ฝนเพิ่งหายอย่านอนใจ รัฐเร่งแผนรับแล้งปี 66

ฝนเพิ่งหายอย่านอนใจ  รัฐเร่งแผนรับแล้งปี 66

ผลกระทบจากปัญหา Climate Change ดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้น อย่างช่วงหน้าฝนที่่ผ่านมา เฉพาะชาวกรุงเทพมหานคร ก็เผชิญเหตุการณ์อกสั่น ขวัญหาย จากปัญหาน้ำท่วมมาแทบจะเอาตัวไม่รอด ไม่ต้องพูดถึงในต่างจังหวัดที่จนถึงขณะนี้สถานการณ์ยังไม่เป็นปกติ

ความรุนแรงจากสภาพอากาศมีแต่จะรุนแรงขึ้น ถ้าฝนก็จะหนัก และมากจนไม่เคยพบเคยเห็น และถ้าเป็นแล้งก็ไม่ต่างกัน การวางแผนรับมือล่วงหน้าเป็นทางออกเฉพาะหน้าที่ต้องทำไปก่อน ระหว่างที่รอให้การแก้ปัญหา หรือลดความรุนแรงจากวิกฤติ Climate Change บรรเทาลง 

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติรับทราบ และเห็นชอบมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วง ปี 2566 และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดขึ้น โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 จำนวน 3 ด้าน 10 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท(ภายในเดือนต.ค.- พ.ย. 2565),เร่งเก็บน้ำ/สูบทอยน้ำ 2 ส่วนเกินในช่วงปลายฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง ,บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ/แหล่งน้ำตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำหรือเต็มศักยภาพเก็บกัก

มาตรการที่ 2 เฝ้าระวัง และเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่ เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) มาตรการที่ 3 ปฏิบัติการเติมน้ำ(ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวงรองรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ และปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำ พื้นที่เกษตรและพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศที่เหมาะสมรวมถึงจัดทำแผนปฏิบัติการ และปฏิบัติการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ ที่มีศักยภาพ

ด้านความต้องการใช้น้ำ (Demand) มาตรการที่ 4 กำหนดแผนจัดสรรน้ำ และพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง(ก่อน และตลอดฤดูแล้ง)

กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และแจ้งแผนให้ กระทรวงมหาดไทย(มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

กำหนดแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และขึ้นทะเบียนเกษตรกรโดยระบุพื้นที่คาดการณ์เพาะปลูก และแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจน ,ควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผน สำรวจ ตรวจสอบ คันคลอง เขื่อนป้องกันตลิ่ง ถนนที่เชื่อมต่อกับทางน้ำในพื้นที่ ที่อาจจะเกิดการทรุดตัวเนื่องจากระดับน้ำในทางน้ำที่อาจจะลดต่ำกว่าปกติ

  มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร(ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเพื่อลดการใช้น้ำ และเพิ่มรายได้ในพื้นที่นำร่อง

 

 

   มาตรการที่ 6 เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง(ระหว่างฤดูแล้ง) มาตรการที่ 7เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ(ตลอดฤดูแล้ง)

เฝ้าระวัง ตรวจวัด และควบคุมคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำ สายรอง รวมถึงแหล่งน้ำที่รับน้ำจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชน

   ด้านการบริหารจัดการ (Management)มาตรการที่ 8 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน(ตลอดฤดูแล้ง)

การเตรียมจัดหาน้ำสำรอง และการกักเก็บให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค/หรือการเกษตรตลอดฤดูแล้ง รวมทั้งพัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำชุมชน

    มาตรการที่ 9 สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์(ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)  และมาตรการที่ 10 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน(ตลอด และหลังจากสิ้นสุดฤดูแล้ง)

การเฝ้าระวัง และเตรียมแผนล่วงหน้า ยังไม่ใช่กลไกรับมือกับปัญหา Climate Change  ที่ดีที่สุด ปัญหาClimate Change อาจไม่ใช่เเค่เรื่องธรรมชาติแต่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมจากเหตุผลการแย่งชิงน้ำกันก็เป็นได้ ดังนั้น การตระหนักถึงปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญและร่วมมือร่วมแรงกันแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์