คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กับข้ออ้างผู้ถูกร้องถึงการปฏิรูป
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กับข้ออ้างผู้ถูกร้องถึงการปฏิรูป มาพร้อมข้อสังเกตในเรื่องสิทธิในเข้าถึงการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม
ประเด็นการปฏิรูปในปัจจุบัน ปรากฏอยู่ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564 มีทั้งหมด 13 ด้าน คือ ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม ด้านพลังงาน ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ด้านการศึกษา และด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
อนาคตของประชาชนคนไทยอยู่ที่ แผนปฏิรูปประเทศเพื่อเป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำ แต่หากการเมืองในปัจจุบันไม่จริงจัง เพราะระบบการเมืองปัจจุบันอาจไม่สนใจเสียงประชาชนแต่เสียงของนายทุนสำคัญมากกว่า เพราะเมื่อได้ทุนแล้วก็ไปสร้างความนิยมต่อยอดแล้วเข้ามาเล่นการเมืองอีก
ประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคม ซึ่งครอบคลุมภูมิภาคไป 4 ทวีป เน้นการให้บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคม การรับส่งข้อมูลและวีดีโอในระดับพรีเมี่ยมแต่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ยังเข้าถึงอินเตอร์เน็ตไม่ได้ทั้งประเทศเนื่องจากมีราคาสูง
ประเทศไทยมีบ่อขุดเจาะน้ำมัน แท่นขุดเจาะน้ำมัน แต่ราคาน้ำมันมีราคาที่สูงขึ้น ก็เป็นเพราะระบบการเมืองไทย โครงการทางปกครอง ที่กำหนดชะตาชีวิตของประชาชน ความเหลื่อมล้ำไม่สามารถถูกจำกัดให้หมดไปในระบบทุนนิยม สิ่งเหล่านี้ควรปฏิรูปโดยเร็ว ควรชุมชนเรียกร้องสิ่งเหล่านี้โดยสงบหรือไม่
รัฐกำหนดการปฏิรูปทั้ง 13 ด้าน หากรัฐบาลจริงจังกับการปฏิรูปความเหลื่อมล้ำก็จะดีขึ้น โดยเฉพาะการเมืองกับการผูกขาด หากว่างก็ควรชุมนุมโดยสงบเรียกร้องสิ่งเหล่านี้ให้รัฐบาลปฏิรูปเร็วๆ
ความเหลื่อมล้ำไม่ได้เกิดจากสถาบันกษัตริย์ เพราะสถาบันฯ ไม่ได้มีหน้าที่บริหารประเทศ แต่การบริหารประเทศที่เป็นบ่อเกิดจากการเมืองที่ครอบงำ ประกอบกับผลประโยชน์กับกลุ่มนายกลุ่ม เพื่อให้อยู่ในนานๆ ก็ควรไปเรียกร้องชุมนุมในประเด็นเหล่านี้ การล้มล้างสถาบันกษัตริย์แล้วประชาชนจะได้อะไร แต่ที่แน่คือ กลุ่มการเมืองใหม่บางกลุ่มอาจจะได้และเข้ามาเพื่อหวังสร้างระบบทุนนิยมใหม่อีกหรือไม่
ความเชื่อมั่นต่อคำวินิจฉัยในคดี 3 แกนนำราษฎร
ข้อสังเกตแรก สิทธิในเข้าถึงการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (right to fair trial) สิทธิในการเข้าถึงการพิจารณาอย่างเป็นธรรมถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่ได้รับการรับรองไว้อย่างกว้างขวาง ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 10, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 14
แต่หากพิจาณาคดีศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณา 3 แกนนำราษฎร ที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองก็เป็นไปตามกฎหมายและเป็นธรรม เนื่องจากการพิจารณาคดีให้ใช้ระบบไต่สวนโดยให้ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้และในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้ทุกประเภท และหากมีพยานหลักฐานจากภาพและเสียงที่ชัดเจนศาลก็ไม่จำเป็นต้องฟังพยานจากผู้ถูกร้องอีกต่อไป จึงเป็นการพิจารณาเป็นไปตามหลักกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล พ.ศ. 2561 แล้ว
ข้อสังเกตที่สอง เสรีภาพการแสดงออก (freedom of expression) เสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมถือเป็นสิทธิเสรีภาพสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ให้การรับรองไว้ในข้อ 19 และข้อ 20, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 18 และข้อ 21 ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็ได้รับรองเสรีภาพในการแสดงความเห็นไว้ในมาตรา 34, เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธในมาตรา 44 การรับรองไว้อย่างสอดคล้องกันทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญ
แต่หากเมื่อพิจารณาการรับรองเสรีภาพก็ได้บัญญัติให้มีการจำกัดขอบเขต เพราะเสรีภาพในการแสดงออกทุกประเทศก็มีกฎหมายภายใน ให้การแสดงความคิดเห็นใช้เสรีภาพโดยสุจริตเป็นไปโดยไม่มีเจตนาซ่อนเร้น และไม่ใช้ความรุนแรงข่มขู่บังคับต่อบุคคลอื่นโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่มาดูแลการชุมชน
แต่หากปรากฎทั้งพยานหลักฐานต่างๆ รวมทั้งบันทึกเสียงคำปราศรัยและบันทึกภาพของผู้ชุมนุม จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริตโดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏทั้งภาพทั้งเสียงก็เป็นข้อยุติแล้ว จึงไม่ใช่เป็นเสรีภาพในการแสดงออกโดยสุจริต แต่เป็นเรื่องเจตนาซ่อนเร้นบางอย่างต่างหาก
ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่ง ก็เพื่อทำหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีความเข้มแข็งโดยไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพผู้อื่นจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และที่สำคัญคือ การปกป้องคนไม่สุจริตไม่ให้ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่กำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.