คน วัฒนธรรม ผู้นำ อะไรท้าทายที่สุด ในทรานส์ฟอร์มองค์กร
ดิฉันมีโอกาสร่วมงาน Live Conference ที่บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จับมือ Techsauce ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเทคโนโลยีและเป็น Knowledge Sharing Platform ร่วมพูดคุยเรื่อง People Transformation หรือการปรับองค์กรเข้าสู่ดิจิทัลด้วยการพัฒนาและการจัดการเรื่องของ “คน”
สิ่งที่เป็นประเด็นหลักในการสนทนาก็คือ อะไรกันแน่ที่ทำให้การทรานส์ฟอร์มองค์กรไม่สำเร็จ?
พวกเราคงเคยได้ยินสถิติที่ว่า 70% ของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงองค์กรล้มเหลว นั่นแปลว่ามีเพียง 30% ของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงองค์กรเท่านั้นที่ประสบผลสำเร็จ ตัวเลขนี้ ชี้ให้เห็นว่ากาทรานส์ฟอร์มองค์กรนั้นเป็นเรื่องยาก! และเป็นเรื่องปกติที่จะมี “คน” จำนวนมากที่ลุกขึ้นมา “ต่อต้าน”
บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป ทำงานกับ Partner ระดับโลกอย่าง Kotter International มากว่า 12 ปี ภายใต้การศึกษาวิจัยโดย John Kotter ศาสตราจารย์ประจำ Harvard Business School ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ ภาวะผู้นำ และ Change and Transformation พบ 2 ปัจจัยแรกที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงล้มเหลว คือ
ปัจจัยแรก คือ "ขาดSense of Urgency" ซึ่งต้องบอกว่าภาพของก่อนสถานการณ์โควิดกับปัจจุบันนี้ค่อยข้างแตกต่างกัน การทำงานช่วงก่อนโควิด เราทำงานช่วยผู้นำองค์กรหลายแห่งในการสร้าง Sense of Urgency ไปทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้คน “อยากเปลี่ยน” มากกว่า “ถูกเปลี่ยน”
อย่างไรก็ดีปัจจุบันนี้โควิดถือเป็นตัวกระตุ้นต่อม Urgency ให้กับพนักงานทุกระดับ ทุกอุตสาหกรรม คนเห็นแล้วว่าไม่ทรานส์ฟอร์ม ไม่รอด คนที่ไม่สามารถปรับตัวได้จริง ๆ ก็ต้องออกจากเรือลำนี้ไปไม่ว่าจะสมัครใจไปเองหรือไม่สมัครใจก็ตาม
ส่วนคนที่อยู่ต่อไปนั้น คงไม่มีใครอยากจะอยู่กับความกลัวได้ตลอดเวลา ผู้นำองค์กรจึงหันมาสร้าง Sense of Continuity แทน นั่นคือ จากนี้ไปมีอะไรบ้างที่ต้องคงอยู่
ปัจจัยที่สอง คือ ขาด “คน” ที่เป็น “แนวร่วม” ที่ส่งเสริมให้แนวร่วมทำงานนำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ จุดเริ่มต้นของการทำทรานส์ฟอร์มองค์กรส่วนใหญ่ ล้วนแล้วเกิดจากผู้นำเพียงไม่กี่คนเป็นผู้ริเริ่ม เมื่อเวลาผ่านไปหากไม่ขยายแนวร่วมที่ทรงพลังไปได้ทั่วทั้งองค์กร ความพยายามที่ผ่านมาก็จะไม่มีอะไรคุ้มค่าเกิดขึ้น และหากผู้นำไม่ลงมาผลักดันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม มากกว่าเรื่องของ “คน” ก็คือ “Culture” มากกว่า Culture คือ “Leader” เพราะวัฒนธรรมเกิดขึ้นมาทันทีที่ผู้คนเริ่มทำงานร่วมกัน มีงานวิจัยระดับโลกมากมายที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรที่ดำเนินมาเป็นเวลา 5 หรือ 10 ปีก็สามารถมีลักษณะเดียวกันกับองค์กรที่มีมานานกว่า 50 ปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม มากกว่าเรื่องของ “คน” ก็คือ “Culture” มากกว่า Culture คือ “Leader” เพราะวัฒนธรรมเกิดขึ้นมาทันทีที่ผู้คนเริ่มทำงานร่วมกัน มีงานวิจัยระดับโลกมากมายที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรที่ดำเนินมาเป็นเวลา 5 หรือ 10 ปีก็สามารถมีลักษณะเดียวกันกับองค์กรที่มีมานานกว่า 50 ปีแล้ว
สำหรับบริษัทที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง หรือ บริษัทที่ควบรวมหรือกำลังผ่านกระบวนการเปลี่ยนเพื่อเกิดใหม่ จึงมาให้ความสนใจกับการสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งเป็นอันดับแรก การตั้งใจตั้งแต่วันแรกว่าอยากให้วัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไรคือสิ่งสำคัญ นี่เป็นช่วงเวลาที่ผู้นำสามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้
ยิ่งปล่อยให้วัฒนธรรมก่อตัวขึ้นมาเองโดยธรรมชาติและหากมีนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ฝังแน่นมากเท่าไหร่ วัฒนธรรมก็จะยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นบทบาทของ Leader ในสร้าง Culture ตั้งแต่ Day 1 จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
#Culture #Transformation #PeopleTransformation #CultureTransformation #Digital #HumanResources #Covid19 #Leadership #LeadershipACT #TorchBearer