริการทางเพศ โดยเหยื่ออาจอยู่ในภาวะจำยอมหรือถูกขู่เข็ญให้ขายบริการทางเพศ

2.การใช้แรงงานเยี่ยงทาส เช่น ในสวน ฟาร์ม บ้าน โรงงาน เรือประมง ฯลฯ โดยต้องทำงานอย่างหนัก ไม่ได้รับการพักผ่อนและถูกทารุณกรรม

3.การค้าอวัยวะที่ผิดกฎหมาย  หมายถึง การสรรหา การโอนย้าย การพามาหรือส่งไปยังที่ใดของอวัยวะของคนที่มีชีวิตหรืออวัยวะของคนที่ตายแล้ว โดยการข่มขู่ การใช้กำลังหรือการบีบบังคับ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยการตัดอวัยวะเพื่อไปใช้ในการปลูกถ่าย

3.การบังคับแต่งงาน หมายความถึงการมีนายหน้าสืบหาคนที่มาแต่งงานกันโดยไม่รู้จักกัน หลังจากแต่งงานไปแล้วก็ตกอยู่ในสภาวะของการเป็นทาส เลวร้ายที่สุดคือการถูกบังคับให้ขายบริการทางเพศ

4.การบังคับให้เป็นขอทาน โดยมีนายหน้าติดต่อพาเด็ก คนชรา คนพิการ ออกจากบ้านเกิดไปขอทานในเมืองใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ

5.การบังคับให้ทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเหยื่อที่พบมักจะเป็นเด็กที่ถูกบังคับให้เป็นเครื่องมือในการส่งยาเสพติดให้แก่ผู้ค้ารายย่อยหรือลูกค้าโดยตรง

ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์นี้มีการพยายามแก้ไขทั้งในระดับสากลคือองค์การสหประชาชาติฯที่มีการจัดทำอนุสัญญาฯขึ้นและสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ เมื่อปี 2543(The Trafficking Victims Protection Act(TVPA) of 2000) โดยประเมินสถานการณ์การแก้ไขปัญหาตามมาตรฐานขั้นต่ำในการยุติการค้ามนุษย์ของประเทศต่างๆ โดยมีการจัดระดับ ดังนี้

          ระดับ 1(Tier 1) คือ ประเทศที่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่

          ระดับ 2(Tier 2) คือ ประเทศที่ยังไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่ แต่มีความพยายามที่จะปฏิบัติ

          ระดับ 3(Tier 3) คือ ประเทศที่ยังไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่ และไม่มีความพยายามที่จะปฏิบัติ

สำหรับประเทศไทยเราในปัจจุบันอยู่ในระดับ 2หรือ Tier 2 (เคยอยู่ในระดับที่ 3 หรือTier 3 เมื่อปี2557) ซึ่งไทยเรามีการประกาศให้ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ ไปเมื่อปี 2547 โดยมีหลักการว่าเหยื่อคือเหยื่อ ไม่ใช่อาชญากร และต้องไม่ถูกดำเนินคดี แต่ต้องเยียวยา ฟื้นฟู เพื่อดูแลเหยื่อจากการค้ามนุษย์ให้กลับคืนสู่สังคมได้

ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ซึ่งขยายความเหยื่อหรือผู้เสียหายจากผู้หญิงและเด็ก เป็นบุคคลโดยไม่จำกัดเพศและอายุ ที่สำคัญคือกำหนดให้ผู้กระทำการค้ามนุษย์เป็นกระบวนการในลักษณะองค์กรอาชญากรรมที่ความผิด แม้ว่าสมาชิกขององค์กรอาชญากรรมนั้นไม่ได้ลงมือกระทำความผิดเองก็ตาม ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับสภาวะไร้พรมแดนของสังคมในปัจจุบัน

