บางจาก ชี้โลกยังต้องพึ่งพาฟอสซิล ชูดูดซับคาร์บอนตัวช่วยสร้างสมดุลพลังงาน
บางจาก ชี้ โลกยังต้องพึ่งพาฟอสซิลไปอีกนาน ระบุ การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน ชูการดูดซับคาร์บอนด้วยเทคโนโลยี-ธรรมชาติ สร้างสมดุลให้กับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน
กลุ่มบางจาก จัดสัมมนาประจำปีครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ “Energy Security and Carbon Sequestration” เชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับโลกและระดับประเทศมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อสร้างโลกยั่งยืนควบคู่กับการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท บางจาก และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Energy Security and Carbon Sequestration” ว่า โลกจะยังคงต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิลไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน แต่การดูดซับคาร์บอนทั้งทางธรรมชาติและด้วยเทคโนโลยี จะทำให้พลังงานฟอสซิลสามารถสร้างสมดุลให้กับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้
ทั้งนี้ กลุ่มบางจากจัดสัมมนาเพื่อสะท้อนความสำคัญของการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานที่กำลังเป็นประเด็นท้าทายที่ทั่วโลกต้องเผชิญ เมื่อแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจะยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลกไปอีกหลายทศวรรษ มนุษย์จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสภาพอากาศ รวมถึงการใช้การดูดซับทางธรรมชาติร่วมสร้างความยั่งยืนให้แก่โลก ควบคู่กันกับการขยายการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและสร้างทางเลือกของแหล่งพลังงานเพื่อความยั่งยืน ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดเพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero
“ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อน ซึ่งความผันผวนด้านราคาพลังงานถือว่าสำคัญ ปีนี้จะเห็นว่าราคาน้ำมันสูงถึงลิตรละ 40 บาท และจากการที่ปัจจุบันมีการใช้พลังงานทั่วโลก 1 วันละประมาณ 1.7 ล้านล้านล้านจูน หรือเทียบเท่าการบินรอบโลก 1 แสนรอบ หรือบินรอบโลก 1 แสนรอบ หรือจากโลกไปดวงจันทร์วันละ 5,000 รอบ ถือเป็นปริมาณที่มหาศาลมาก ดังนั้น การจะปิดหยุดพลังงานจากฟอสซิลแล้วใช้พลังงานทดแทนที่มหาศาลขนาดนี้ จึงต้องใช้เวลา”
ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด ต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทุนมหาศาล รวมถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมี Taxonomy หรือการจัดหมวดหมู่ธุรกิจการลงทุนที่ช่วยลดคาร์บอนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่ชวยเร่งให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้เร็วขึ้น สร้างมูลค่าให้การลงทุนที่จะช่วยให้เกิดการลดคาร์บอน ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนมากขึ้นผ่านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
และยังรวมถึงการกำหนดนโยบายด้านการเงิน เช่น ภาษีคาร์บอน (carbon tax) และการสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรโดยภาคเอกชนกันเอง โดยธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมาก นำเงินส่วนหนึ่งมาซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นการชดเชย และนำเงินส่วนนั้นมาพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอีกทางหนึ่“การใช้พลังงานประมาณ 120 ปี GDP โลกอยู่ที่ 96 ล้านล้านดอลลาร์ 1,960 ล้านคน ขณะนี้มีประมาณ 8,000 ล้านคน จากจีดีพีโลก 2 ล้านล้านดอลลาร์ขึ้น 4 เท่าตัว ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว เบื้องหลังที่ทำให้อยู่ได้สะดวกสบายคือพลังงาน ซึ่งจากนี้ไปอีก 10-30 ปี โลกจะมี 10,000 ล้านคน พลังงานจะต้องมีมากขึ้น ถ้าไม่ช่วยกันผลักดันการบริโภคพลังงานจากปีละ 624 ล้านล้านล้านจูน จะขึ้นมาที่ 740 ล้านล้านล้านจูน แต่ถ้าช่วยกันผลักดันจะลดลงมาเหลือ 532 ล้านล้านล้านจูน”
