“ข้าวเหนียวมะม่วง” ไทยในสายตา “คนจีน”

“ข้าวเหนียวมะม่วง” ไทยในสายตา “คนจีน”

“ทุเรียน” ไม่ใช่ผลไม้ไทยชนิดเดียวที่มีศักยภาพไปตีตลาดโลกและตลาดจีน แต่ยังมีอีกหนึ่งผลไม้ไทยที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “มะม่วง” เพราะคนจีนเวลามาเที่ยวไทยมักจะติดใจและสั่งเมนู “ข้าวเหนียวมะม่วง” และ “ข้าวเหนียวทุเรียน” เสมอ

หากพูดถึง “ผลไม้ไทยยอดนิยม” ในสายตาของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนจีน คิดว่าทุกคนคงจะกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทุเรียน” แน่นอนว่า “ทุเรียนไทย” เป็นผลไม้ไทยอันดับต้นๆ ที่คนจีนนึกถึง โดยเฉพาะพันธุ์ยอดนิยมอย่าง “หมอนทอง” ซึ่งตอนนี้กำลังเจอคู่แข่งขันสำคัญอย่าง “ทุเรียนมูซานคิง” จากฝั่งมาเลเซีย ที่ทางมาเลเซียวางแผนให้ดังเป็นแบรนด์ระดับโลกของพวกเขา เพื่อไปเจาะตลาดจีน อย่างไรก็ตาม “ทุเรียน” ไม่ใช่ผลไม้ไทยชนิดเดียวที่มีศักยภาพไปตีตลาดโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตลาดจีน “มะม่วง” เป็นอีกหนึ่งผลไม้ไทย ที่ทั้งคนจีนและชาวต่างชาติจากประเทศอื่นๆ ติดอกติดใจเวลามาเที่ยวเมืองไทย

มะม่วงไทย” เมนูของกินสุดอร่อยที่คนจีนและนักท่องเที่ยวจีนนิยมไม่เสื่อมคลายก็คือ “ข้าวเหนียวมะม่วง

อ้ายจง ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากโลกโซเชียลจีนทั้ง Weibo และบน Baidu แพลตฟอร์มค้นหาข้อมูลอันดับหนึ่งที่คนจีนใช้ในช่วงปี 2562 พบว่า เมื่อคนจีนค้นหาและเขียนถึงคำที่เกี่ยวข้องกับ 泰国旅游/泰国旅行 เที่ยวเมืองไทย กลุ่มช่วงอายุที่พูดถึงมากที่สุด ได้แก่ 30-39 ปี รองลงมาคือ 40-49 ปี อันดับสาม 50 ปีขึ้นไป ส่วนอายุ 29 ปีลงไป เป็นกลุ่มท้ายสุด ซึ่งคำภาษาจีนที่แปลเป็นไทยว่า มะม่วง ทุเรียน และข้าวเหนียว เป็นหนึ่งในสามคำหลักของคำที่เกี่ยวข้องเมื่อพูดถึงเที่ยวเมืองไทย และเมื่อวิเคราะห์ลงลึกไปอีกทำให้ได้รู้ว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนจีนเวลามาเที่ยวไทย มักจะสั่งเมนู “ข้าวเหนียวมะม่วง” และ “ข้าวเหนียวทุเรียน” เสมอ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัดภาพมาที่ ณ ปัจจุบัน แม้จะไม่มีรีวิวและพูดถึงข้าวเหนียวมะม่วงในประเทศไทยของกลุ่มคนจีน เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 คนจีนจึงยังไม่สามารถเดินทางมาเที่ยวไทยได้ตามปกติ แต่เมื่อค้นหาคำว่า 芒果糯米饭 (อ่านว่า หมางกั่วนั่วหมี่ฟั่น) ข้าวเหนียวมะม่วง บน Xiaohongshu (เสี่ยวหงซู) สังคมออนไลน์ยอดนิยมในสายไลฟ์สไตล์และการรีวิว ซึ่งกลุ่มผู้ใช้งานหลักคือ กลุ่มผู้หญิงจีน จะเห็นได้เลยว่า 芒果糯米饭泰国 ข้าวเหนียวมะม่วงไทย เป็นหนึ่งในคำแนะนำที่ทางระบบแนะนำขึ้นมาเมื่อทำการค้นหา โดยจะเลือกจากคำที่ผู้ใช้งานนิยมใช้ ฉะนั้น วิเคราะห์ได้ว่า “ข้าวเหนียวมะม่วงไทย” เป็นหนึ่งในภาพจำที่คนจีนจะนึกถึงเมื่อพูดถึง “ข้าวเหนียวมะม่วง” นั่นเอง