โรตารีสากล (ROTARY INTERNATIONAL) ซึ่งเป็นองค์กรบำเพ็ญประโยชน์ที่มาอายุมากกว่า 100 ปี มีสมาชิกมากกว่า 1ล้าน 2 แสนคน ได้จัดตั้งกลุ่มปฏิบัติการโรตารี(Action Group)ที่เรียกว่ากลุ่มปฏิบัติการโรตารีเพื่อการต่อต้านการเป็นทาส (Rotary Action Group Against Slavery - RAGAS) ขึ้นมาเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ในปี 2556(2013) และได้จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อที่ผ่านมา โดยมีผู้ประสานงาน(coordinator)*ทำหน้าที่ดำเนินการในประเทศไทย

การจัดตั้งกลุ่ม RAGAS นี้ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมแนวทางที่จะเข้าร่วมและสนับสนุนโครงการการรณรงรงค์การต่อต้านการเป็นทาสและการค้ามนุษย์ (RAGAS looks to provide information about, and promote ways for you to engage and support anti-slavery and human trafficking projects, programmes and campaigns.)**  โดย

  • เผยแพร่ผลงานทั้งของตัวเองและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง(ทั้งภาครัฐและเอกชน –ผู้เขียน)กับการต่อต้านการเป็นทาส(Publicising the work of, and work with other anti-slavery organisations)
  • เตือนโรแทเรียนให้ระลึกถึงความรับผิดชอบด้านจริยธรรมด้วยการคำนึงถึงสิทธิของเด็กทั้งหลาย(Reminding Rotarians of their ethical responsibilities with regard to the rights of children )

- ส่งเสริมและให้กำลังใจโรแทเรียนและสโมสรโรตารีทั้งหลายให้ลงมือปฏิบัติ (Encouraging Rotarians and Clubs to take action) โดย

ก)สนับสนุนองค์กรต่อต้านการเป็นทาสทั้งหลายอย่างจริงจังในการต่อสู้การเป็นทาสและการค้ามนุษย์( actively supporting the work of anti-slavery organisations in their work combating slavery and human trafficking)

ข) สนับสนุนโครงการทั้งหลายโดยตรง เช่น ศูนย์ฟื้นฟูการตกเป็นทาส ฯลฯ ด้วยการไปเยี่ยมเยียนด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมสนับสนุนด้วยโครงการให้ทุน(ของโรตารี –ผู้เขียน)(directly supporting various projects e.g. Slavery Rehabilitation Centres through personal visits, participation in grant projects)

ค) บ่งชี้และต่อต้านสินค้าที่มาจากการค้ามนุษย์(identifying  and boycotting offending products)

ง) สนับสนุนการรณรงค์ต่อต้านการกระทำที่ผิดกฎหมายการค้ามนุษย์และนำความยุติธรรมมาสู่ผู้เสียหาย(supporting campaigns that highlight illegal activity and seek to bring justice for those offended)

การดำเนินการต่างๆจะรวมถึงการฝึกอบรม สัมมนา ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครูอาจารย์ นักเรียน นิสิตนักศึกษาหรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้งหลายให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถป้องตนเองจากการถูกหลอกลวงหรือการตกเป็นเหยื่อด้วยวิธีการต่างๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย 

ปัญหาเรื่องของการค้ามนุษย์นี้เป็น 1 ใน 7 ของเป้าหมาย(Area of Focus)ของมูลนิธิโรตารีที่ว่าด้วยสันติสุขหรือสันติภาพ(Peace) เพราะหากโลกนี้ยังมีปัญหาการค้ามนุษย์อยู่ ก็ยากที่โลกนี้จะมีสันติสุขได้  และปัญหานี้เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก เฉพาะภาครัฐอย่างเดียวไม่มีทางที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย โรตารีจึงได้เข้าร่วมกันสร้างผลงานเพื่อสันติสุข(Peace through Service) แก่มวลมนุษยชาติทั้งหลายครับ.

* Thailand coordinators : PDG Chamnan, +66815957999, [email protected] และ  PP Jerry, +66895564293, [email protected]

**Website - https://ragas.online/