ทั้งนี้ พลังงานที่ใช้เยอะมาก การผลักดันด้านรถยนต์ ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้าปี 2030 จะมีรถอีวี 30% จากปริมาณทั้งหมดในประเทศ ตนขอแค่ 10% นับจากจากปี 2021-2030 มีเวลา 9 ปี ซึ่งปี 2021 มีรถอีวี 17 ล้านคัน และในปี 2030 หากคิด 10% จะอยู่ที่ 200 ล้านคัน เวลา 9 ปี ต้องผลิตรถอีวีปีละ 20 ล้านคัน จึงต้องหาโรงงานที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ปีนี้ที่ 2,000 กิกะวัตต์ และต้องมีประมาณ 150 แห่ง แต่ตอนนี้ไม่ถึง 10 แห่ง สุดท้ายไม่มีอะไรตายตัว จะเป็นไฮโดรเจน เป็นต้น
“หากเทียบกับปริมาณที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ปี 2050 จะต้องลดลงมาเพื่อเป้าหมาย Net Zero หากจะลงทุนตอนนี้ พลังงานทดแทนหลัก ๆ เขื่อน โซลาร์ เงินลงทุนต้องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ดังนั้น ฟอสซิลจะยังคงต้องมีอยู่ พลังงานหมุนเวียน ยังตอบโจทน์ไม่ได้ทั้งหมด ดังนั้นปัญหาที่แท้จริงคือต้องเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ประโยชน์ ความมั่นคงด้านพลังงาน ราคาพลังงาน และ ความยั่งยืน 2 ใน 3 จะไปด้วยกันได้ แต่ไม่สามารถไปด้วยกันทั้งหมด เช่น เราต้องการความมั่นคง ลงทุนฟอสซิลสูง สุดท้ายราคาน้ำมันถูก แต่ไม่ยั่งยืน หรือเราจะไปที่พลังงานสะอาดสิ่งที่หายไปคือความมั่นคง เช่น แดด ลม ไม่เสถียร โลกปัจจุบันไม่เหมือน 30 ปีที่แล้ว ประชากรและจีดีพียังไม่เยอะ สามารถพึ่งต้นไม้ดูดซับคาร์บอนได้”
ทั้งนี้ กลุ่มบางจากจึงอยากให้ทราบว่าพลังงานที่ใช้เยอะมาก พลังงานทดแทน หรือการสนับสนุนกลไกราคาพลังงานอาจไม่ตอบโจทย์ แต่ควรมาสร้างระบบนิเวศใหม่ ดึงเทคโนโลยี เช่นไฮโดนเจนมาช่วย ที่ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อสร้างพลังงาน หรือการสร้างตลาดคาร์บอน จะช่วยให้ขับเคลื่อนพลังงานได้
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า กลุ่มบางจาก จึงให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลระหว่างความท้าทายด้านพลังงาน 3 ประการ (Balancing the Energy Trilemma) ได้แก่ ความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) การเข้าถึงพลังงาน (Energy Affordability) และความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการนำพลังงานจากโลกมาใช้ ซึ่งมีผลต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและดูแลโลกใบนี้ให้ยั่งยืน และได้มีการตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero ในปีค.ศ. 2050 (Carbon Neutrality ในปี 2030) ผ่านแผนงาน BCP 316 NET
ทั้งนี้ ภายในงาน ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมนำเสนอข้อมูลล่าสุดทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ในหัวข้อ “Global Energy Outlook and Energy Transition” โดย Mr. Roberto Bocca, Head of Platform for Shaping the Future of Energy, Materials and Infrastructure, World Economic Forum องค์กรระดับโลกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในเรื่องการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสนอแนะทิศทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาในระดับระหว่างประเทศ หัวข้อ “Gold Hydrogen: Key to Net Zero Economy” โดย Mr. Moji Karimi, Co-Founder and CEO, Cemvita Factory Inc. สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา หัวข้อ “Advancing a Lower Carbon Future with Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS)” โดย Mr. Robert Dobrik, Chief Executive Officer, Star Petroleum Refining Co., Ltd. หัวข้อ “Innovating CO2 Recovery Technology” โดย Mr. Aniruddha Sharma, Co-Founder and CEO, Carbon Clean Solutions Limited สตาร์ทอัพจากสหราชอาณาจักร และหัวข้อ “Nature-Based Solutions” โดยผู้บริหารจากเชลล์ Ms. Flora Ji Qing, Global Vice President, Nature-Based Solutions
ทั้งนี้ กลุ่มบางจาก ได้จัดสัมมนาสิ่งแวดล้อมเป็นประจำปีทุกปีตั้งแต่ ปี 2554 เป็นต้นมา เพื่อสะท้อนให้สาธารณชนได้เห็นถึงประเด็นด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ควรตระหนักและร่วมมือกันแก้ไขหรือพัฒนา เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน เช่น เรื่องปัญหาการจัดการขยะ ภัยแล้ง การจัดการน้ำ นวัตกรรมและภาวะโลกร้อน