เทรนด์ “น้ำมะม่วงไทย” สินค้ายอดฮิตไม่แพ้กันในจีน

สมัยที่ อ้ายจง ใช้ชีวิตอยู่ในจีน ช่วงปี 2554 – 2561 มีโอกาสได้สัมผัสกับปรากฎการณ์ “น้ำมะม่วงไทย” ที่เรียกว่าเป็นกระแสเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาที่ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางอันดับแรกที่นักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางไปเที่ยว

ยุคแรกเริ่มของเทรนด์ “น้ำมะม่วงไทย” เกิดจากผู้ประกอบการในจีนรายหนึ่งจับกระแสโอกาส “ไทยแลนด์ฟีเวอร์” โดยเอาหนึ่งในจุดเด่นของไทย นั่นคือ ผลไม้ และเลือกเอา “มะม่วง” มาเป็นพระเอก ถ้าจะขายมะม่วงอย่างเดียวก็ดูจะธรรมดาไป จึงทำให้เป็น “น้ำมะม่วงปั่น” และโปะหน้า Topping ด้วยมะม่วงเหลืองอร่ามชิ้นใหญ่ๆ แล้วตั้งชื่อร้านให้เป็นจุดเด่น โดยตั้งชื่อว่า “泰芒了” อ่านว่า ไท่หมางเลอ แปลเป็นไทยคือ “ฉันยุ่งมาก” สาเหตุที่ตั้งชื่อเช่นนี้เพราะทางเจ้าของร้านมีการเล่นคำในลักษณะของคำพ้องเสียง 泰芒了 พ้องเสียงกับ 太忙了 (ฉันยุ่งมาก) ทั้งสองคำอ่านออกเสียง ไท่หมางเลอ เหมือนกัน แต่คำแรก ตัวอักษร泰 (ไท่) มาจาก ไท่กั๋ว ที่แปลว่าประเทศไทย และ 芒 (หมาง) มาจาก 芒果 มะม่วง ตัวอักษรสองตัวแรกจึงสื่อถึง “มะม่วงไทย” แต่พอเขียนคำภาษาไทยให้ดูมีกิมมิคว่า นี่คือร้านขายสินค้าไทยนะ จึงเขียนออกมาว่า ยุ่งมากมาก เพื่อทำให้ร้านดูน่าสนใจและมีกิมมิคเพิ่มขึ้น ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยเลยทีเดียว  

ในยุครุ่งเรืองของร้านนี้ คนจีนต่อแถวยาวมาก และทำให้มีร้าน “น้ำมะม่วง” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากร้านนี้เปิดขึ้นเป็นดอกเห็ด พร้อมกับปรากฎการณ์ “การตั้งชื่อร้านในจีน ด้วยภาษาไทยแบบแปลกแหวกแนว” ขอให้มีคำว่า 泰芒了 หรือมีการปรับไปใช้ภาษาจีนคำอื่น (กลัวรู้ว่าเลียนแบบ หรือได้รับแรงบันดาลใจแบบเข้มข้น) ก็เปลี่ยนไปใช้คำแนวๆ เดียวกัน เช่น 最芒 อ่านว่า จุ้ยหมาง เล่นคำกับ 最忙 ที่แปลว่า ยุ่งที่สุด ส่วนภาษาไทยที่ติดหน้าร้านจะใช้คำว่าอะไรนั้นก็สุดแท้จะครีเอท บางทีติดตัวอักษรกลับหัวกลับหางก็มีให้เห็นเช่นกัน คนจีนที่ไม่รู้ภาษาไทยคงไม่รู้สึกอะไร เพราะไม่เข้าใจความหมาย แต่คนไทยในจีนเมื่อเห็นแล้ว คงอดไม่ได้ที่จะถ่ายรูปและขำขันกับไอเดียเหล่านั้น

ชื่อภาษาไทยสุดแปลกสำหรับร้านน้ำมะม่วงในจีนแนวๆ นี้ ที่อ้ายจงไปเจอมา ก็มีหลากหลายเลย เช่น ร้านท้ายเหมือง ร้านเมาอนาถ ร้านหรือดีที่สุด คืออ่านแล้วคนไทยเองยังงงงวย งองูหลายตัวผสมกันว่า “ต้องการสื่ออะไรกันแน่?” และเท่าที่หาข้อมูลจากเพื่อนคนจีนจากโลกออนไลน์จีน และจากประสบการณ์ส่วนตัวที่กลับไปในจีนในช่วงปี 2562 ก่อนที่โควิด-19 จะระบาดหนัก ร้านน้ำมะม่วงที่นำความเป็นไทยของ “มะม่วง” (แม้หลายร้านจะไม่ได้ใช้มะม่วงไทยก็ตามที) และภาษาไทย (แบบสุดแปลก) มาใช้เป็นตัวชูโรง ก็เริ่มล้มหายตายจากตามการผันแปรของกาลเวลา แต่ที่ยังสามารถพบเห็นได้อยู่ตลอด 

ผู้เขียน: ภากร กัทชลี (อ้ายจง) อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่